เมื่อวานมีผู้สาวชวนให้ผมเล่นเกม ๆ นึงใน Facebook เป็นเกมวัดไอคิว โดยการจับเวลาแล้วให้เราตอบคำถามต่าง ๆ ผมลองเล่นแล้วได้คะแนนไม่สูงมากนัก เห็นมันบอกว่าสมองของผมมีปริมาตรเท่ากับ “มนุษย์นีแอนเดอร์ทัล”
อือม สงสัยผมจะโง่จริง ๆ T-T
แต่ไม่เป็นไร ความโง่ไม่เคยปราณีใครอยู่แล้ว ดังนั้นผมจึงเปลี่ยนวิกฤติเป็นโอกาส โดยการหยิบยกเอาโจทย์ในเกมนั้นมาโม้ให้พวกเราอ่านกัน
ภาพข้างบนคือนิพจน์ทางคณิตศาสตร์ ซึ่งแทนที่มันจะถามเราว่าคำนวณออกมาแล้วควรเป็นค่าอะไร มันกลับถามเราว่าสมการนี้ใช้นิพจน์อะไรเป็นตัวกระทำ?
ถ้าเราให้คอมพิวเตอร์ช่วยค้นหาคำตอบให้ ผมว่าวิธีการที่ง่ายที่สุดก็คือให้มันวนรอบซักสี่รอบ เพื่อเอานิพจน์แต่ล่ะตัว (บวก, ลบ, คูณ และ หาร) ไปแทนค่าในสมการ ซึ่งเป็นงานหมู ๆ ของคอมพิวเตอร์!!!
แต่ผมว่าวิธีนี้มันไม่ค่อยจะถูกแฮะ (หมายถึงวิธีที่จะให้คอมพิวเตอร์วน ๆ ทื่อ ๆ เพื่อหาคำตอบ) เพราะผมจำได้ว่าตอนที่ผมหาคำตอบ ผมรู้สึกว่าผมไม่ได้คิดแบบวน ๆ เพื่อจะเอานิพจน์เข้าไปแทนที่ในสมการเพื่อให้ได้คำตอบเลยนะ อือม ยังไงดีล่ะ คือ ผมรู้สึกว่าผม … นึกรู้ ฉับพลัน ทันที … ขึ้นมาซะอย่างนั้นเองอ่ะ ว่านิพจน์ที่เหมาะสมนั้นควรจะเป็นอะไร???
ก็เลยคิดว่าถ้าเราทำให้คอมพิวเตอร์ ค้นหาคำตอบด้วยรูปแบบที่สมองมนุษย์ทำได้ มันน่าจะทำงานได้รวดเร็วมากกว่านี้อีก!!!
นอกจากเรื่องของรูปแบบความคิด อีกสิ่งหนึ่งที่น่าสนใจก็คือความแปรผกผันระหว่างความซับซ้อนของโจทย์ กับประสิทธิภาพของสมองเรา เพราะยิ่งโจทย์ยากขึ้นเท่าไหร่ ความสามารถในการ … นึกรู้ ฉับพลัน ทันที … ของเรา มันก็ลดลงไปเท่านั้น
ในขณะที่วิธีวน ๆ ทื่อ ๆ ของคอมพิวเตอร์ ก็ยังคงเสมอต้นเสมอปลาย ทำงานได้ด้วยประสิทธิภาพที่เท่าเดิม ไม่ว่าโจทย์มันจะยากหินขึ้นยังไงก็ตาม!!!
แต่ถ้าเมื่อใดก็ตาม โจทย์มันออกมาแบบสมการข้างล่างแล้วล่ะก็ ต่อให้เป็นมนุษย์หรือว่าคอมพิวเตอร์ ก็คงไม่รู้จะหาคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียวได้ยังไงเหมือนกัน
โดยสรุปแล้ว ผมกำลังค้นหาอยู่ว่า ศาสตร์ในการทำให้คอมพิวเตอร์สามารถ … นึกรู้ ฉับพลัน ทันที … ได้นั้น มันมีชื่อว่าอะไรหว่า? … อือม จะเรียกว่า Brute Force ก็ไม่น่าจะใช่ อือม ๆ
[tags]นึกรู้, ฉับพลัน, ทันที[/tags]
เรียกว่า memoization มั้งครับ การคำนวณง่ายๆ ที่เราทำกันมาตั้งแต่อนุบาล เมื่อเห็นอีกครั้ง เราก็ตอบได้โดยไม่ต้องคิด เพราะเราจำได้
“นึกรู้ ฉับพลัน ทันที” น่าจะเหมือน memoization คือเราจำผลการคำนวณครั้งก่อนได้ และตอบโจทย์เดียวกันนั้นที่เราเจออีกครั้งด้วยความจำ ไม่ใช่การคำนวณ
ปล. ผมมั่ว 😛
นึกรู้ฉับพลัน ก็ต้องมาจากประสบการณ์อยู่ดีนี่ครับ
ผมเลยคิดว่า มันคงไม่ต่างอะไรกับ cache ความเร็วสูง (อาจจะมี index ช่วย เช่น อะไรคูณสองได้สิบ)
ป.ล. หายหัวไปเลยผม งานเข้า = =’
hueristic
อยู่ที่ประสบการณ์ของแต่ละบุคคลละครับ เพราะถ้ามาทำครั้งแรกยังไงก็ใช้เวลาอยู่สักพักเพื่อคิด
รู้สึกว่าที่คุณ house บอกมา จะใช่ที่สุดเลยแฮะ
Heuristics