สมการสู่โปรแกรมคอมพิวเตอร์

อย่างที่พวกเรารู้กันครับว่า ซอฟต์แวร์เจ๋ง ๆ ที่พวกเราใช้กันอยู่ไม่ว่าจะเป็น Winamp, PowerDVD, Bittorent, ACDSee, Winzip, Flash หรืออะไรอีกหลาย ๆ ตัวนั้น ล้วนแต่มีกลไกการคำนวณสมการทางคณิตศาสตร์ที่สลับซับซ้อนทั้งนั้น งั้นก็แสดงว่าสมการทางคณิตศาสตร์ถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่จะทำให้ซอฟต์แวร์มันตัวเล็ก, กระทัดรัด, เร็ว, เก่ง แล้วก็ฉลาด!!!

ผมรู้จัก MatLab นะว่ามันเป็นซอฟต์แวร์สำหรับช่วยให้เราเขียนโปรแกรมคำนวนสมการทางคณิตศาสตร์ยาก ๆ ได้ แต่โดยส่วนตัวแล้วผมว่ามันน่าจะดีกว่ามั้ย ถ้ามีใครซักคนนึงที่เก่งคณิตศาสตร์แล้วก็เก่งคอมพิวเตอร์ด้วย ช่วยแต่งหนังสือขึ้นมาซักเล่มนึง

หนังสือที่ว่าก็คือ หนังสือสอนวิธีในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ให้ล้อไปกับสมการทางคณิตศาสตร์อ่ะครับ เพราะผมเชื่อนะว่ามีหลายคนที่เก่งคณิตศาสตร์ แต่ตกม้าตายเอาง่าย ๆ เมื่อต้องเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ตามสมการคณิตศาสตร์ที่ตั้งเป็นโจทย์เอาไว้

ผมมีเพื่อนหลายคนที่เป็นแบบนั้นจริง ๆ นะ พวกเขาเก่งคณิตศาสตร์มาก สามารถถอดสมการคณิตศาสตร์ได้เป็นฉาก ๆ แต่พอต้องเอาสมการดังกล่าวมาเขียนเป็นโปรแกรม กลับทำไม่ได้ เข้าใจว่าสมองมันคงจูนไม่ตรงกันมั๊ง

ส่วนผมเองก็อ่อนคณิตศาสตร์มาก ๆ เหมือนกัน ถึงแม้ผมจะเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็น แต่เพราะไม่เข้าใจความหมายหรือวิธีการของสมการ ทำให้ผมเองก็ไม่สามารถเขียนโปรแกรมเพื่อหาคำตอบให้กับสมการดังกล่าวได้

สมการทางคณิตศาสตร์

จะเห็นว่าภาพข้างบนคือตัวอย่างง่าย ๆ ของสมการ พร้อมทั้งวิธีในการเขียนโปรแกรม ซึ่งจากภาพนั้นจะทำให้คนที่ไม่เข้าใจสัญลักษณ์แปลก ๆ ทางคณิตศาสตร์ แต่มีพื้นความรู้ในการเขียนโปรแกรม สามารถทำความเข้าใจได้ว่าจริง ๆ แล้วสมการดังกล่าวหมายความว่ายังไง

สมการทางคณิตศาสตร์

โดยเฉพาะสมการจำพวกแคลคูลัสเนี่ย ถ้ายกตัวอย่างสมการจากแบบพื้น ๆ จนกระทั่งถึงแบบยาก ๆ พร้อมอธิบายด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้ยิ่งดีใหญ่

ป.ล. 1 สมการพื้น ๆ ไม่เคยกลัวครับ แต่ไอ้สมการประเภท series แถมเป็นแบบ recursion อีกต่างหาก เจอทีอยากจะวิ่งหนีเลยอ่ะครับ T-T เพราะไม่รู้จะเขียนเป็นโปรแกรมยังไงเหมือนกัน
ป.ล. 2 ผมว่าในสมการทางคณิตศาสตร์ มันยังมีสัญลักษณ์ประหลาด ๆ มากกว่านี้อีกเพียบเลยนะ ถ้าจำไม่ผิดอ่ะ

[tags]คอมพิวเตอร์, ซอฟต์แวร์, สมการ, คณิตศาสตร์, โปรแกรมคอมพิวเตอร์[/tags]

Related Posts

6 thoughts on “สมการสู่โปรแกรมคอมพิวเตอร์

  1. คนส่วนใหญ่ก็จะเก่งด้านใดด้านนึง

    จะหาคนที่เก่งหลายๆด้านพร้อมๆกันน่าจะยากอยู่

    ถ้ามีคงดี ไม่น้อย

  2. เคยเห็นหนังสือภาษาอังกฤษของอาจารย์อยู่หลายเล่มเหมือนกันที่มีเรื่องนี้อยู่ รู้สึกว่าจะใช้หลัก Numerical Method อะไรประมาณนั้น เพื่อนที่เคยเรียนวิชานี้ก็เล่าว่า พวก Differential หรือ Integrate ในแคลคูลัส นี่เขาจะใช้การประมาณเอาครับ ไม่ได้ใช้การหาตรงๆ

  3. พวกแพ็กเกจสำเร็จรูปอย่าง mathlab,maple,mathematica ผมเอาไว้ใช้แค่เช็คคำตอบครับ โค้ดแก้โจทย์จริงๆส่วนใหญ่ผมจะมองจาก http://netlib.org/ คือเค้าเขียนไว้ดีแล้วอ่ะครับ มาศึกษา (พูดง่ายๆลอก) แต่ก็มีบ้างที่ใช้โค้ดที่ถูกเขียนตั้งแต่ 1978 –”

    ส่วนสมการง่ายๆ อย่าง SUM หรือ PRODUCT ข้างบนผมใช้ intrinsic ของ compiler จะทำงานเร็วกว่าครับ (มันก็ขึ้นอยู่กับ compiler)

  4. เราน่าจะรู้วิธีการคิดเลขแบบเขียนโปรแกรมเมื่อหลายปีก่อนนะ
    เพราะจะได้สอบผ่านกะเขาเขามั่ง
    เราสอบตกวิชาเลข แคลคูลัส
    ปวดหมองกะมันมากมาย
    แต่สุดท้ายก็มาเป็นโปรแกรมเมอร์ทั้งๆที่สอบตกวิชาเลขนั่นแหละ (แต่สอบซ่อมแล้วน้า)

    พอมาเห็นบทความนี้ คิดว่าเป็นประโยชน์ต่อเด็กมหาวิทยาลัยที่โง่เลขมากๆเลย พวกเขาควรจะมาอ่านและลองทำตามนี้ดู

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *