ตอนนี้ผมได้ข้อมูลเงินเดือนของคนในทีมที่ผมดูแลจาก HR มาแล้วครับ ผมดูแลทางตรงอยู่ราว 6 คนและดูแลทางอ้อมอยู่ 7 คน ก็เลยต้องมาประเมิณกันอีกแล้ว
ผมไม่ได้มีอำนาจที่จะขึ้นเงินเดือนให้ใครหรอกครับ เพราะผมไม่ได้เป็นผู้มีอำนาจลงนาม, ไม่ได้เป็นระดับนโยบาย และไม่ได้เป็นเจ้าของเงิน สิ่งที่ผมทำได้คือการส่งเรื่องขอขึ้นเงินเดือนให้กับคนในทีม ขึ้นไปให้ข้างบนพิจารณา เพราะระดับนโยบายไม่รู้ว่าระดับปฏิบัติการคนใดบ้างที่สร้างผลงาน, มีศักยภาพ, ขยัน, อดทน และมีมารยาทดี
การให้ผลตอบแทนที่เหมาะสมกับนักพัฒนาซอฟต์แวร์และนักวิเคราะห์ระบบเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะมันหมายถึงการจูงใจให้พวกเขาทำงานอย่างเต็มที่, มีวินัย, แบ่งเวลา, ทุ่มเท และมีความสุขกับการทำงาน
ระดับนโยบายมักจะขอเหตุผลในการขอขึ้นเงินเดือนเสมอ ผมเองต้องมานั่งคิดวิธีอธิบาย บางครั้งก็ต้องมาทำเอกสารประกอบการอธิบายด้วย เอกสารที่ทำขึ้นก็คือตารางอธิบายบุคลากรในทีม ซึ่งมีข้อมูลเงินเดือนรวมกับบทบาท, งาน และหน้าที่ที่รับผิดชอบอยู่ประกอบไปด้วย เพื่อชี้ให้ระดับนโยบายเห็นว่า มีเหตุผลอะไรบ้างที่ต้องขึ้นเงินเดือนให้คนนั้นคนนี้
โดยธรรมชาติแล้วนักพัฒนาซอฟต์แวร์และนักวิเคราะห์ระบบ มักเปลี่ยนงานบ่อย ดังนั้นการสร้างกุศโลบายโน้มน้าวให้พวกเขาอยู่กับเรา จึงเป็นเรื่องที่ต้องใช้ศิลป์สูงมาก ถ้าเล่นเข้า ๆ ออก ๆ กันบ่อย ๆ ผมก็เหนื่อยแย่ เพราะต้องมาคอยอธิบายงานใหม่ แย่ ๆ
องค์กรส่วนใหญ่จะเลือกสร้างกระบวนการในการถ่ายทอดงานเอาไว้ เพราะรู้อยู่เต็มอกว่าไม่มีใครจะอยู่ด้วยนาน แต่หากเราทำให้คนอยู่กับเรานาน ๆ ได้ น่าจะเป็นสิ่งที่ดีกว่า
โดยเฉพาะการขอขึ้นเงินเดือนให้คนในทีมระหว่างกลางปีงบประมาณ เป็นเรื่องที่หินที่สุด เพราะระดับนโยบายเขาไม่ได้กันเงินให้เราแต่แรก ดังนั้นการจะขึ้นเงินเดือนจึงเป็นอะไรที่ต้องโต้กันซักตั้ง
นักพัฒนาซอฟต์แวร์และนักวิเคราะห์ระบบ มักจะเก็บงำความต้องการอันแท้จริงของตนเองเอาไว้ครับ เขาจะไม่ยอมบอกหรอกว่าจริง ๆ แล้วเขามุ่งหวังอะไรจากองค์กรหรือบริษัทที่ตนเองทำงานอยู่ มันจึงเป็นหน้าที่ของผม ที่จะไปสืบค้นและโน้มน้าวให้เขาบอกออกมาให้ได้ว่าเขาต้องการอะไร
บางคนก็อยากได้เงินเดือนที่เหมาะสม (หมายถึงเงินเดือนเยอะหน่อยนั่นแหล่ะ), บางคนก็อยากจะทำงานที่ท้าท้าย ไม่น่าเบื่อ, บางคนก็อยากให้ส่งไปอบรมวิชาความรู้อะไรบ้าง, บางคนก็อยากจะเขียนซอฟต์แวร์อย่างเดียว ไม่อยากยุ่งเกี่ยวกับใคร, บางคนก็ไม่อยากเขียนโปรแกรม แต่อยากจะติดต่อประสานงาน เป็นต้น
ไม่ใช่ทุกเรื่องที่ผมจะตอบสนองความต้องการของพวกเขาได้ แต่เรื่องเงินเดือนนี่ยังพอจะช่วยได้ ก็ต้องช่วย
ล่าสุดคนในทีมจบปริญญาโทอีกคนแล้ว สงสัยต้องจิ้ม ๆ กับระดับนโยบาย เพื่อขอขึ้นเงินเดือนให้คนนี้เยอะหน่อย ก่อนที่เขาจะไม่รอแล้วจากไป T-T
ป.ล. ขอขึ้นเงินเดือนให้คนในทีมได้ แต่ขอขึ้นเงินเดือนให้ตัวเองไม่ได้ แย่จริง ๆ T-T
[tags]นักพัฒนาซอฟต์แวร์, นักวิเคราะห์ระบบ, ปีใหม่, เงินเดือน, ขึ้นเงินเดือน, ค่าตอบแทน[/tags]
พูดถึงเรื่องเงินเดินกับการทำงานเป็นบุคลากรในองค์กรนี้ก็เป็นของดู่กันจริง ๆ ซึ่งมักต้องขยัน และมีน้ำอดน้ำทน ผลงานดี
ผมเองก็ต้องขยัน เพราะต้องขึ้นเงินเดือนให้กับตัวเอง เพราะไม่มีคนจ้างงาน ขยันมาหลายปีดีดัก แต่เงินขึ้นไม่เท่าไหร่ดูท่าทีว่าปีใหม่นี้ต้องปฏิวัติตัวเองสักหน่อย
เห็นด้วยว่าคนในวงการ it เปลี่ยนงานบ่อยครับ ผมก็ขึ้นหนึ่งที่เป็นแบบนั้น ฮิๆ
1 อยากทราบว่าการเรียนจบโทแต่ทำงานไม่ได้เรื่อง แล้วต่างจากจบตรีแต่ทำงานได้ดีกว่า ท่านมีความคิดอย่างไร ?
2 และท่านคิดว่าจบโทมีผลกับการเลื่อนขั้นเงินเดือนมากน้อยเท่าไหนครับ ?
คุณโยคีทำธุรกิจส่วนตัวเหรอเนี่ย สาหัสนะ ลำบากเลยล่ะ เพราะโรเบิร์ต คิโยซากิบอกไว้ว่า คนทำธุรกิจส่วนตัว คือคนที่เสียงที่สุด แต่ถ้าเป็นลูกจ้างไปด้วย ทำธุรกิจส่วนตัวไปด้วย ความเสี่ยงก็จะถูกกระจายออกไป
คุณ xinexo เปลี่ยนงานบ่อยเหรอเนี่ย? เหมือนผมเลย ผ่านมาสิบกว่าปี เปลี่ยนมา 7 ที่แล้ว ^o^
ผมกำลังจะเขียนบทความเรื่อง “จักระแห่งนักพัฒนาซอฟต์แวร์” ครับ ซึ่งในบทความดังกล่าว จะให้คำตอบสำหรับทั้งสองคำถามของคุณ guru ได้เป็นอย่างดีเลยล่ะ คอยติดตามนะ 🙂
อาจจะเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้หน่วยงานราชการไม่ค่อยมีการพัฒนา เพราะถึงขี้เกียจยังไง อย่างน้อยก็ได้ 1 ขั้นแน่นอน ^^”
สำหรับที่ทำงานผม การจบโท ไม่มีผลต่อการเลื่อนขั้นเงินเดือนครับ แต่ที่ตัดสินใจเรียน เพราะอยากได้ความรู้เพิ่มเติม และอยากรู้จักคนเพิ่มขึ้น
แต่ที่แน่ๆ ก็คือ คนจบโท น่าจะมีความรู้ในหัวข้อที่เรียน ดีกว่าคนจบตรี เพราะการเรียนโท มันคือการตัดสินใจด้วยตัวเอง น่าจะมีความสนใจ และความตั้งใจมากกว่าตอนเรียนตรี ที่ “ใครๆ เค้าก็เรียนกัน” (ผมคิดเอาเองนะ อาจจะไม่เป็นอย่างนั้นก็ได้-_-a)
ขอบคุณครับทุกท่าน ผมจะรออ่านนะครับคุณพี่ไท้
เห็นด้วยตามนั้นครับคุณ kong
ผมโพสต์ไปแล้วอ่ะคุณ guru