แรงโน้มถ่วงแห่งคลื่นลูกที่สาม

ในทางฟิสิกส์บอกเราเอาไว้ว่า หากสสารมีมวลมาก ๆ แล้วไซร้ มันก็ย่อมจะมีแรงโน้มถ่วงเกิดขึ้น … ไม่มาก ก็น้อย!!!

แรงโน้มถ่วงตรวจจับได้ยาก แต่มีรัศมีทำการที่กว้างไกล ดังนั้น สสารใดที่มีมวลน้อยกว่า ก็ย่อมจะถูกสสารที่มีมวลมากกว่าดึงดูดโน้มถ่วงเอาไว้ … เป็นธรรมดา!

ถ้าเราเปรียบคลื่นทั้งสามลูกที่ ALVIN TOFFLER อธิบายให้เราเข้าใจนั้นเป็นดั่งสสาร มันก็คงจะเป็นสสารที่มีมวลมาก มากจนกระทั่งสามารถเกิดแรงโน้มถ่วงให้มนุษย์ตัวเล็ก ๆ อย่างพวกเรา เกาะเกี่ยวอยู่กับคลื่นเหล่านั้นไว้ไม่หลุดไปได้ง่าย ๆ

และหากเราอยู่ใกล้คลื่นมากกว่าหนึ่งคลื่น ก็เป็นได้ว่าเราจะถูกคลื่นเหล่านั้นแย่งกันดึงดูดโน้มถ่วงเรา ให้เราเป๋ไปทางซ้ายทีขวาทีก็เป็นได้!!

ภาพข้างล่างผมวาดขึ้น เพื่อจะอธิบายภาวะของแรงโน้มถ่วงของคลื่นแต่ล่ะลูก ซึ่งกระทำต่อมนุษย์อย่างพวกเรา …

คลื่นโน้มถ่วงแห่งคลื่นลูกที่สาม
  1. เกษตรกรยังคงทำงานของพวกเขา โดยอาศัยแรงงานที่ตนเองมี บวกกับแรงงานจากสัตว์พาหนะที่พอจะหามาได้
  2. โรงงานยังคงตั้งหน้าตั้งตาผลิตสินค้าออกมาเป็นจำนวนมาก ๆ เพื่อลดต้นทุนในการผลิตของตนเอง
  3. คอมพิวเตอร์และเครือข่ายโทรคมนาคม ได้กลายเป็นเครื่องยนต์หลักในการขับเคลื่อนทุกกิจกรรมทางธุรกิจ โดยเน้นหนักไปที่ภาคการบริการเป็นหลัก
  4. โรงงานเริ่มเห็นว่าน่าจะเป็นการดี หากเอาวิถีแห่งการผลิตจำนวนมาก ๆ มาใช้กับเกษตรกรรม ทำให้มีศัพท์ใหม่สุดเท่ห์ที่เรียกว่า “อุตสาหกรรมเกษตร” เกิดขึ้น
  5. การผลิตแบบเฉพาะเจาะจงเริ่มได้รับความนิยมมากขึ้น คอมพิวเตอร์และเครือข่ายโทรคมนาคมจึงต้องถูกประยุกต์ใช้ในโรงงาน เพื่อทำให้มีอุตสาหกรรมเจ๋ง ๆ ไม่ว่าจะเป็น “อุตสาหกรรมสิ่งทอนาโน”, “อุตสาหกรรมอากาศยานไร้คนขับ” หรือ “อุตสาหกรรมหุ่นยนต์”
  6. เกษตรกรไม่ปลูกพืชบนดิน แต่หันไปปลูกพืชลอยฟ้าแทน อีกทั้งยังใช้คอมพิวเตอร์ ช่วยควบคุมการฉีดหมอก, รดน้ำ, ให้ปุ๋ย, ปรับความชื้น และปรับแสงแดด … ที่สำคัญ … ความรู้เหล่านี้ล้วนค้นหาได้จากอินเทอร์เน็ตซะด้วยสิ!!!

ทุกวันนี้ผมยังถูกเหนี่ยวนำโดยเส้นแรงเบอร์ (3) อยู่ ในขณะที่เพื่อนของผมบางคนถูกเหนี่ยวนำโดยเส้นแรงเบอร์ (2) และมีเพื่อนบางคนที่ก้าวหน้ากว่าใคร ๆ เพราะถูกเหนี่ยวนำโดยเส้นแรงเบอร์ (6)

แต่สูงสุด ฤ จะคืนสู่สามัญ ไม่ว่าจะเส้นแรงเบอร์ไหน หรือแรงโน้มถ่วงของคลื่นลูกใด ก็ย่อมมีการรุ่งเรืองหรือเสื่อมถอยอยู่ดี ดังนั้น ผมจึงหวังว่าถ้าเส้นแรงเบอร์ (6) เป็นเส้นแรงของอนาคต ก็น่าสนใจเหมือนกันที่เราจะใช้แรงโน้มถ่วงของเส้นแรงเบอร์ (3) เป็นตัวเหวี่ยงให้เราเข้าสู่วงโคจรของเส้นแรงเบอร์ (6) ได้อย่างไม่ยากเย็นนัก (หากเทียบกับการเหวี่ยงโดยใช้เส้นแรงเบอร์อื่น ๆ ซึ่งไม่สามารถส่งแรงให้เราถึงจุดหมายได้โดยง่ายดายนัก)

โดยสรุปแล้ว เมื่อคลื่นใดมีแรงโน้มถ่วงน้อยลง ก็ไม่ใช่เรื่องแปลก หากคลื่นอื่น ๆ จะมีแรงโน้มถ่วงกล้าแข็งขึ้น จนทำให้สนามแรงโน้มถ่วงเกิดการเปลี่ยนแปลง และนำมาซึ่งเส้นแรงโน้มถ่วงที่เปลี่ยนไปนั่นเอง

[tags]แรงโน้มถ่วง, เส้นแรง, คลื่นลูกที่หนึ่ง, คลื่นลูกที่สอง, คลื่นลูกที่สาม[/tags]

Related Posts

7 thoughts on “แรงโน้มถ่วงแห่งคลื่นลูกที่สาม

  1. ของผมโดนเบอร์ (3) แฮะ

    แล้วภาคบันเทิงหรือท่องเที่ยวนี่เขานับเป็นเส้น 2 ด้วยรึป่าวคับ

  2. ผมกำลังจะไปสู่ แรงโน้มถ่วง (6)

    บางตอนของ The Third Wave พูดว่า
    คลื่นลูกที่ 1 สามารถ กระโดดไปสู่ คลื่นลูกที่ 3 ได้โดยตรง

    อ่านตอนนั้น ยังไม่เชื่อ เพราะคิดจาก เกษตรกรรม -> Info
    แต่ตอนนี้ คิดจาก Info -> เกษตรกรรม

    ประกอบกับ แนวโน้ม ที่ว่า
    ต้นทุนทาง IT ต่ำลงเรื่อยๆ แต่ ราคาอาหาร กับสูงขึ้นเรื่อยๆ

    ALVIN TOFFLER นี่ อัฉริยะจริงๆ มองข้าม shot ไป 30-40 ปี

  3. อ๋า ผมลืมอธิบายเรื่องเส้นแรงเบอร์ 5 เลยคุณ tomatong

    T-T ไม่รู้ดิคุณ figaro แต่อาจจะใช่ก็ได้นะ

    โอ้ว ทันสมัยเดิ้นมาก ๆ เลยครับคุณ icy7 เหมือนเพื่อนผมคนนึงเด๊ะเลย 😛

  4. ชอบบล็อคคุณจัง เอาเป็นว่าชอบอะไรคล้ายๆกัน จบมาก็แนวเดียวกัน อิอิ
    เดี๋ยวว่างๆจะมาโม้ฟิสิกส์ จากสมติฐานของผมให้ฟัง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *