ตีความฐานข้อมูลแบบย้อนกลับ

ปรกติแล้วถ้าเราต้องออกแบบฐานข้อมูล เราก็จะมีโจทย์เป็นฉาก ๆ ที่ต้องเอามาคิด จากนั้นก็ร่างความคิดออกมาเป็นความสัมพันธ์ของตาราง ตามหลักการของ Database Normalization (อันแสนจะเข้าใจยาก)

ทีนี้ถ้าเปลี่ยนใหม่ล่ะ เปลี่ยนเป็นว่าความสัมพันธ์ของตารางถูกวาดออกมาแล้ว แล้วเราต้องมาอธิบายความสัมพันธ์ดังกล่าวให้อยู่ในรูปของการพรรณนาแทน แบบนี้จะทำไงดี … งั้น มาลองดูกันดีกว่า

โจทย์ – จงอธิบายภาพความสัมพันธ์ของตารางในภาพข้างล่างพอสังเขป

Marry
กดเพื่อดูภาพขยาย

ตอบ

  1. พลเมืองทุกคนต้องจดทะเบียนสมรส จึงถือว่าการสมรสเกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์
  2. ไม่มีการจำกัดเพศในการสมรส ซึ่งแปลว่าเพศเดียวกันจะสมรสกันเองก็ได้
  3. ไม่มีการจำกัดว่าการสมรสจะต้องเกิดจากบุคคลสองคน อาจจะเกิดจากบุคคลเดียว หรือสามบุคคลขึ้นไปก็ได้
  4. บุตรธิดาที่เกิดจากการสมรสซึ่งจดทะเบียนฯ ถึงจะมีสิทธิ์ได้รับสูติบัตร
  5. พลเมืองสามารถสมรสซ้อนได้ และสามารถจดทะเบียนสมรสเกินกว่าหนึ่งครั้งได้
  6. วันที่ในการสมรส ไม่จำเป็นต้องเป็นวันที่ ๆ จดทะเบียนสมรส
  7. เพศอาจมีเพียงเพศเดียว หรือมีได้มากกว่าสองเพศขึ้นไป
  8. ฯลฯ

อือม ถ้าแต่ล่ะคนที่ได้โจทย์ไป ตอบไม่เหมือนกันเลย แล้วแบบนี้จะถือว่าใครถูกล่ะเนี่ย? T-T

[tags]ฐานข้อมูล, ย้อนกลับ[/tags]

Related Posts

7 thoughts on “ตีความฐานข้อมูลแบบย้อนกลับ

  1. พี่ไท้หาเครื่องมือจาก entry ที่แล้ว เพื่อเอามาเขียน entry นี้โดยเฉพาะเลยหรือเปล่าเนี่ย 😀

  2. สงสารเด็กที่เกิดมาแล้วพ่อแม่ไม่ได้สมรสกันจริงๆ ไม่มีสูติบัตร
    ยุคนี้เยอะด้วย ไม่ทราบว่า รัฐมนตรีไท้ ไม่มีนโยบายแก้ไขเรื่องนี้หรอครับ

  3. เห็นด้วยครับพี่ไท้ ตีความได้หลากหลายจริงๆ
    แต่นี่ก็เป็นข้อดีนะครับ หลากหลายสุดๆ

  4. เปล่าอ่ะคุณ crucifier พอดีเห็นว่าเครื่องมือมันแสดงภาพสวยดี ก็เลยเอามาประยุกต์ใช้กับหัวข้อนี้อ่ะจ้า

    ง่ะ ผมเป็นเพียงสามัญชนเท่านั้นครับคุณ bin ส่วนไม่ได้สมรสกันมันเป็นเรื่องของชะตาลิขิตง่ะ

    น่าจะเป็นเช่นนั้นอ่ะคุณเน็ต

    โอ้ว คิดไปได้นะคุณ 7 (แต่จริง ๆ ผมคิดเรื่อง … หมู่มากกว่า อิ อิ :-P)

    มองได้ทะลุจริง ๆ คุณ IRONKONG ซึ่งนั่นคือจุดบอดของภาพนี้เลยแหล่ะ

  5. งั้นเพิ่มในส่วนของตาราง”สมรส”ดีมั้ยพี่ ให้มีการบอกสถานะการสมรส
    แล้วส่วน “พลเมืองสามารถสมรสซ้อนได้ และสามารถจดทะเบียนสมรสเกินกว่าหนึ่งครั้งได้” นี่ก็แจ้งไปว่า ขณะนี้ทะเบียนสมรสของ “นาย A กับ นาง B(ที่เราไม่รู้ว่าจริงๆแล้ว นาง B เป็นหญิงหรือชาย) นาย A ได้ยอบรับว่าตนเป็นแม่” เผื่อในกรณีทะเบียนสมรสอีกใบเขาอยากรับบทเป็นพ่อบ้าง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *