วันนี้ผมได้อ่านข่าวจากผู้จัดการออนไลน์ครับ เรื่องที่ทางสหรัฐอเมริกามีความกังวลอย่างมากกับการที่ผู้ก่อการร้าย จะโจมตีระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่ายของตน โดยความกังวลถูกพุ่งเป้าไปที่ระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่ายที่ใช้สำหรับอำนวยความสะดวกให้กับสถาบันการเงิน, ตลาดเงิน, ตลาดตราสารหนี้ และตลาดตราสารทุน

ข่าวดังกล่าวเป็นข่าวเล็ก ๆ ครับ ผมเองคลิ๊กเข้าไปดูแล้วก็พบว่ามีคนเข้ามาดูข่าวนี้ไม่กี่ร้อยคน น้อยจัง!!!

ผมคิดว่ามนุษย์เราคงเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีการฝังรหัสพันธุกรรมให้ชอบใช้กำลังต่อกันนะ มนุษย์เราจึงสร้างอารยธรรมขึ้นมาโดยการทำสงครามตลอดมา ตอนแรกก็ทำสงครามกับสัตว์อื่น จนไม่มีสัตว์ชนิดไหนที่จะทำสงครามชนะมนุษย์แล้ว ช่วงหมื่นปีที่ผ่านมา มนุษย์ก็เลยหันหน้ามาทำสงครามกันเอง

ความก้าวหน้าของระบบทุน, วิทยาศาสตร์, วิศวกรรมศาสตร์ และอุตสาหกรรมเป็นสิ่งที่ทำให้แนวรบของสงครามเปลี่ยนไป โลกมันเปลี่ยนไป จากที่สมัยก่อนแนวรบอยู่เพียงชายแดนเท่านั้น มาพักหลังแนวรบก็ขยับเข้ามาในตัวเมืองมากขึ้น

คนส่วนใหญ่ยังเข้าใจอยู่ว่าสงครามหมายถึงการที่มนุษย์ใช้อาวุธยุทโธปกรณ์มาห้ำหั่นกัน เพื่อให้เสียเลือด, เสียเนื้อ, เสียชีวิต, อาคารสถานที่พินาศย่อยยับ, ข้าวของเสียหาย เป็นต้น ซึ่งผมก็เข้าใจว่ามันเป็นรูปแบบของสงครามที่มนุษย์เราพานพบกันมาในประวัติศาสตร์จนเห็นเป็นรูปแบบตายตัวไป

แต่เดี๋ยวนี้มันไม่เหมือนเดิมแล้ว รูปแบบของสงครามมันไม่ได้มีเพียงแค่แนวรบเดียวแล้ว มันยังมีอีกหลาย ๆ แนวรบอีก ไม่ว่าจะเป็นแนวรบด้านเศรษฐกิจ, แนวรบด้านวัฒนธรรม, แนวรบด้านสื่อสารมวลชน และแนวรบด้านสารสนเทศ

สำหรับแนวรบด้านอื่น ๆ คงไม่เกี่ยวกับนักพัฒนาซอฟต์แวร์เท่าไหร่นัก แต่แนวรบด้านสารสนเทศซึ่งพวกฝรั่งเรียกว่า Information Warfare และ Network-centric Warfare เป็นสิ่งที่ควรจับตามอง

มันเป็นการเปลี่ยนมิติของสงครามอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน นัยของความหมายก็คือนักพัฒนาซอฟต์แวร์, วิศวกรซอฟต์แวร์, วิศวกรเครือข่าย และวิศวกรคอมพิวเตอร์ ผู้ซึ่งเปี่ยมไปด้วยความรู้, ความสามารถ และทักษะต่าง ๆ ในทางคอมพิวเตอร์, ในการเขียนโปรแกรม, ในระบบเครือข่าย, ในระบบอินเตอร์เน็ต และในระบบการเข้ารหัสถอดรหัส ก็สามารถติดอาวุธทางปัญญาเพื่อจะเป็นทหารที่จะรบในแนวรบด้านสารสนเทศได้เช่นกัน

เท่าที่ผมทราบ กระทรวงกลาโหมของไทยเองก็ไม่ได้นิ่งนอนใจในเรื่องนี้ เพราะได้มีการให้ทุนกับทหารที่มีสติปัญญาดีเพื่อไปเรียนต่อในต่างประเทศในสาขาวิชาทางคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ โดยหวังว่าจะกลับมาเป็นกองกำลังในแนวรบทางด้านสารสนเทศในอนาคต อีกทั้งถ้าผมเดาไม่ผิด ทางกองทัพเองก็คงจะมีการตั้งกองกำลังลับ ๆ เพื่อไว้ต่อกรกับแนวรบทางด้านสารสนเทศเช่นกัน (สงสัยได้รับการสนับสนุนจากอเมริกา ซึ่งอันนี้ผมไม่ค่อยชอบเท่าไหร่ แต่ก็ช่วยไม่ได้ นั่นเป็นเรื่องของกองทัพ ประชาชนอย่างผมไม่เกี่ยว)

แต่ผมมองว่าคงไม่ใช่แค่ธุระของทหารเท่านั้นแล้วครับ สำหรับการปกป้องแนวรบด้านสารสนเทศของประเทศไทย มันเป็นธุระของนักพัฒนาซอฟต์แวร์, วิศวกรซอฟต์แวร์, วิศวกรเครือข่าย และวิศวกรคอมพิวเตอร์ที่กระจัดกระจายอยู่ในประเทศไทยด้วย

เพราะรูปแบบของสงครามในแนวรบนี้ มันสลับซับซ้อนจนเกินกว่าจะให้ทหารดูแลแต่เพียงฝ่ายเดียว ทหารดูแลไม่ทั่วถึงหรอก ลำพังดูแลแนวรบปรกติทั้งบก, น่านน้ำ และ น่านฟ้า ก็ลำบากวุ่นวายจะแย่อยู่แล้ว

แล้วเราจะทำยังไงล่ะ ถึงจะปกป้องแนวรบด้านสารสนเทศนี้ได้?

ง่าย ๆ ครับ คนทั่วไปอาจจะคิดว่ามันยาก คำตอบก็คือ หากเราทำงานทางด้านคอมพิวเตอร์อยู่ในหน่วยงานที่สำคัญของชาติอันได้แก่ หน่วยงานรัฐ, สถาบันการเงิน, ตลาดเงิน, ตลาดทุน หรือบริษัทชั้นนำซึ่งทำธุรกิจผูกขาดของไทย ซึ่งองค์กรเหล่านี้ล้วนเป็นองค์กรที่สำคัญและขับเคลื่อนด้วยระบบคอมพิวเตอร์ทั้งสิ้น เราในฐานะชิ้นเฟืองที่สำคัญของระบบ ก็ควรออกแบบระบบ, ออกแบบซอฟต์แวร์, ออกแบบเครือข่าย และออกแบบสถาปัตยกรรมทางคอมพิวเตอร์ให้มันดียิ่ง ๆ ขึ้นไป แล้วคอยเฝ้าระวังไว้ ไม่ให้ใครหน้าไหนเข้ามาทำอันตราย, ทำร้าย หรือรบกวนได้

ก่อนหน้านี้คนไทยเราอ่อนด้อยทางด้านเศรษฐกิจ จนต้องถูกโจมตีในแนวรบด้านเศรษฐกิจมาแล้ว ผมหวังว่าคนไทยเราคงไม่อ่อนด้อยทางด้านสารสนเทศ จนต้องถูกโจมตีในแนวรบด้านสารสนเทศในภายภาคหน้าหรอกนะ เพราะถึงตอนนั้นแม้แต่ทหารเอง ก็คงจะช่วยอะไรไม่ได้เหมือนกัน เหอ ๆ

[tags]information warfare, แนวรบ, สารสนเทศ, แนวรบด้านสารสนเทศ, สงคราม[/tags]

Related Posts

7 thoughts on “Information Warfare

  1. แนวรบที่ป้องกันยากที่สุดเห็นจะเป็นแนวรบด้าน สารสนเทศ นี่แหละครับ เพราะไม่ว่าจะทำดีแค่ไหนวันหนึ่งก็ต้องมีช่องโหว่อยู่ดีแหละครับ แต่การป้องกันที่ดีที่สุดจึงกลายเป็นการพัฒนารูปแบบต่าง ๆ ขึ้นมาแทนที่ เรียกว่า เอาให้มันตายกันไปข้างหนึ่งเลย (อันนี้เหมือนรบกันจริง ๆ ) การต่อสู้ผ่านสายเคเบิ้ลเป็นอะไรที่ต้องคิดหนักครับ เพราะต้องมีการวางแผนป้องกัน และ จู่โจมโดยทีมวิศวกรผู้ชำนาญงานเป็นอย่างมาก เช่นเดียวกับ การใช้ คอมพิวเตอร์เพื่อ ควบคุมขีปนาวุธ นั่นแหละครับ เห้อ..ได้อ่านเรื่องนี้แล้วให้ท้อครับ เพราะวันหนึ่งยังไงมันก็ต้องเกิดอยู่ดี สู้กันต่อไปครับ

  2. เห็นด้วยจริง ๆ ครับว่าอำนาจสารสนเทศนี่มันน่ากลัว ขนาดแค่ที่เป็นข่าวลือที่สร้้างออกมา ก็ทำให้วิกฤตได้

  3. จะว่าไปแล้วมนุษย์เราทำสงครามกันมาตลอดเลยน่ะครับ ตั้งแต่สมัยโบราญเพียงแค่ต่างกันเพียงสถานที่และช่วงเวลากันเท่านั้น
    เคยมีคนเค้าบอกไว้น่ะครับ(ผมจำ่ไม่ได้แน่นอนว่าว่าความคิดใคร แต่คิดว่าเป็นไอสไตน์)

    “สงครามโลกครั้งที่หนึ่งจบลงด้วยเครื่องบินทิ้งระเบิด สงครามโลกครั้งที่สองจบด้วยระเบิดนิวเคลียร์ที่ฮิโรชิม่า
    สงครามโลกครั้งที่สามจบลงด้วยระเบิดนิวเครียร์
    สงครามโลกครั้งที่สี่เริ่มต้นด้วยไม้ และ ก้อนหิน”

    ได้ยินเรื่องราวแล้วเศร้าใจ………………..

  4. ผมเข้ามาได้เหมาะเจาะเวลาเปลี่ยนสีพอดี ดูทันสมัยขึ้นเยอะครับ เพราะหนังสือแต่ละเล่มที่นำมา review เก่าซะ..บรรยายไม่ถูกเลย

    ปล ผมมี blog ภาษาไทยที่นำเอาประสบการณ์ของตัวเองมาทำประโยชน์ให้เพื่อนๆแล้วล่ะครับ ที่ poorblogger.com

  5. แต่ยังไง ผมก็ยังรู้สึกว่า ประเทศไทยยังอ่อนด้อยทางด้านสารสนเทศอยู่ดีอะครับ
    ไม่รู้สิ แต่คิดว่า ไม่ได้คิดไปเองแน่

  6. เปล่าอ่ะคุณ CCcp ผมแค่ยืมภาพ counter strike มาแปะเท่านั้นเอง เกมส์นี้สนุกนะ ผมชอบมากเลย กดซื้อปืน B,4,3 กดซื้อกระสุน B,6 B,7 กดซื้อเสื้อเกราะ B,8,2 แล้วก็ลุยเลย

    สู้ ๆ ครับคุณสิทธิศักดิ์ ว่าแต่ศัตรูเราอยู่ตรงไหนบ้างเนี่ย?

    อำนาจสารสนเทศคืออำนาจของความรู้บวกกับอำนาจของเครือข่ายครับคุณโยคี มันน่ากลัวจริง ๆ ด้วย

    ผมก็เคยอ่านเจอแบบเดียวกับคุณ memtest เลยล่ะ ผมว่าสงครามโลกครั้งที่ห้า มนุษย์คงจะถ่มน้ำลายรดใส่กัน เพราะว่าโดนกัมมันตรังสีจนกลายเป็นง่อยกันไปหมด ไม่มีมือเท้ามาถือท่อนไม้และก้อนหินแล้วล่ะ

    เอ ผมเปลี่ยนสีบล็อกเหรอคุณ BigNose เปล่าอ่ะ ยังไม่ได้ทำอะไรกับ theme เลย ฮั่นแน่ ทักผิดคนอ่ะดิ

    ไม่ได้คิดไปเองหรอกครับคุณ PatSonic เพราะผมเองก็คิดเหมือนกัน ผมว่าปัญหามันน่าจะเกิดจากกลุ่มทุนที่สนับสนุนทางด้านเทคโนโลยีของเมืองไทยน่ะ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *