เราจะทำงานร่วมกับอัจฉริยะทางด้านพัฒนาซอฟต์แวร์อย่างไรดี?

สำหรับคนธรรมดาสามัญอย่างเรา ที่เป็นได้อย่างมากก็แค่คนธรรมดา, คนฉลาด และคนฉลาดมาก คงไม่สามารถรู้ซึ้งได้หรอกครับว่าความเป็นอัจฉริยะนั้น เป็นยังไง?

ผมเองก็ไม่รู้เหมือนกัน เพราะผมก็แค่เขมือบความรู้ของคนอื่นไปวัน ๆ ไม่เคยคิดอะไรเองซักที ก็เลยไม่มีประสบการณ์ตรงโดยตนเอง ว่าการเป็นอัจฉริยะนั้น จะทำให้ผมรู้สึกนึกคิดเช่นไร

ในทางการแพทย์มองว่าการเป็นอัจฉริยะนั้น จะมีผลข้างเคียงเกิดขึ้นนะครับ โดยทางการแพทย์ตั้งสมมติฐานเอาไว้ว่า ผู้ที่เป็นอัจฉริยะนั้น ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นโรค Asperger Syndrome (อ่านว่า แอส-เพอร์-เกอร์-ซิน-โดรม) ร่วมด้วย!!!

ถ้าใครไม่กดตามลิงค์เข้าไปดู ผมก็จะอธิบายให้อย่างย่อก็ได้ว่า ลักษณะเด่นของโรคนี้นั้นก็คือ ผู้ที่เป็นจะปลีกวิเวก, สันโดษ, ไม่ค่อยสื่อสารอะไรกับใคร เพราะคุยกับใครไม่ค่อยรู้เรื่อง, มีพรสวรรค์โดดเด่น แต่ถ่ายทอดไม่ดีนัก เป็นต้น

ลักษณะจะคล้าย ๆ กับโรค Autistic (อ่านว่า ออ-ทิส-ติค) อ่ะครับ อย่าไปสับสน

พอดีว่าบล็อกนี้โม้แต่เรื่องซอฟต์แวร์อย่างเดียวครับ ไม่ได้โม้เรื่องทางการแพทย์ ดังนั้นหยุดไว้แค่นี้แล้วกัน

อย่างที่เรารู้กันครับว่า บุคคลซึ่งเป็นอัจฉริยะนั้น มีกระจัดกระจายอยู่ทั่วโลก และกระจัดกระจายอยู่ในทุกสาขาวิชา ขึ้นอยู่กับว่าจะถูกส่งเสริม หรือถูกปล่อยปละละเลยแค่ไหน

โดยส่วนตัวแล้ว ตลอดชีวิตของผมนั้น ได้เคยพบกับอัจฉริยะทางด้านพัฒนาซอฟต์แวร์มาแล้วถึง 2 คน อัจฉริยะนี่ไม่ได้หมายถึงแค่ท่องจำเก่ง หรือแก้โจทย์ได้เก่งหรอกนะครับ แต่เขาอยู่ในระดับสร้างทฤษฎีทางคอมพิวเตอร์ใหม่ได้เลย!!!

เสียดายว่าทั้ง 2 คน ไม่สามารถควบคุมความเป็นอัจฉริยะของตนเองไว้ได้ครับ เนื่องจากสังคมและสิ่งแวดล้อมไม่ยอมรับแนวความคิดของพวกเขา

ล่าสุดที่ผมทราบ ทั้งสองคนกลายเป็นโรคจิตไปทั้งคู่ แย่จัง!!!

โดยสรุปแล้ว ผมยังไม่เคยทำงานร่วมกับอัจฉริยะทางด้านพัฒนาซอฟต์แวร์เลยครับ และผมเชื่องี้นะ เชื่อว่า ถ้าเขามาเป็นผู้ร่วมงานของผม หรือเป็นผู้บังคับบัญชา หรือเป็นผู้ใต้บังคับบัญชา ผมก็คงต้องสร้างกุศโลบายในหลายแบบเลยล่ะ เพื่อทำงานกับพวกเขา

ก็อัจฉริยะน่ะ มันคนธรรมดาที่ไหนกันเล่า!!!

[tags]อัจฉริยะ,นักพัฒนาซอฟต์แวร์,การพัฒนาซอฟต์แวร์[/tags]

Related Posts

9 thoughts on “เราจะทำงานร่วมกับอัจฉริยะทางด้านพัฒนาซอฟต์แวร์อย่างไรดี?

  1. ถ้าเป็นอัจฉริยะแล้วต้องบ้านี้ผมขอบายดีกว่า พี่ไท้ช่วยอธิบายความเป็นอัจฉริยะของเค้าให้ฟังหน่อยได้ไหมครับ อยากรู้ว่ามันเป็นยังไง ผมคิดว่าทุกคนในสายพัฒนาซอฟแวร์ก็้เหมือนกับจอมยุทธ์ในหนังจีนอ่ะครับ ต้องฝึกวิชาเพื่อพัฒนาตัวเอง ต้องค้นหาสำนักที่จะไปฝากตัวเป็นศิษย์ มีโอกาศก็ต้องไปประลองฝีมือเพื่อจะได้เป็นเจ้ายุทธ์ แล้วก็หัวเราะ 555

  2. ล่าสุดที่ผมทราบ ทั้งสองคนกลายเป็นโรคจิตไปทั้งคู่ แย่จัง!!!

    ไม่ใช่คำเปรียบเทียบใช่ไหมครับ หมายถึงเป็นโรคจิตจริงหรอครับ
    ช่วยขยายความได้ไหมครับ ?

    ตั้งแต่เกิดมา ยังไม่เคยเจอ Asperger Syndrome คับ
    เจอแต่ Autistic ครับ

  3. คนแรกเจอตอน ม.3 ครับ เขาคิดค้นวิธีการเรียงลำดับข้อมูลด้วยความรวดเร็ว สมัยนั้นอ่ะนะ ผมและเขาเขียนภาษา Basic แล้ว เพราะไปเจอกันที่สยามคอมพิวเตอร์ เลยพอจะฟังเข้าใจแนวคิดเขาบ้าง ไม่เข้าใจบ้าง โดยแนวคิดของการเรียงลำดับข้อมูลของเขานั้น กว่าผมจะแตกฉานได้ ก็เรียนปริญญาตรีปีสองแล้ว

    เพราะแนวความคิดของเขา มีความคล้ายกับ Quick Sort มาก เพียงแต่ Quick Sort เป็นการเรียงลำดับโดยใช้การ Recursive แต่ของเขานั้น ใช้การ Recursion แทน ลองคิดดูดิ เมื่อปี พ.ศ. 2532 น่ะ อินเตอร์เน็ตก็ไม่มี, Text Book ก็หาซื้อยาก, หนังสือภาษาไทยที่สอนการสร้างซอฟต์แวร์ก็น้อย แล้วเขาไปเอาแนวคิดนี้มาจากไหนฟระเนี่ย?

    ที่รู้ว่าคนแรกเป็นโรคจิตไปแล้ว ก็เพราะเจอคนที่เรียนสยามคอมพิวเตอร์แถววงเวียนใหญ่ แล้วทักกัน แล้วเขาก็เล่าให้ฟังว่า จำไอ้นั่นได้มั้ย มันเป็นบ้าไปแล้ว ผมก็ เออ ๆ ไม่ได้สนใจอะไร

    คนที่สองเจอตอนเรียนระดับอุดมศึกษา เขาไม่ได้แสดงผลงานอะไรชัดเจนนัก แต่ผมว่าเขาอัจฉริยะแน่ เพราะเขาแตกฉานในทฤษฎีคอมพิวเตอร์มาก แถมยังสอดแทรกแนวความคิดของตนเองเสริมเข้าไป พร้อมทั้งพยายามพิสูจน์แนวความคิดด้วย

    พอผมเรียนจบมาก็ได้ข่าวจากรุ่นน้องว่า ท่านอาจารย์ไม่ให้เขาจบ เพราะว่าตอนทำโปรเจคจบ เขาเสนอทฤษฎีทางคอมพิวเตอร์ที่ท่านอาจารย์ไม่ยอมรับ เลยไม่ยอมให้จบ สงสัยจะเสนอนอกกรอบมาก ประมาณว่าไม่เคยมีในโลกนี้มาก่อน

    ผมเองก็ไม่รู้ว่าเสนอทฤษฎีอะไร เพราะไม่ได้สนใจอีกตามเคย ภายหลังจากนั้น 2 ปี ก็พบเขานั่งยอง ๆ อยู่หน้าโรงหนังลิโด แถวสยามสแควร์ เนื้อตัวสกปรก, เสื้อผ้าสกปรก, ผมเผ้ายุ่งเหยิง, เล็บงี้ดำปี๋เลย และก็นั่งแคะขี้เล็บไปด้วย มองซ้ายมองขวาไปด้วย

    ผมเห็นแล้วหลบวูบเลย ไม่กล้าสบตาด้วย ในใจคิดแต่ว่า โหย แม่งเป็นไปขนาดนี้เลยเหรอวะเนี่ย ไม่น่าเลย T-T

  4. อัจฉริยะไม่จำเป็นต้องเป็นแบบนั้นมั้งครับ

    ผมเข้าใจ(เอาเอง) ว่าอัจฉริยะโดยมากจะมีบุคลิก แบบไทป์ห้า(ถ้าไม่รู้จักไทป์ห้าไปถามท่านแม่ทัพเอา ข้อมูลอยู่ในนั้นแหละ)และหลายๆคนที่คร่ำเคร่งมากๆ ก็ออกอาการแบบนั้น

    แต่อัจฉริยะเก่งๆ นิสัยดีๆก็ไม่น้อยครับ ผมมีเพื่อนหลายคนที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้ได้ไม่ยาก (ไม่บ้า ไม่เคร่ง ไม่เก็บตัว)

    ปัญหาจริงๆของการทำงานร่วมกับพวกนี้คือ เราตามไม่ทันครับ เขามองทุกอย่างง่ายหมด พูดสั้นๆ แล้วคิดว่าเราจะเข้าใจ และไม่เข้าใจว่า “ง่ายแค่นี้ ทำไมไม่เข้าใจ”

    เพื่อนผมคนหนึ่งเคยมาเลคเชอร์ให้ทีมผมฟังอยู่สองชม พอเดินออกนอกห้องประชุม เขาปรี่เข้ามาถาม “พี่ๆ ตะกี้ฟังผมรู้เรื่องปะ” เจ้าตัวบอกว่าเตรียมตัวพูด นานกว่าเตรียมโค้ด กับอัลกอริทึม ที่จะมาเดโมอีก!

    วิธีการแก้ไขในกรณีทั่วไป คงเอาไปกองไว้รวมกันมั้งครับ อย่างกูเกิ้ล หรือไมโครซอฟต์

    ถ้าไอคิวตามกันไม่ทัน บ้าได้ไม่เท่าเทียม ไม่รับ ^^

  5. ^o^ ฮาประโยคสุดท้ายของคุณ house เหมือนกันครับ ที่ว่า “…บ้าได้ไม่เท่าเทียมกัน ไม่รับ …” 555

  6. เลข Aperger นี่เหมือนจะสำคัญมากในเรื่องทฤษฎีคลื่นเลยนะครับ..

  7. ผมเข้าไปหาว่าไทป์ห้าเป็นยังไง ในบล็อกท่านสุมาอี้แล้วอ่ะคุณ house T-T ไม่เห็นมีเลยอ่ะ หรือว่าท่านสุมาอี้ลบทิ้งไปแล้วฟระเนี่ย?

  8. ผมไม่รู้จักเลข Aperger ที่ว่าเลยอ่ะครับคุณ Nok KiWi หาใน Google ไม่เจอเลยอ่ะ มันเป็นทับศัพท์ในวิชา Electromacnetic Fields หรือเปล่าครับเนี่ย?

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *