การแข่งขันเชิงเปรียบเทียบ

วันนี้มาแนวการจัดการหน่อยนะคงไม่ว่ากัน 😛 ผมจะสมมติว่าตัวเองจะตั้งบริษัทผลิตบริการซอฟต์แวร์ โดยเป็นการส่งซอฟต์แวร์ให้กับผู้บริโภคตามหลักการของ Software as a Service นะ ผมก็เลยจำเป็นที่จะต้องรับสมัครพนักงาน 2 ตำแหน่ง โดยมีตำแหน่ง Web Application คนนึง กับ Desktop Application คนนึง รับแค่ 2 คนเท่านั้นเพราะไม่ค่อยมีตังค์ ซึ่งผมก็กำหนดว่าเงินเดือนให้มาตกลงกันตอนสัมภาษณ์งาน

ทีนี้การส่งบริการซอฟต์แวร์ให้กับผู้บริโภค ตามหลักการของ Software as a Service นั้น มันเน้นการสร้าง Web Application เป็นหลัก เพราะจำเป็นต้องให้ทำงานผ่าน Browser ดังนั้นคนที่เป็น Web Application ก็เลยคิดว่าจะให้ค่าแรงเยอะหน่อย ส่วนอีกคนนึงทำ Desktop Application ไว้ประมวลผลเบื้องหลัง คอยทำซอฟต์แวร์ออกรายงานต่าง ๆ ไม่ใช่แกนของธุรกิจ ก็เลยคิดจะให้ค่าแรงน้อยหน่อย

ฐานเงินเดือน

อย่างที่รู้ ๆ กันว่าเรื่องเงินเดือนเป็นความลับ ดังนั้นฐานเงินเดือนนี้ผมรู้อยู่คนเดียว พนักงานที่ผมจะรับเข้ามาไม่มีทางรู้ … แล้วพอดีว่ามีคนมาสมัครงานกับบริษัทผมแค่ 2 คนเอง ผมก็เลยรับเอาไว้ทั้ง 2 คน เพราะมันพอดีกับตำแหน่งงาน

คนแรกชื่อนายโคตรเทพ คนอะไรไม่รู้เก่งโคตร มีค่าทักษะ Web Application 80/100, ทักษะ Desktop Application 80/100 (แหม บริษัทผมมีบุญจัง รับคนเก่งแบบนี้เข้ามาได้)

ค่าทักษะนายโคตรเทพ

คนที่สองชื่อนายเทพ คนนี้เก่ง Web Application เท่ากับนายโคตรเทพเลย มีค่าทักษะ 80/100, แต่ Desktop Application แย่หน่อยแค่ 45/100 เอง

ทักษะของนายเทพ

จากที่ผมกำหนดไว้จะเห็นว่า คนที่ผมจะให้ทำ Web Application นั้นผมจะให้เงินเดือนเยอะกว่าคนทำ Desktop Application เท่าตัวนึงเลย เห็นแมะ!!! แล้วอย่างที่บอก ผมจะเลือกให้ใครทำเพียงตำแหน่งใดตำแหน่งนึงเท่านั้น ดังนั้นก็เลยจำเป็นต้องเลือก

สมมติว่าถ้าผมเลือกตามความคิดเข้าข้างทั่ว ๆ ไปที่ว่า คนเก่งก็ต้องได้เงินเดือนมากกว่าล่ะจะเป็นไง?

เลือกโดยให้รางวัลกับคนเก่ง

จะเห็นว่ามันสมเหตุสมผลดีเน้อะสำหรับคนเก่ง เพราะถ้าเลือกแบบนี้ คนเก่งโคตรเพราะเก่งหลายอย่าง อย่างนายโคตรเทพ ก็จะได้รับเงินเดือน 30,000 บาท ในขณะที่คนเก่งน้อยกว่าอย่างนายเทพจะได้รับเงินเดือน 15,000 บาท แฟร์ดีเน้อะแบบนี้!! เอ๊ะ หรือเปล่า??? แล้วผมซึ่งเป็นเจ้าของบริษัทจะได้ประโยชน์อะไรล่ะเนี่ย ในเมื่อพลังในการผลิต Web Application ของบริษัทผมจะได้เป็น 80/100 ก็จริง แต่พลังในการผลิต Desktop Application ของบริษัทผมจะได้แค่ 45/100 เองอ่ะ?

แล้วถ้าเปลี่ยนใหม่เป็นเลือกตามผลประโยชน์ที่เจ้าของบริษัทอย่างผมจะได้รับบ้างล่ะจะเป็นยังไง?

เลือกแล้วผมได้ประโยชน์

อ้าว เลือกแบบนี้ก็แย่อ่ะดิ คนเก่งหลายอย่าง อย่างนายโคตรเทพกลับได้รับเงินเดือนแค่ 15,000 บาท เพราะถูกผมเลือกให้ไปทำ Desktop Application ในขณะที่คนเก่งน้อยกว่าอย่างนายเทพกลับได้รับเงินเดือนถึง 30,000 บาท เพราะได้ทำ Web Application!!!

แต่เลือกแบบนี้แล้วผมได้ประโยชน์นี่ เพราะผมได้พลังการผลิต Web Application เป็น 80/100 แล้วก็ได้พลังในการผลิต Desktop Application เป็น 80/100 เหมือนกัน!!!

จากตัวอย่างข้างบนที่ผมสมมติขึ้นนั้น เรียกได้ว่าเป็นการแข่งขันเชิงเปรียบเทียบครับ เพียงแต่มุมมองของการเปรียบเทียบนั้น ไม่ได้อยู่ที่พนักงานทั้ง 2 ท่าน หากแต่อยู่ในดุลยพินิจของเจ้าของบริษัทอย่างผมต่างหาก

หรือโดยข้อสรุปก็คือ ผม! ในฐานะสมมติว่าเป็นเจ้าของบริษัท จะไม่สนใจว่าใครจะเก่งแค่ไหน จะเก่งกี่อย่าง ผมสนใจแต่ว่าทักษะแบบไหนของคน ๆ นั้น จะสร้างผลประโยชน์สูงสุดให้กับผมเท่านั้นนั่นเอง

ป.ล. นี่ถ้านายโคตรเทพมารู้ความจริงว่าความเก่ง 2 อย่างของตัวเอง แลกได้เป็นเงินเดือนแค่ 15,000 บาทเท่านั้น คงกระโดดเตะผมซึ่งเป็นเจ้าของบริษัทแบบสมมติเข้าที่กกหูซ้ายเลยนะเนี่ย 😛

Related Posts

11 thoughts on “การแข่งขันเชิงเปรียบเทียบ

  1. แสดงว่าคนไม่เก่ง แต่ขยันก็หมดหวังได้ทำงานบริษัทพี่ไท้ซิครับ ว้าแย่จัง

  2. แล้วให้นายโคตรเทพ รับทำ ๒ อย่างเลยไม่ได้เหรอ? จนกว่าจะได้ โคตรเทพคนที่ ๒..

    แล้วทีนี้ จะทำงาน สลับกันยังไงก็ได้ (หายากโคตะระ อีกนั่นล่ะ)

    อีกอย่าง มีพี่ไท้แล้วนี่.. พี่ไท้ก็ลงมือด้วย ประหยัดค่าใช้จ่าย..

  3. นั่นเป็นเหตุผลที่ข้อมูลเงินเดือน เป็นความลับไงครับ คุณ Pete

    สำหรับระบบธุรกิจ จะเก่ง ไม่เก่ง แรงงานก็เป็นเพียงเฟืองตัวนึง

  4. อันนี้ ยกตัวอย่างชัดเจนดีครับ แต่ถ้าเป็นเรื่องจริงมีสถิติความสามารถที่แท้จริงของพนักงานขณะนั้น บริษัทคงไม่ต้องปวดหัวเรื่องคน แล้วครับ 🙂

    ปล. ยังไงถ้าเป็นผมตัดใจให้เงินเดือนเท่ากันเลย (ถ้าเขายอมนะ)

  5. ผมกลับคิดอีกแบบอ่ะครับ เพราะว่าถ้าคุณจ้างคุณโคตรเทพแบบนั้นแล้ว อีกไม่กี่เดือน คุณโคตรเทพก็จะออกไป ทำงานที่อื่น แล้วคุณก็จะ end up with คุณ เทพ สองคน ซึ่งคุณต้องหาให้กลับกัน เหนื่อยกว่าเดิมอ่ะครับ

    ถ้าคุณหาคนเก่งหรือคนที่คุณอยากทำงานได้แล้วให้ผลตอบแทน(ไม่ใช่แค่เงินอย่างเดียว)ที่สมเหตุสมผลที่พอจะดึงเค้าให้อยู่กับคุณได้อ่ะครับ เพราะวันใดที่เค้าออกไปเค้าเป็นศัตรูตัวฉกาจคุณได้ทันที

  6. ให้โครตเทพ 30k ให้เทพ 15k แล้วให้โครตเทพทำ desktop เทพทำ web 🙂

    ป.ล. ผมคิดว่าเงินเดือนเป็นความลับ เพราะมันคือเรื่องที่ไม่แฟร์ที่สุดในบริษัท บริษัทเลยต้องปิดเป็นความลับ (ซะเลย)

  7. แล้วแต่มั๊งคุณ nirak แล้วแต่ที่น่ะ

    มันเป็นเงื่อนไขที่ตั้งขึ้นเพื่อให้เห็นว่าโลกนี้มันไม่ยุติธรรมครับพี่มุก

    โลกเรามันก็งี้แหล่ะคุณ crucifier

    แหงอยู่แล้ว เงินเดือนเลยเป็นความลับไงคุณ Pete

    เห็นด้วย ๆ คุณ Stamp คุณ NiNeMarK

    ไม่มีอ่ะคุณ Dominixz เงินเดือนเท่ากันบางทีก็ยังมองว่าไม่ยุติธรรมอยู่ดี

    สงสัยต้องหาแรงบันดาลใจให้ด้วยครับคุณ Tee เงินอย่างเดียวท่าจะเอาไม่อยู่แฮะ

    ใช่ ๆ คุณ xinexo อิ อิ 😛

  8. 555 คุณ Mr. PeeTai ฮาใช้ได้ครับ พยายามตอบ comment ของทุกคนเลย ถ้าเป็นผมกรณีนี้ ผมคิดเหมือนคุณ xinexo นะครับ แต่สิ่งที่จะได้มากกว่าการให้เงินเดือนคือจะมีคนเก่งมานั่งอยู่ในบริษัท ถ้าเค้าพูดรู้เรื่อง การสื่อสารไม่บกพร่อง เราจะได้ consult และพี่เลี้ยงที่ดีให้กับ นายเทพ ด้วยครับ ผมเชื่อว่าคนเราพัฒนาได้ ถ้าไม่ปิดกั้นตัวเองครับ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *