ระดับของงานวิจัยทางคอมพิวเตอร์

สั้น ๆ ได้ใจความครับ มันมีทั้งหมด 5 ระดับ ประกอบด้วย

  1. การวิจัยทฤษฎี
  2. การวิจัยเพื่อนำทฤษฎีไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์
  3. การวิจัยเพื่อนำการประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ไปสร้างต้นแบบ
  4. การวิจัยเพื่อนำต้นแบบไปผลิตเชิงพาณิชย์
  5. การวิจัยทางการตลาดเพื่อตอบสนองต่อความพึงพอใจและความต้องการของผู้บริโภค

ระดับที่ 1 ถือว่าหินสุด ต้องเป็นระดับดอกเตอร์ ผศ. รศ. ศ. อะไรพวกนั้น ถึงจะวิจัยทฤษฎีได้ คือ มันต้องพิสูจน์ มันต้องอธิบายอย่างลึกซึ้ง มันเป็นวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ มันยาก

โดยส่วนตัวผมถนัดในงานวิจัยระดับที่ 2 เพราะเป็นการเอาทฤษฎีที่มีอยู่แล้วมาประกอบ อันนี้ผมถนัด อาจารย์ผมเรียกการวิจัยในระดับที่ 2 ว่าเป็นการยืนอยู่บนบ่ายักษ์ คือ ยักษ์มันสูงของมันอยู่แล้ว เราไปยืนอยู่บนนั้น เราก็สูงตามไปด้วย

สำหรับคนเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เก่ง ๆ คงจะเหมาะกับระดับที่ 3 และคนที่ชำนาญด้านวิศวกรรมซอฟต์แวร์คงจะเหมาะกับระดับที่ 4

สุดท้ายสำหรับระดับที่ 5 คงจะเหมาะกับนักการตลาด เพราะพวกนี้เขาวาดฝันเก่ง และเขาก็เข้าใจผู้บริโภคได้ดีกว่าใคร ๆ

และสุดท้ายของสุดท้าย คนทั้ง 5 ระดับนี้มันเคยคุยกันบ้างหรือเปล่า? ประเทศไทยเราถึงยังไม่ก้าวหน้าทางด้านนี้กันเท่าไหร่เลย!!!

Related Posts

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *