ถ้ามองในแง่ทางมนุษย์ศาสตร์แล้ว ตั้งแต่อดีตบุพกาลจนถึงปัจจุบัน เราจะพบว่าอารยธรรมของมนุษย์นั้น มีรูปแบบการอยู่ร่วมกัน เกาะเกี่ยวกัน อย่างเรียบง่ายที่สุด นั่นก็คือ จะแบ่งชนชั้นออกได้เป็น 2 ชนชั้นใหญ่ ๆ ได้แก่

  1. ชนชั้นปกครอง ผู้ซึ่งมีอำนาจในการกำหนดแนวทางทั้งปวง เป็นชนกลุ่มน้อย แต่มีความเหนือกว่าชนส่วนใหญ่ และ
  2. ชนชั้นแรงงาน ผู้ซึ่งมีอำนาจน้อยกว่า แต่เป็นกำลังหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ, สังคม, การเมือง และนวัตกรรมต่าง ๆ เป็นชนกลุ่มใหญ่ ซึ่งเกาะเกี่ยวยึดโยงอยู่กับชนชั้นปกครอง

ไม่ว่าจะเป็นยุคไหนสมัยไหน การเกาะเกี่ยวกันก็ยังคงอยู่เช่นเดิม เพียงแต่ชื่อเรียกขานอาจจะเปลี่ยนไป

สมัยก่อนอาจจะอยู่ในรูปของ “เจ้าครองนคร” ผู้ซึ่งเป็นชนชั้นปกครองที่ถือครองปัจจัยอย่าง “ที่ดิน”, ผู้ซึ่งมีชนชั้นแรงงานรายล้อมเป็นบริวารที่เรียกขานว่า “ไพร่”

สมัยนี้ก็เปลี่ยนไปเป็น “ผู้ถือหุ้นใหญ่”, “คณะกรรมการบริษัท” ผู้ซึ่งเป็นชนชั้นปกครองที่ถือครองปัจจัยอย่าง “เงินตรา”, ผู้ซึ่งมีชนชั้นแรงงานรายล้อมเป็นบริวารที่เรียกขานว่า “พนักงาน” หรือ “ลูกจ้าง” แทน

เหล้าเก่าในขวดใหม่!!!

ผมไม่เคยมีข้อมูลทางสถิติอยู่ในมือ แต่คิดว่าปัจจุบันนี้ในประเทศไทยเรา ผู้ที่เป็นเจ้าของกิจการคงมีจำนวนเป็นหลักแสนราย แต่แรงงานอย่างพวกเราคงมีจำนวนเป็นหลักสิบล้านรายขึ้นไป

เมื่อชนชั้นทั้งสองเกาะเกี่ยว พึ่งพิงอาศัย และแลกเปลี่ยนแรงงานกับเงินตรากันแบบนี้ กระบวนการในการจ้างงานย่อมต้องเกิดขึ้นเป็นธรรมดา เดี๋ยวนี้จะใช้ให้ใครผลิตสินค้าและบริการง่าย ๆ ไม่ได้แล้วครับ ต้องซื้อหรือจ้างครับ ถึงยอมทำให้กัน

ทีนี้วิธีการจะจ้างงานคน ส่วนใหญ่แล้ววิธีที่ดีที่สุดก็คงหนีไม่พ้น การลงประกาศหางานในหนังสือพิมพ์, นิตรสาร และอินเตอร์เน็ตอ่ะครับ

ผมก็ลองค้น ๆ ประกาศหางานในเน็ตมาให้ดูกัน อย่างอันนี้

คุณสมบัติของคนทำงาน

อันนี้

คุณสมบัติคนทำงาน

อันนี้

คุณสมบัติคนทำงาน

และอันนี้

คุณสมบัตนักพัฒนาซอฟต์แวร์

จุดที่น่าสนใจก็คือ ส่วนใหญ่แล้วอาชีพนั่งโต๊ะ ซึ่งเป็นแรงงานใช้สมอง ที่ลงประกาศในหน้าสมัครงานนั้น ล้วนเรียกร้องอย่างโหยหวนที่จะได้พนักงานซึ่งมีทักษะทางคอมพิวเตอร์และภาษาอังกฤษทั้งสิ้น

จะมีก็แต่อาชีพนักพัฒนาซอฟต์แวร์เท่านั้น ที่ไม่เรียกร้องทักษะทางคอมพิวเตอร์ แต่หันไปเรียกร้องทักษะภาษาอังกฤษแทน 😛

ดูเหมือนแรงงานใช้สมอง ซึ่งทำงานนั่งโต๊ะ จะกลายเป็นสาวกของคอมพิวเตอร์ไปหมดทุกคนแล้วมั้งครับเนี่ย!!

[tags]ชนชั้น,พนักงาน,ลูกจ้าง,คอมพิวเตอร์,ภาษาอังกฤษ,แรงงาน,นั่งโต๊ะ[/tags]

Related Posts

6 thoughts on “สาวกของคอมพิวเตอร์

  1. เข้าใจว่า accounting นี่ต้องใช้ word + excel เป็นครับ
    ส่วน r&d นี่งงๆ ไม่รู้ว่า r&d ของอะไร จึงต้องการความสามารถในการใช้โปรแกรมออกแบบ (ซึ่งไม่บอกว่าคือโปรแกรมด้านไหน ออกแบบมีหลายแขนง)
    ส่วน trade marketing กับ software developers อาจต้องสื่อสารกับลูกค้าชาวต่างชาติครับ ^^

  2. จริงๆเริ่มคิดไม่ออกว่ามีอาชีพไหนที่เป็นพนักงาน Office นั่งโต๊ะ แต่ไม่มี Computer วางไว้ประกอบด้วยแล้วอะครับ

    ส่วนภาษาอังกฤษนี่ เริ่มจะเปลี่ยนจากสำคัญ กลายเป็นจำเป็นไปแล้ว การจะสร้าง Value Added ให้ตัวเอง อาจจะต้องเปลี่ยนเป็น การเพิ่มภาษาที่สามเช่น จีน ญี่ปุ่น เกาหลี แล้วมั้งครับ ซึ่งการพูดภาษาเหล่านี้ได้ จะเพิ่มโอกาส ได้มากๆ เลยทีเดียวครับ

    ps. เข้ามาอ่านได้ระยะนึงแล้วครับ เริ่มติดใจ เลยขอ Comment บ้างครับ

  3. ผมเองก็งงกับ R&D ของตำแหน่งนี้เหมือนกันครับคุณ wät สงสัยจะเป็นพวกออกแบบผลิตภัณฑ์มั๊ง ตอนไปก๊อปมาก็ไม่ได้ดูด้วยอ่ะ ว่าเป็นบริษัทอะไร 😛

    เพิ่มภาษาที่สามเลยเหรอคุณก้อนหิน T-T เศร้าจิต แค่ภาษาอังกฤษผมก็จะไม่รอดแล้วครับ

  4. เข้าใจว่าพวก R&D บางที่เค้าใช้ Program พวก Auto CAD หรือไม่ก็ Cathia (ไม่แน่ใจว่าเขียวแบบนี้หรือป่าวครับ ) มั้งครับ

    ส่วนภาษาที่สามเริ่มมีผลแล้วจริงๆครับ ญาติ ผม พูดจีนได้ เค้าจะรับไปทำงานคุม mkt ที่เซี่ยงไฮ้ อะไรทำนองนี้ทีเดียว โอกาส มันเปิดกว้างกว่ากันเยอะครับ ยิ่งตอนนี้จีนเปิดประเทศ ทุกๆคนก็อยากจะแย่งชิ้นปลามันชิ้นนี้ครับ ก็พากันไปลงทุนที่จีนกันยกใหญ่เลยทีเดียว

    จะซื้อหุ้นก็หาอะไรที่แข่งกับจีนได้แล้วกันนะครับ

  5. นั่นสิเน้อะ เดี๋ยวนี้ยังมีหุ้นอะไรที่แข่งกับจีนได้อีกล่ะเนี่ยคุณก้อนหิน หายากจริงจริ๊งงงงงง ไม่เป็นไร หาต่อไป สู้ ๆ ครับ

  6. น่าสงสารตัวเอง ที่อังกฤษยังไม่เก่งสักที
    แต่ก็ยังโชคดีที่มีคนให้งานมาทำตลอด คอมพิวเตอร์เป็นทักษะที่จำเป็นจริงๆ อะแหละ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *