นักพัฒนาซอฟต์แวร์ 4 จำพวก

ผมเคยโม้เรื่องสามเหลี่ยมแห่งทักษะเอาไว้เมื่อหลายเดือนก่อน ซึ่งเป็นหัวข้อที่ผมพยายามอธิบายให้รู้กันว่า ถ้าเราแบ่งทักษะของนักพัฒนาซอฟต์แวร์ออกเป็น ทักษะทางเทคนิค, ทักษะทางระบบ และทักษะทางธุรกิจแล้ว เราจะได้นักพัฒนาซอฟต์แวร์เป็นกี่ประเภท

มาคราวนี้เอาใหม่ ผมจะใช้แผนภาพอีกแบบ ในการอธิบายนักพัฒนาซอฟต์แวร์ 4 จำพวกบ้าง

นักพัฒนาซอฟต์แวร์ 4 จำพวก

จากภาพจะเห็นว่า ด้านซ้ายเป็นพวกของจริง, ด้านขวาเป็นพวกของเทียม, ด้านบนเป็นพวกช่างเจรจา และด้านล่างเป็นพวกเตมีย์ใบ้

  • ผู้เชี่ยวชาญ คือคนที่สื่อสารกับผู้อื่นให้เข้าใจได้, ทฤษฎีแน่นปึ้ก และลงมือทำให้เกิดผลสำเร็จได้
  • หุ่นยนต์ คือคนที่สื่อสารกับผู้อื่นให้เข้าใจไม่ได้ หรือไม่ชอบสื่อสารกับใคร แต่ลงมือทำให้เกิดผลสำเร็จได้
  • ขี้โม้ คือคนที่สื่อสารกับผู้อื่นให้เข้าใจได้ เป็นจ้าวทฤษฎี แต่ให้ลงมือทำแล้วกลับทำไม่ได้ หรือไม่สามารถทำให้เกิดผลสำเร็จได้
  • ใช้ไม่ได้ คือ คนที่สื่อสารกับใครก็ไม่ได้ แถมให้ลงมือทำก็ทำไม่ได้อีก

ไม่ว่าจะเป็นองค์กรใดก็ตามหากว่ามีฝ่ายคอมพิวเตอร์ หรือศูนย์คอมพิวเตอร์ เราก็จะพบว่ามีคนประเภท “ขี้โม้” และ “หุ่นยนต์” อยู่เต็มไปหมดเลย ในขณะที่ “ผู้เชี่ยวชาญ” กลับไม่ค่อยมีเพราะหายาก และ “พวกใช้ไม่ได้” ก็ไม่ค่อยมี เพราะคนที่เข้ามาทำงานได้ ล้วนต้องผ่านการสอบข้อเขียน, สัมภาษณ์ และทดลองงานกันมาแล้วทั้งนั้น

และจากการสังเกตุของผม ผมก็พบว่าพวกที่ทำงานหยั่งกับหุ่นยนต์ จะไม่กินเส้นกับพวกที่เอาแต่โม้ไปวัน ๆ !!!! (มันก็น่าเหม็นขี้หน้าอยู่หรอกนะ เพราะไอ้คนโม้ไปวัน ๆ มันก็โม้หยั่งกับทำเป็น, ทำได้จนน่าหมั่นไส้จริง ๆ)

แต่อาจจะเป็นเรื่องโชคดีก็ได้ ที่ผู้บังคับบัญชาให้สิทธิ์ผมเต็มร้อย ในการเลือกคนเข้าทีม ทำให้ผมสามารถเลือกเอาคนประเภท “ผู้เชี่ยวชาญ” และ “ผู้ทำงานเยี่ยงหุ่นยนต์” ไว้ในทีมได้หลาย ๆ คนเลย

จริง ๆ แล้วผมก็ไม่ได้รังเกียจพวกที่เอาแต่โม้ไปวัน ๆ หรอกนะครับ เพราะพวกนี้ก็มีประโยชน์เหมือนกัน อย่างเช่นบางครั้งที่ผมต้องไปประชุมหลาย ๆ วงซึ่งนัดในเวลาที่ไล่เลี่ยกัน ผมก็ไม่สามารถจะไปปรากฎตัวทุกวงประชุมได้พร้อม ๆ กัน ผมก็จะใช้คนพวกนี้แหล่ะไปเข้าประชุมแทน

โดยก่อนจะส่งให้ไปประชุม ผมก็จะดูจากรายงานการเชิญประชุมว่ามีวาระอะไรบ้าง มีการติดตามเรื่องอะไรบ้าง จากนั้นผมก็จะเล่าให้พวกขี้โม้เหล่านี้ฟัง เพื่อให้ไปถ่ายทอดในที่ประชุมอีกทีนึง ซึ่งคนขี้โม้เหล่านี้ก็ทำได้ดีมากเลยนะ เพราะสามารถที่จะโม้ในที่ประชุมได้เป็นฉาก ๆ เหมือนกับว่าตัวเองเป็นคนลงมือทำงานนั้นเองเลยทีเดียว แล้วคนในที่ประชุมก็เข้าอกเข้าใจซะด้วย 🙂

จากนั้นเมื่อกลับมาจากการประชุมแล้ว คนขี้โม้เหล่านี้ก็สามารถถ่ายทอดการสนทนา, การตอบโต้ และวาระพิเศษหลาย ๆ อย่างให้ผมทราบได้ เหมือนกับว่าผมไปนั่งฟังเองในที่ประชุมเลยทีเดียว

จะเห็นว่าบางครั้ง เราก็สามารถพลิกแพลง เปลี่ยนจุดที่เหมือนเป็นข้อด้อยของคนในทีม ให้กลายเป็นจุดเด่นได้เหมือนกัน เน้อะ ดีจัง 🙂

[tags]นักพัฒนาซอฟต์แวร์,ผู้เชี่ยวชาญ,ขี้โม้,หุ่นยนต์,ใช้ไม่ได้[/tags]

Related Posts

16 thoughts on “นักพัฒนาซอฟต์แวร์ 4 จำพวก

  1. ค่อนข้างถูกใจ เพราะใช้วิชาว่าด้วยการจัดการบริหารทรัพยากรบุคคลได้ดีเยี่ยม ทำให้มองเห็นว่าทุกคนนั้นมีข้อเด่นด้อยต่างกัน แต่ก็สามารถทำอะไรได้ไม่เหมือนกัน แต่อาจได้ผลสรุปที่เท่ากัน

    จริง ๆ แล้วผมมองว่าการจัดการทรัพยากรในรูปแบบนี้เป็นการดึงสาระมาใช้ประโยชน์ได้อย่างดี
    และอาจเป็นทางออกให้กับผู้พิการมีสิทธิในการทำงานได้ด้วยหากจัดสรรได้ถูกวิธี แม้แต่เด็กก็ทำงานได้ หากผู้บริหาร ผู้จัดการทรัพยากรเล็งเห็น

    ประเด็นนี้เยี่ยมมากครับพี่ให้แนวคิดประยุกต์ได้มาก

  2. เหมือนพ่อรวยสอนลูกเลย ตอนเงินสี่ด้านเลยแฮะ แต่อันนี้ต้องโปรแกรมเมอร์สอนเพื่อน ตอนนักพัฒนาซอฟต์แวร์ 4 จำพวก

  3. นับว่าได้ประโยชน์อย่างสูงครับ สำหรับเรื่องนี้ โดยหลักการบริหารจัดการด้าน ทรัพยากรบุคคลแล้ว การเลือกเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ให้ได้สูงสุดคือวัตถุประสงค์อย่างแท้จริง ต้องขอบอกว่า พี่ไท้ นำเรื่องนี้มาพูดได้ดีครับ และ ทำให้เห็นภาพการประยุกต์ใช้คนอย่างเหมาะสม เยี่ยมครับ

  4. ผมเองก็เป็นพวกของเทียมครับคุณ BigNose อิ อิ

    มีดิคุณ panu แต่ว่าก็ขึ้นอยู่กับว่าสาว ๆ จะเจรจาด้วยอ๊ะเปล่านะ

    อือม คิดถึงผู้พิการเลยเหรอครับ อันนี้ไม่สันทัดอ่ะครับ เอ ผมเองก็ไม่เคยได้มีโอกาสใกล้ชิดกับคนพิการเลย เลยไม่รู้ว่าจริง ๆ แล้วต้องยังไงดี

    วาดให้ดูเฉย ๆ ไม่ได้สอนคร้าบบบบบคุณเดย์ มันเป็นการนำเสนอจินตนาการอ่ะครับ ซึ่งคิดว่ามันน่าจะวาดออกมาเป็นรูปได้ ผมก็เลยวาดออกมาส่งเดชแบบนี้แหล่ะ

    ผมกำลังคิดว่าบล็อกนี้กำลังจะนอกเรื่องจากการพัฒนาซอฟต์แวร์ กลายไปเป็นบล็อกการจัดการทรัพยากรไปหรือเปล่าก็ไม่รู้นะเนี่ย ไว้คราวหน้าจะดึงกลับมาเรื่องการพัฒนาซอฟต์แวร์ให้ได้อ่ะคุณสิทธิศักดิ์

  5. เพิ่งเห็นประโยชน์ของพวกขี้โม้ก็คราวนี้เองครับ ธรรมดาผมจะเลี่ยง ๆ คนเหล่านี้ เพราะทำใหเผมสมาธิสั้น

    แต่มีคนที่ผมรู้จักอยู่คนนึงครับ อยู่กึ่งกลางระหว่างผู้เชี่ยวชาญกับพวกขี้โม้ คือโคตรเก่งเลย แต่ก็โคตรขี้โม้เหมือนกัน เขาเลยมีปัญหา ทำงานกับคนอื่นไม่ค่อยได้ เพราะความโคตรขี้โม้ของเขาครับ น่าเสียดายอยู่เหมือนกัน

  6. ผมน่าจะอยู่ในพวกขี้โ้ม้อ่ะครับ เพราะยังไม่เก่งจริง
    แต่เจองานแบบไฟท์บังคับบ่อยๆๆ(ตอนฝึกงานน่ะ) บอกพี่เค้าได้แ่ต่
    จะลองดูครับ สุดท้ายก็เสร็จออกมาไม่คอ่ยดีนัก(สุดๆของฝีมือ โปรแกรมเมอร์สมัครเล่นแล้วน่ะ)
    เศร้าๆๆๆๆๆๆๆๆ

  7. 🙂 ม่ายรู้คุณ iPAts ดิ อิ อิ

    คนที่คุณโบว์เล่าให้อ่าน ถือได้ว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญครับ เพราะเป็น “ของจริง” และก็ “ช่างเจรจา” อันนี้คงต้องยอม ๆ ไปครับ

    ไหงใคร ๆ ก็ขี้โม้เหมือนผมกันหมดเลยอ่ะคุณ memtest

  8. จากประสบการณ์ส่วนตัวของผม . . พวกขี้โม้ . . มักได้เป็นผู้บริหารก่อนทุกที

    พวกนี้เจรจาเก่ง . . พูดจาน่าเชื่อถือ . . เข้าสังคมเป็น . . วางตัวดี

    พวก หุ่นยนต์นี่ . . เก่ง แต่ไม่มีใครดันไปหรอก . . เพราะเข้ากับใครไม่ได้
    พูดด้วยไม่เข้าใจ และที่สำคัญ ถ้าดันขึ้นไป ก็ไม่มีคนทำงานสิ เพราะพวกขี้โม้
    ทำไม่ได้ . .

    ขอบคุณสำหรับบทความดีดีครับ

  9. T-T มันเป็นความจริงอันแสนโหดร้ายอ่ะครับคุณ Stamp ดังนั้นเรามาเป็นพวกขี้โม้กันเถอะ เพื่อความก้าวหน้า (อ้าว ๆ ไหงผมพูดงี้เนี่ย)

    ไมคุณหมีว่าตัวเองงั้นเนี่ย ง่ะ ปลอบ ๆ

  10. อ่า… เห็นด้วยกับคุณ Stamp เลยอะค่ะ T^T ทำไมคนที่ขี้โม้โอ้อวด พูดจาข่มคนอื่น เอาตัวรอดเก่งเป็นที่หนึ่ง พวกนี้มักจะได้ดีล่ะคะ

  11. ผมว่าพี่ไท้เป็นแบบขี้โม้มากกว่า แถมเป็นจ้าวทฤษฎีครับ แต่ไม่รู้ว่าพอปฏิบัติจะเป็นอย่างไร ตามที่ผมอ่านบทความของพี่ไท้มา อ่านมาก รู้มาก แต่บางทีใช้ในทางปฏิบัติไม่ได้ !!!

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *