กลศาสตร์ข้อมูลไหล

มนุษย์เราคุ้นเคยกับการใช้ “ของที่ไหลได้” มาสร้างแรงให้เกิดประโยชน์มาช้านานแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการใช้แรงลมทะเลมาช่วยพัดใบเรือเดินทะเล การใช้แรงน้ำในลำธารมาช่วยหมุนระหัดวิดน้ำ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นการใช้แรงของ “ของที่ไหลได้” ในธรรมชาติของมนุษย์ในยุคเกษตรกรรม

พอเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม มนุษย์ก็เริ่มเรียนรู้ที่จะจัดการ “ของที่ไหลได้” เพื่อควบคุมการเกิดแรงให้มีความเสถียรยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการสร้างเขื่อนเพื่อใช้พลังน้ำผลิตกระแสไฟฟ้า การใช้ไอระเหยจากของเหลวเพื่อสร้างกระแสไฟฟ้า การสร้างกังหันลมมารับลมเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า เป็นต้น

ตอนนี้เราก้าวเข้าสู่ยุคคลื่นลูกที่สามแล้ว ยุคซึ่งสิ่งที่เคลื่อนไหวไปทั่วทั้งโลกคือข้อมูลข่าวสาร มันเคลื่อนไหวโหมพัดกระพือรุนแรงอยู่ตลอดเวลา จากซีกโลกหนึ่งไปยังอีกซีกโลกหนึ่ง ด้วยความเร็วเทียบเท่าความเร็วแสง!!!

ข้อมูลอันมากมายมหาศาล ซึ่งวิ่งไปมาอย่างไร้ระเบียบและไม่อยู่ในรูปของสมการเชิงเส้นพวกนี้ ถือได้ว่าเป็น “ของที่ไหลได้” ซึ่งมนุษย์สามารถนำแรงของมันมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้!!!

ในสาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกลนั้น มีวิชากลศาสตร์ของไหล ซึ่งเอาไว้ทำความเข้าใจและใช้ประโยชน์จาก “ของที่ไหลได้” โดยอาศัยสมการทางคณิตศาสตร์มากมายเป็นตัวพิสูจน์ ซึ่งเพราะมันมีตัวแปรเยอะนี่เอง จึงทำให้สาขาดังกล่าวต้องใช้คอมพิวเตอร์มาช่วยงาน ซึ่งเรียกว่า Computational Fluid Dynamics

แต่ในสาขาทางคอมพิวเตอร์ กลับไม่มีการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อทำความเข้าใจและใช้ประโยชน์จาก “แรง” ของ “ข้อมูลที่ไหลไปไหลมา” แต่อย่างใด!!!

เชื่อว่าใครก็ตามที่สามารถคิดค้นวิธีนำ “แรง” ที่ได้จากการไหลของ “ข้อมูลที่ไหลได้” มาใช้ประโยชน์ได้ … ผู้นั้นก็ย่อมจะสามารถสถาปนาตนขึ้นเป็น “ราชันย์แห่งข้อมูลข่าวสาร” ได้อย่างแน่นอน

[tags]กลศาสตร์, ข้อมูลไหล, แรง, ข้อมูล, ไหลไปไหลมา, ความเร็วแสง[/tags]

Related Posts

4 thoughts on “กลศาสตร์ข้อมูลไหล

  1. ผมคิดว่าการคำนวนการไหลของข้อมูลในปัจจุบันนั้นก็ไม่ใช่ว่าไม่เกี่ยวข้องกับการคำนวนทางกลศาสตร์ของไหล (CFD: Computational Fluid Dynamics) เลยนะครับ

    โดยปกติแล้วการคำนวนการไหลของข้อมูลเราจะพิจารณาข้อมูลใดข้อมูลหนึ่งทีละชิ้นไป ซึ่งถ้าเทียบกับ FD (Fluid Dynamics) แล้วคือการนิยามของไหลแบบ Lagrange แต่การพิจารณาของไหลใน FD นั้นเรามักจะพิจารณาตาม Euler โดยยกเรื่อง Control Volume มาพิจารณา เนื่องจากว่าสามารถคำนวนภาพรวมได้สะดวกกว่า (แต่ได้ผลลัพท์เหมือนกัน)

    การนำวิธีเชิงตัวเลข (NM: Numerical methods) มาใช้กับการคำนวนของไหล สาเหตุหนึ่งนั้นก็น่าจะเป็นเพราะฟิสิกส์ของของไหลมีความเป็น Nonlinearity สูง ทำให้การคำนวนเชิงวิเคราะห์ นั้นทำได้ยากหรือทำไม่ได้เลย (เช่น Vortex street)
    ในขณะเดียวกันข้อมูลอินเตอร์เน็ตนั้นมีโมเดลที่แน่นอน เพราะถูกสร้างขึ้นมาโดยมีการออกแบบไว้แล้ว และส่วนใหญ่นั้นมีความสัมพันธ์ที่ไม่ซับซ้อน สามารถแก้บางส่วนได้ด้วยการวิเคราะห์ ส่วนที่ต้องใช้คอมพิวเตอร์คำนวนนั้นก็ไม่ได้ซับซ้อนหรือน่าสนใจขนาดแยกมาเป็นสาขาได้เหมือน CFD ครับ (เพราะไม่รู้จะ compute อะไร? CID – Computational Internet Flow?)

    ไม่รู้จะเข้าประเด็นรึเปล่านะครับ ผิดถูกยังไงโปรดช่วยแก้ไขด้วยครับ

  2. ถ้าเช่นนั้น bittorrent ก็เปรียบดั่ง เครื่องสูบน้ำ…

    …ที่สูบน้ำจากบ้านอื่นเข้าบ้านตัวเอง 😀

  3. ผิดอื้อเลยครับคุณ ABZee ขึ้นแถบสีแดงอื้อเลย T-T

    โอ้ว ใจคอคุณ AMp จะไม่ปล่อยให้คนอื่นมาดูดต่อเลยเหรอเนี่ย T-T

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *