จากสถิติอาชญากรรมของภาครัฐ ซึ่งเปิดเผยเมื่อปลายปีที่ผ่านมาระบุว่า ในปี พ.ศ. 2552 ที่ผ่านมา ภาครัฐตก Service Level Agreement ในคดีโจรกรรมรถยนต์มากที่สุด รองลงมาก็เป็นคดีโจรกรรมรถจักรยานยนต์!!!
มันคงมีเหตุผลมากมายที่จะอ้างขึ้นมา ว่าทำไมภาครัฐจึงมีประสิทธิภาพในการจัดการคดีในย่อหน้าบนได้น้อยนัก ดังนั้นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับประชาชน ก็คือการปกป้องรถยนต์ของตัวเองด้วยตัวของตัวเอง!
ปัจจุบันโลกได้แหย่ขาเข้ามาสู่ยุคสารสนเทศก้าวหนึ่งแล้ว ทำให้เราพบว่าประชาชนเริ่มสรรหาวิธีปกป้องรถยนต์ของตนเองได้ล้ำยุคมากขึ้น จากเดิมที่เคยใช้เครื่องกลในการล็อคคันเร่ง, ล็อคเบรก, ล็อคพวงมาลัย และ ล็อคเกียร์ ก็เปลี่ยนมาเป็นติดตั้งเครื่องอิเล็กทรอนิกส์อย่างระบบ GPS และระบบ LBS แทน
ระบบป้องกันและติดตามด้วย GPS และ LBS นี่มันก็ดีนะ เพราะเราสามารถค้นหาพิกัดของรถยนต์, สามารถสั่งดับเครื่องยนต์ระยะไกล, ดักฟังการสนทนาระยะไกล, แจ้งเตือนเมื่อรถยนต์ออกจากพิกัดที่กำหนด และ อื่น ๆ อีกมากมายได้!!!
แต่โดยส่วนตัวแล้วผมถือว่า เครื่องมือยังเป็นเรื่องรอง หากเทียบกับกระบวนการจัดการที่ควรเป็นเรื่องหลักมากกว่า!!!
มันจะดีกว่ามั้ย ถ้าหากรถเราเกิดถูกโจรกรรมขึ้นมาจริง ๆ แล้วเราโทรศัพท์เพียงแค่กริ๊งเดียว จากนั้นจะมีทีมไปติดตามรถยนต์แทนเรา, ติดต่อเจ้าหน้าที่รัฐแทนเรา, ติดต่อประกันภัยแทนเรา, จัดสรรสินน้ำใจเพื่อจ่ายเจ้าหน้าที่รัฐแทนเรา (ซึ่งสำคัญมาก), ติดต่อ จ.ส. 100 / ร่วมด้วยช่วยกันแทนเรา … และอื่น ๆ อีกมากมาย???
เมื่อตั้งปุจฉาในย่อหน้าข้างบนขึ้นมาแล้ว เราก็ต้องมาคิดหาวิสัชณากัน โดยจะต้องวิเคราะห์ออกเป็นสองส่วนใหญ่ ๆ คือ ส่วนทางเทคนิค และ ส่วนทางธุรกิจ
ส่วนทางเทคนิค
- ลูกค้าจะต้องติดตั้งระบบ GPS หรือ LBS และยินยอมให้ตัวแทนเข้าถึงได้ เมื่อมีการร้องขอให้ติดตาม
- ตัวแทนจะต้องมีระบบ Call Center ที่เข้มแข็ง พรั่งพร้อมไปด้วยบุคลากรและซอฟต์แวร์ที่ทรงประสิทธิภาพ ซึ่งสามารถเชื่อมโยงระบบ Call Center กับระบบติดตามรถยนต์ของลูกค้าเข้าไว้ด้วยกัน
- ลูกค้าจะสามารถตรวจสอบสถานะล่าสุดของการติดตามได้ ผ่าน Website หรือ Web Service ที่ตัวแทนจัดเตรียมไว้ให้
- ตัวแทนจะสามารถเข้าถึงระบบ GPS หรือ LBS ของลูกค้าได้แบบ Passive เพียงอย่างเดียว ในขณะที่ลูกค้าสามารถเข้าถึงระบบ GPS หรือ LBS ของตนได้ทั้งแบบ Active และ Passive
ส่วนทางธุรกิจ
- ตัวแทนควรเก็บค่าบริการจากลูกค้าในแบบเหมาจ่ายรายเดือน หรืออาจจะทำเป็นแบบโปรโมชัน โดยเป็นการผสมผสานระบบคิดเบี้ยประกันภัยและระบบค่าโทรศัพท์มือถือเข้าไว้ด้วยกัน
- บริษัทที่ควรจะลงมาเล่นในธุรกิจนี้ ควรเป็นบริษัทประกันภัย หรือ บริษัทบริการสัญญาณโทรศัพท์มือถือ หรือเป็นการร่วมทุนของบริษัททั้งสองแบบเข้าไว้ด้วยกัน
- การเก็บค่าบริการ ควรมีการคิดภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย เพื่อให้ภาครัฐสนับสนุนธุรกิจในรูปแบบนี้ (เพราะรัฐได้ตังค์ด้วย)
- ตัวแทนควรให้ลูกค้าจ่ายค่าบริการโดยสะดวก อาจจะผ่านระบบ Counter Service, ตัดผ่านบัตรเครดิต, โอนผ่านบัญชีเงินฝากธนาคาร หรือ ใช้สแตมป์เงินสแตมป์ทองของ Seven Eleven เพื่อจ่ายเป็นค่าบริการ!!
- ตัวแทนต้องเสริมบริการในเรื่องคดีความ โดยให้ถือว่าการโจรกรรมรถยนต์ของลูกค้า เปรียบเสมือนกับการโจรกรรมทรัพย์สินของบริษัท ดังนั้น ตัวแทนจะเป็นโจทก์ร่วมในการฟ้องร้องผู้กระทำความผิดแทนลูกค้า เพื่อให้การดำเนินคดีหนักแน่นไม่เลื่อนลอย และเป็นการป้องปรามไม่ให้ลูกค้าถูกผูกใจเจ็บโดยคนร้าย และถูกย้อนกลับมาแก้แค้นในภายหลัง
จะเห็นว่า เมื่อเราวิสัชณาด้วยประเด็นทางเทคนิคและประเด็นทางธุรกิจเรียบร้อยแล้ว เราก็จะพบว่า พระเอกของธุรกิจนี้คือระบบซอฟต์แวร์และระบบอิเล็กทรอนิกส์นั่นเอง!!!
แต่ถ้าทั้งยังหวาดกลัวว่า เทคโนโลยีและกระบวนการจัดการยังไม่มากพอ งั้นก็ขอแนะนำให้แขวน “หลวงพ่อรอด” เอาไว้ที่หน้ารถยนต์ครับ 😛 ก่อนออกจากรถก็สวดนะโมสามจบทุกครั้ง พร้อมกับภาวนาให้รถอย่าหายเลย สาธุ เพี้ยงงงงง ^-^
[tags]ธุรกิจ, ติดตาม, รถยนต์, โจรกรรม, ครบวงจร, GPS, LBS[/tags]
เอาโฮโลแกรม สร้างผี 3d ขึ้นมานั่งในรถ
ได้ผลชะงัดนัก โดยเฉพาะเวลาจอดในที่เปลี่ยว 55555+
ใช้ระบบขนส่งมวลชล
ประหยัดพลังงาน ช่วยชาติ ลดปัญหารถติด
รถไม่หาย สบายใจครับ
T-T คิดได้ไงเนี่ยคุณ AMp
ผมเองก็รอรถไฟฟ้าขยายไปทั่วทุกมุมเมืองเหมือนกันแหล่ะคุณ IRONKONG แบบว่าไม่อยากมีรถส่วนตัวเลยจริงจริ๊ง พับผ่าดิ
ผมก็อยากให้รถไฟฟ้ามีทั่วเมือง โดยเฉพาะวิภาวดีรังสิต
“ลูกค้าสามารถเข้าถึงระบบ GPS หรือ LBS ของตนได้ทั้งแบบ Active และ Passive ”
แล้วภรรยาของลูกค้าล่ะ จะให้เข้าถึงระบบหรือห้ามเข้าถึงระบบ จึงจะดี
เรื่องผัวเมียเป็นเรื่องละเอียดอ่อนครับคุณ MN ตอบไม่ได้อ่ะเรื่องนี้ T-T สองคนต้องไปนอนคุยกันเอง
ได้ความรู้เยอะมากเลยครับ