ตอนนี้โลกเรากำลังค่อย ๆ เปลี่ยนไปตามคำทำนายของนักอนาคตศาสตร์ครับ ผมเองเคยได้มีโอกาสอ่านหนังสือชื่อ The Future of Money ในนั้นอธิบายเรื่องการจ้างงานเอาไว้ด้วย มีความตอนนึงบอกว่า ต่อไปองค์กรจะลดขนาดลง เพราะทุกองค์กรต้องการลดต้นทุน อีกทั้งต้องการให้ผลผลิตหรือการบริการมีคุณภาพสูง จึงมีความจำเป็นต้องจ้างบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญในการผลิตหรือการบริการนั้น ๆ มาทำงานให้ แทนที่จะสร้างคนในองค์กรเพื่อมาจัดการเรื่องดังกล่าวแทน
กลุ่มคนหรือบริษัทที่มาทำงานให้เราตรงนี้ มักถูกเรียกขานด้วยชื่อเรียกมากมาย แต่ชื่อที่นิยมเรียกกันก็คือ “consult” โดยรากศัพท์แล้ว consult หมายถึงผู้เชี่ยวชาญ แต่สำหรับผมแล้ว consult คงหมายถึง ผู้รู้, ผู้ตื่น, ผู้เบิกบาน 🙂 ผมมักพูดงี้เสมอกับเหล่าบรรดา consult ซึ่งทำให้พวกเขาปัดกันพัลวน แล้วก็ตอบกลับผมมาว่า “คุณไท้ ผมไม่ใช่พระพุทธเจ้านะ ถึงจะเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานน่ะ” 🙂 ก็ผมชอบเรียกงี้อ่ะ เท่ห์จะตายไป ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
เราพักเรื่องการคุยเล่นกับ consult เอาไว้ก่อน แล้วแวะกลับมาให้ความสนใจกับเรื่องอื่นก่อนดีกว่า 🙂
ปรกติแล้ว ไม่ว่าจะเป็นองค์กร IT ไหน ๆ ในโลกนี้ก็ต้องประกอบด้วยสิ่งหลัก ๆ คือ ทุน, technology และแรงงาน ไอ้เจ้าทุนกับ technology จัดการง่ายครับ แต่แรงงานจัดการยากอ่ะ ดังนั้นเขาก็เลยมีการจัดการอะไรหลาย ๆ อย่างเพื่อปกครองแรงงานก็คือบุคลากรในองค์กรนั่นแหล่ะ ซึ่งวิธีที่เป็นที่นิยมก็คือการจัดสายการบังคับบัญชา และการจัดผังองค์กร
จากภาพการจัดองค์กรข้างบน เราจะเห็นว่าไม่ว่าองค์กร IT ที่ไหนก็จัดแบบนี้ เรียบง่ายดีเน้อะ
ระดับบริหาร ก็ตั้งหน้าตั้งตากำหนดนโยบาย, หาเงินเข้าองค์กร, จัดสรรเงินที่ได้มาเป็นงบประมาณ หรือพูดง่าย ๆ ก็คือผู้บริหารจะยุ่งอยู่กับเงินและนโยบายที่ทำให้ได้เงินหรือเสียเงิน
ระดับจัดการ ก็ยุ่งอยู่กับคน งานหลักของระดับจัดการก็คอยสั่งคนโน้นคนนี้ให้ทำโน่นทำนี่ เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายที่ทำให้ได้เงินหรือเสียเงิน ซึ่งกำหนดมาโดยระดับบริหาร
ระดับปฏิบัติการ วัน ๆ ก็หัวหมุนอยู่กับงาน งาน งาน และงาน ซึ่งมอบหมายมาโดยระดับจัดการที่คอยเอาแต่สั่งโน่นสั่งนี่ ให้ทำโน่นทำนี่ แล้วก็ทำออกมาแล้วไม่รู้ว่าทำให้ได้เงินหรือเสียเงิน รู้แต่ว่าทำออกมาดี ก็เท่านั้น
อันนี้เรียกว่าต่างกรรมต่างวาระครับ หมวกของใครก็เล่นไปตามบทของตัวเอง ผมใส่หมวกหลายใบแล้วครับ เลยรู้ว่าคนแต่ล่ะระดับเค้าคิด เค้ามีกรรมอะไร
ทีนี้จะเห็นว่าถ้างานมันไม่มาก งานมันเป็นงานที่ไม่ต้องการความเชี่ยวชาญ และงานมันไม่ต้องการให้ผลลัพท์ออกมาด้วยความรวดเร็วและดีเลิศ เราก็คงไม่ต้องคิดถึง consult จริงแมะ? แต่บางทีมันไม่ใช่งั้นอ่ะดิ บางทีเราก็อยากให้มันออกมาดี และที่สำคัญคนในองค์กรเรา ดันทำไม่ได้ด้วยน่ะสิ ทีนี้ก็คงต้องมี consult เพื่อมาช่วยชี้แนะให้คนในองค์กรเรา ทำให้ได้อ่ะ
จะเห็นว่าเมื่อองค์กรของเรามีการจัดจ้าง consult เข้ามาเป็นที่ปรึกษา คอยชี้แนะแนวทางการทำงานให้เป็นมาตรฐานแล้ว คนระดับบริหารก็จะได้นวัตกรรมใหม่ ๆ ในเรื่องเงิน และงบประมาณ ในขณะที่คนระดับจัดการ ก็จะได้วิธีการใหม่ ๆ ในการจัดการกับคนในบังคับบัญชาของตน เป็นการจ่ายเพื่อซื้อความรู้จาก consult ต่อไปตั้งแต่ระดับบริหารไปจนถึงระดับปฏิบัติการ ก็จะได้ทำอะไร ๆ ให้มันเป็นมาตรฐาน, เป็นสากล และสร้างผลผลิตและการบริการที่ดี ๆ ขึ้นไป
โดยลักษณะของการจัดจ้าง consult ตามผังองค์กรข้างบน เป็นความคิดแนวอนุรักษ์นิยมครับ โดยความคิดนี้องค์กรจะพยายามสร้างสรรค์คนในองค์กรและระบบขององค์กรให้มีความก้าวหน้ายิ่ง ๆ ขึ้นไป เป็นแนวที่ให้ความสำคัญกับการเติบโตของคนในองค์กรเป็นหลัก ซึ่งผมว่าดีนะ เพราะเห็นบริษัทใหญ่ ๆ โต ๆ ในระดับประเทศเขาก็คิดเขาก็ทำกันแบบนี้
แต่เรื่องจริงมันเป็นงี้ป่าวอ่ะ???? เปล่า …. เพราะอะไร เพราะตอนนี้มันเป็นเสรีนิยมใหม่ อะไร ๆ มันก็ต้องแข่งขัน ดังนั้นบางครั้งระดับบริหาร ก็ไม่สนใจการสร้างหรือส่งเสริมคนในองค์กร ให้มีมาตรฐานยิ่ง ๆ ขึ้นไปหรอก เขาเลือกที่จะจ้าง consult เพื่อมาทำงานให้ได้ผลผลิตและการบริการที่ต้องการมากกว่า ซึ่งเป็นศัพท์เฉพาะที่เรียกว่า “outsourcing”
จริง ๆ แล้วแบบนี้มันก็ดีอ่ะครับ จ้างบริษัทที่เค้าเก่งเรื่องนี้มาทำไปเลยหมดเรื่องหมดราว เช่น เราไม่รู้ระบบ Enterprise Resource Planning ก็จ้างเขามาทำให้ หรือเราอยากได้ software ที่เป็นชุดใหญ่ ๆ แต่คนของเราทำได้แต่ software ที่เป็นชิ้น ๆ เราก็จ้าง consult มารับไปเลย เป็นต้น
ในช่วงที่บริษัทเหล่านั้นรับ outsource ไป เขาก็มีระบบการจัดการงานและคนของเขาเอง เราก็ไม่ต้องไปยุ่งเกี่ยว เพียงแต่ถ้าเกิดอะไรขึ้น เขารับเต็ม ๆ แล้วพอเขาทำทุกอย่างเสร็จแล้ว เขาก็ส่งมอบมาให้คนของเราดำเนินการต่อไป ซึ่งถ้าต่อสัญญาไปเรื่อย ๆ คนของเราก็ไม่ต้องทำงานดังกล่าว แล้วเราก็จะได้นำคนของเราไปทำอย่างอื่นที่มันถึก ๆ เป็นงาน routine อันแสนน่าเบื่อแทน (เอ ดีไหมหว่าแบบนี้)
จริง ๆ แล้วไม่ว่าจะเป็นรูปแบบจ้าง consult มาให้คำปรึกษา หรือจ้าง consult มารับงาน outsource ของเราไป ผมก็เจอมาแล้วทั้งนั้น รู้ว่า consult เหล่านี้ต้องการอะไร มีจุดอ่อน จุดแข็งยังไง คุยด้วยได้ ไม่มีปัญหา
แต่บางครั้งก็ไม่เป็นแบบนั้นเสมอไปครับ อย่างองค์กรที่ผมทำงานอยู่อ่ะนะ งานมันเยอะมาก แล้วก็ต้องการแต่ผลผลิตและบริการที่ดีเลิศทั้งนั้น ลำพังคน IT ในองค์กรมันทำไม่ไหว ทีนี้ระดับบริหารก็ออกแนวอนุรักษ์นิยมปนกับเสรีนิยมใหม่ คือก็อยากให้งานมันออกมาผลลัพท์ดี แถมอยากจะให้คนในองค์กรได้พัฒนาตัวเองไปด้วย เอ้อ เขาก็เลยออกแบบองค์กรให้เป็นแบบนี้ครับ
ผมล่ะเอ๋อไปเลยกับการจัดองค์กรแบบนี้ เพราะต้องนำคนของระดับปฏิบัติการไปขึ้นกับระดับจัดการของ consult แค่ขึ้นตรงเฉย ๆ ไม่พอนะ แบบว่าต้องเป็นเสมือนหนึ่งระดับปฏิบัติการของบริษัท consult ด้วย จะขาด, ลา, มา, สาย ต้องแจ้งกับบริษัท consult ด้วย, ได้รับ bonus หรือ intensive จากบริษัท consult ด้วย และสุดท้าย consult จะเป็นผู้ประเมินผลการทำงานแล้วส่งคืนให้กับองค์กรต้นสังกัด เพื่อเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่งต่อไป
แต่ consult ไม่จ่ายเงินเดือนครับ, ไม่กำหนด career path, ไม่ promote ครับ ทุกอย่างยังอยู่ในอำนาจขององค์กรเดิมอยู่
คนในทีมผมสองคนถูกดึงตัวเข้าไปแปะไว้ในระดับปฏิบัติการของการจัดองค์กรแบบนี้ครับ หงุดหงิดมาก เพราะทาง consult บอกว่าเมื่อส่งตัวมาให้แล้ว(ใครอยากส่งให้ไม่ทราบ ถ้านายไม่สั่งมา ไม่ให้หรอก) งานเดิมก็ต้องค่อย ๆ ทยอยปล่อยออกจากตัวไป ส่วนงานใหม่ทาง consult จะเป็นคนมอบหมายเอง แล้วผมจะทำไงเนี่ย ผมชอบใช้คนเก่ง ๆ นะ เอาคนเก่งของผมไป ผมก็ต้องหาใหม่อ่ะดิ บ่น ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ
คิดว่าต่อไป ถ้าผ่านไปซักครึ่งปีแล้วมันออกมาดี ได้ผลลัพท์ดี ต่อไปเขาก็ต้องคิดจะทำองค์กรแบบข้างล่างนี้แน่ ๆ เลย
เฮ้อ ถึงตอนนั้นก็คงค่อยว่ากันแล้วกัน เพราะผมคงจะกินข้าวไปอีกหลายกระสอบเลยล่ะ 😛
[tags]การจัดองค์กร, consult, outsource, คน IT[/tags]
ได้ความรู้อย่างมากครับ, diagrams ก็สวยดูแล้วเข้าใจง่ายดี
การเป็น consultant นั้น (ผมว่าไม่ใช่เรื่องง่าย) ต้องเป็นผู้ที่ความรู้และประสบการณ์(เน้นมาก) และทักษะการสื่อสาร(รวมถึงการต่อรองทางธุรกิจไปด้วย)
ผมเคยไปปรึกษาเรื่องเรียน กับ Thai education agency รายหนึ่ง ผมบอกกับทาง consultant ผู้นั้นว่า ต้องการศึกษาต่อ และบอกเค้าไปว่า background ในชีวิตผม มีแต่ IT แต่ก็สนใจเรื่องธุรกิจ(วิชา MBA ยากจิงๆ 🙁 )
เค้าแนะนำว่าให้ไปเรียน printing ไปดูไหม…. เพราะว่า bah bah bah ….
(consultant ท่านนี้จบ B.Sc Logistics)
จากนั้น ไปอีกทีหนึ่ง แต่เป็น Chinese agency เค้าแนะนำให้เรียน IT ไม่ก็ IS จะได้ต่อยอดความรู้ไปอีกขั้น (consultant ท่านนี้จบ M.Comm)
คุณคิดว่าผมจะเชื่อใครครับ? 🙂 (แน่นอนต้องเชื่อตัวเองอยู่แล้ว ฮ่าๆ)
เพิ่มเติมนิดหน่อยครับ consult [V] = ปรึกษา, ทำงานให้คำปรึกษา, ขอคำปรึกษา (http://dict.longdo.com/?search=consult)
consultant [N] = ผู้ให้คำปรึกษา, ดังนั้นใน diagrams ผมจึงคิดว่า น่าจะใช้คำว่า consultant(s) มากกว่านะ 🙂
????????? ????????????????????????????????????????????????????? ?????????????????????????????????????????????????????????????? ???????????????????????????????????????????????? consult ????????????????????? ??????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????? ??? ????????????????????? ??????????????????????????????????????????????????????????? ?????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????? :’-( ????????????????????????????????????????????????? ????????????????????????????????????
ไม่เป็นไรหรอกครับผมเองก็เคยเป็น Consult มาก่อนครับสิ่งที่หลายคนบอกว่ายากเราทำให้ง่ายได้ แต่สิ่งที่เราคิดว่ายากหาคนที่ทำให้ง่ายไม่ได้ คุณเชื่อผมเถอะเหนื่อยสุดยอดครับ คนเรามีผิดมีถูกตลอดเวลาครับไม่มีอะไรถูกทั้งหมด และ ผิดทั้งหมดครับ 🙂
ก็ consult คือผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานไง คุณสิทธิศักดิ์ ก็ต้องเหนื่อยสุดยอดเป็นธรรมดาแหล่ะ
consult นี่ เพื่อนผมที่มันเป็นมันบอกว่า
คือคนที่ไม่รู้อะไรเลย แต่ทำเหมือนรู้ดี อิอิ
(ให้ลูกค้าเชื่อก็พอ)