ปรัชญาการเขียนซอฟต์แวร์

คิดว่าโปรแกรมเมอร์หลายคนคงลืมกันไปแล้ว แต่จะขอย้ำอีกครั้งนึง เพื่อจะได้เกิดอรรถประโยชน์สูงสุด

เขียนโค้ดให้น้อย ๆ แต่ให้ผลลัพท์ที่มาก ๆ
เขียนโค้ดให้ง่าย ๆ ชาวบ้านจะได้ช่วยแก้ไขได้
เขียนโค้ดให้ซับซ้อน แต่อ่านแล้วสบายตา
อย่าใส่ค่าคงที่ไว้ในโค้ด จงไปใส่ไว้ในฐานข้อมูลแทน
อย่าเขียนโค้ดแบบระบบปิด จงเขียนโค้ดแบบระบบเปิด
อย่าบ้าพลัง เพราะพลังมันจะย้อนมากระแทกตัวเอง

[tags]คอมพิวเตอร์,ปรัชญา,การสร้างซอฟต์แวร์,ซอฟต์แวร์,โปรแกรม[/tags]

Related Posts

10 thoughts on “ปรัชญาการเขียนซอฟต์แวร์

  1. อ่านแล้วไม่เข้าใจ สองบรรทัดก่อนบรรทัดสุดท้ายอ่ะครับ
    1. ทำไมค่าคงที่ถึงต้องเอาไปใส่ไว้ในฐานข้อมูล
    2.โค้ด ระบบ ปิดคืออะไรอ่ะครับ

  2. ที่ค่าคงที่ควรเอาไว้ในฐานข้อมูล เพราะเราจะได้สร้างโปรแกรมมาปรับแต่งค่าเหล่านั้นได้ครับคุณ nat3 มันจะได้ยืดหยุ่นสูง

    ส่วนโค้ดระบบปิดคือการเขียนซอฟต์แวร์โดยที่ไม่คิดจะต่อเชื่อมกับใครเลย คิดจะทำงานอยู่เพียงลำพัง

  3. อ้อ อย่างงี้นี่เอง ขอบคุณครับพี่ไท้ แต่ส่วนใหญ่พวกค่าคงที่พวกนี้ ผมชอบเก็บไว้ในไฟล์แฮะ มันไม่ค่อยได้แก้บ่อยๆ จะ login เข้าไปแก้ในฐานข้อมูลก็ยังไงอยู่ (หรือเป็นเพราะผมทำระบบเล็กๆหว่า)

  4. ค่าคงที่ต่างๆที่ใช้บ่อยๆ ถ้าเก็บไว้ใน code มันไล่ยาก หายากไง ขอแค่เก็บไว้ต่างหากก็ใช้ได้ จะใส่ใน DB หรือ File ก็ว่ากันไป(ถ้าเป็นค่า Config DB ก็เก็บใน DB ไม่ได้ใช่มั้ยหล่ะ)

  5. ของพวกนี้มักจะได้จากประสบการณ์ครับ

    ผมเรียนรู้แบบ hard way อ่ะครับ เขียนโปรแกรมให้ที่บ้านเป็น php มีเป็น ร้อย ๆ ไฟล์ แล้วกลับมาเรียนที่อเมริกาผ่านไป เก้าเดือน กลับไปอ่านอีกที….

    กูทำไรไปวะเนี่ยโง่โคตร -_-” ต้องเสียเวลาอีกสองอาทิตย์ ทำรากฐานมันใหม่หมดเลย ก่อนที่จะพัฒนาเพิ่มได้

    พอเขียนไปได้อีกหนึ่งครั้ง เริ่มรู้สึกตัวว่า ทำงานซ้ำ ๆ กันอยู่ได้
    ก็เลยเริ่มเขียนโปรแกรมมาเขียนโปรแกรมให้เรา

    ตอนนี้สบายมากครับ

  6. กะลังเจอพลังย้อนกลับอย่างข้อสุดท้ายอยู่เลย แต่คนที่ปล่อยพลังไม่ใช่ผมนะ(ฮิม…)

  7. เห็นด้วยครับว่าสิ่งเหล่านี้มาจากประสบการณ์ บางครั้งวางแผนจะเขียนว่าแยกส่วนกันซ่ะดิบดี พอมาเขียนเข้าจริงๆชักเยอะเริ่มขี้เกียจ
    เขียนไปเขียนมารวมซ๋ะที่เดียวกันเลย เวลาแก้นี้นึกถึงเวลาเขียน ทำไปบ่นไป

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *