ทีมพัฒนาซอฟต์แวร์ ก็เหมือนกับทีมงานทั่ว ๆ ไปครับ ที่ต้องใช้คนหลาย ๆ คนมาช่วยกันทำงาน ซึ่งจากประสบการณ์ที่ผมต้องเลือกใช้คนหลาย ๆ ประเภทเพื่อมาทำงานให้ผม ผมก็เลยสามารถที่จะสรุปได้ว่า คนที่เราจะเลือกมาทำงานให้เรานั้น จะมี 4 จำพวกดังต่อไปนี้
1. พวกโง่และขยัน – พวกนี้น่ากลัวมากอันตรายที่สุด เพราะไม่เคยจะทำอะไรที่ฉลาด ๆ เลย แถมขยันทำซะด้วย ทำเกินกว่าที่สั่งอีกต่างหาก ดังนั้นเมื่อสร้างความเสียหายแล้ว ยังสามารถทำให้ความเสียหายนั้นขยายใหญ่โตออกไปได้อีก
2. พวกฉลาดและขยัน – พวกนี้น่ากลัวรองลงมา เพราะจะทำให้ทีมงานเป็นทีมงานไม่ได้ ทีมงานจะรวน เนื่องจากเห็นว่าตนเองฉลาด ก็เลยจะทำตามความพึงพอใจของตนเอง เห็นว่าสิ่งที่ตนเองทำนั้นดีที่สุด ยิ่งเอาคนจำพวกนี้มารวมกันเป็นทีมอ่ะนะ กระจุย ขอบอก!!!
3. พวกโง่และขี้เกียจ – พวกนี้ไม่น่ากลัวแต่น่ารำคาญ คนพวกนี้จะโง่ในเรื่องงานของตน แต่จะไม่โง่ในเรื่องการสืบข่าวคราวต่าง ๆ ผมก็เลยใช้คนพวกนี้หาข่าวให้ผมแทน
4. พวกฉลาดและขี้เกียจ – พวกนี้น่ากลัวน้อยที่สุด ผมชอบใช้คนพวกนี้ให้ทำงานให้มากเลยนะ เพราะพวกนี้ขี้เกียจไม่ยอมทำงานเท่าไหร่ ดังนั้นพวกเขาจึงใช้ความฉลาดของตัวเอง คิดหาหนทางที่จะใช้คนอื่นทำงานให้ตัวเองอีกทอดนึงตามวิธีการที่เขากำหนดเอาไว้ ผมก็เลยมักใช้คนจำพวกนี้ให้ไปใช้คนประเภทที่ 1 และที่ 2 อีกทอดนึง
เวลาจะตามงาน ผมก็จะมาตามจากคนจำพวกที่ 4 เนี่ยแหล่ะ เพราะในเมื่อขี้เกียจไม่ยอมทำงาน แล้วให้คนอื่นทำงานให้ ดังนั้น “ความรับผิดชอบ” มันก็ต้องแปรผกผันกับจำนวนงานที่ต้องลงมือทำ หรือพูดง่าย ๆ ก็คือลงมือทำน้อย ก็ต้องรับผิดชอบมากนั่นเอง
[tags]การจัดการ, ฉลาด, โง่, ขยัน, ขี้เกียจ[/tags]
แต่ก็ไม่แน่นะครับ ที่คนฉลาดและขี้เกียจ จะมีความรับผิดชอบสูง เท่าที่ผมเคยเจอ ฉลาดขี้เกียจจะเป็นพวกพูดมากหรือก็ไม่พูดเลย เพื่อปกป้องขอบเขตส่วนตัวของตนเองซะมากกว่าครับ มันไม่ค่อย balance สักเท่าไร
ถ้าเป็นผมใช้คน ผมจะใช้คนที่วางใจได้ครับ ไม่ว่าเค้าจะขี้เกียจหรือโง่ ถ้ามีคุณธรรมจริยะธรรมสูงเป็นอันใช้ได้ครับ
คุยเรื่องจริยธรรมแล้วทำให้นึกอะไรขึ้นมาได้ล่ะคุณ TheInk … ในรัฐธรรมนูญก็มีระบุเรื่องจริยธรรมด้วยอ่ะ แล้วต่อไปเราต้องมีพระราชบัญญัติจริยธรรมแห่งชาติด้วยป่ะเนี่ย T-T ปฏิบัติยากน่าดูเลยแฮะ
แต่ผมชอบคนที่ฉลาด ขยัน และ ทำงานเป็นอ่ะครับ 🙂 ยิ่งมีคนแบบนี้ในบริษัท บริษัทยิ่งเจริญ คนทั้งสี่จำพวกที่กล่าวมานี่ไม่อยากยุ่งด้วยเลย – -“
ไม่ดีเหรอครับพี่ไท้ ถ้ามีีพระราชบัญญัตแบบนั้นจริงๆ เราอาจจะไม่ต้องไปทำงานวันพระก็ได้
ผมก็ชอบครับคุณ xinexo แต่คนสมบูรณ์แบบ ๆ นั้น มันหายากจริง ๆ นะคุณ xinexo
555 เกี่ยวไรกับเรื่องไม่ต้องไปทำงานวันพระเนี่ยคุณ memtest
พวกฉลาดแต่ขี้เกียจนี่เหมาะกับงานบริหารจัดการ เพราะยืนดูเฉยๆ ถ้าไม่จำเป็นก็จะไม่ลงมือทำ สั่งอย่างเดียว
สงสัยผมจะเข้าข่ายเป็นคนในข้อที่ 2 นะ อยู่ที่ไหนหัวหน้ากระจุยยยย (ฮา)
เป็นประมาณประเภทที่สามอ่ะแหละ
เรื่องความขี้เกยจ ไม่เป็นรองใคร อิอิ
การมีคนหลายแบบอยู่ในทีมก็เป็นเรื่องที่ดี เพราะมันเสริมข้อเด่นข้อด้อยกันได้ ถ้าเป็นผม ผมจะยกระดับโง่แต่ขยันให้ขึ้นมาอยู่ที่ 3 เพราะคิดว่างานบางอย่างมันก็เหมาะกับคนแบบนี้ กำกับมากขึ้นนิด ให้รายละเอียดมากขึ้นหน่อย ตามงานอยู่เป็นระยะ ก็น่าจะสามารถใช้คนประเภทนี้ให้เป็นประโยชน์ได้มากขึ้นนะครับ ผมว่า
แต่ต้องระวังอย่างนึงคือ โลกความจริงผมว่า คนเรามักขี้เกียจในสันดาน และคิดว่าตัวเองฉลาดกว่าใคร … คนประเภทนี้ต้องมองให้ออก …
555 ผมเป็นพวกที่ 3 เหมือนคุณ iPAtS เลยครับคุณ noom ก็มันขี้เกียจนี่นา แล้วเรื่องที่เราถูกมอบหมายให้ทำ เราก็โง่ด้วย ไม่รู้อะไรเลยจริง ๆ เราก็ต้องใช้คนอื่นอ่ะดิ อิ อิ
ชอบที่คุณ panuta บอกเรื่องโลกความจริงครับ อือม มันจริง ๆ จริงด้วยแหล่ะ แต่ตั้งแต่ผมต้องร่วมงานกับคนระดับดอกเตอร์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์, รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์นะ ทำให้ผมรู้ว่า … ผมไปฝึก EQ แทนฝึก IQ ดีกว่า เอิ๊ก ๆ
ฉันว่าคนเรามันแบ่งไม่ได้ลงล็อคเป๊ะๆแบบนั้นน่ะค่ะ
ถ้าจัดตัวฉันเองลงก็ไม่แน่ใจเหมือนกัน
ฉลาดบ้าง โง่บ้าง ขยันบ้าง ขี้เกียจบ้าง
ไม่ได้มีจริยธรรมสูงส่ง คุณธรรมก็พอมีมั้ง
โดยส่วนตัวเอียนคำว่าจริยธรรมคุณธรรม ฟังแล้วรู้สึกหยึยๆ เพราะเอาไปผูกกับคนที่เขาบอกว่าเขามีแล้ว แต่ฉันมองไม่ออกว่าเขาต่างจากคนอื่นๆตรงไหน (ความเห็นส่วนตัว)
ผมจำได้ว่ามันอยู่ในหนังสือเล่มอะไรสักอย่างน้า ผมเคยอ่านอยู่
ผมว่าเขาสรุปมาได้ดีมากๆโดยเฉพาะ ขยันและโง่เป็นอันตรายจริงๆนะครับ
เคยได้ยินว่า “ฮิตเลอร์” เป็นผู้จำแนกคนสี่ประเภทนี้ แต่ไม่ยืนยันนะครับ
ขอเพิ่มข้อ 5.
คนทำงานมี 5 ประเภท
1. คนโง่และขยัน 2. คนฉลาดและขยัน 3. คนโง่และขี้เกียจ 4. คนฉลาดและขี้เกียจ และที่มีมากสุดคือ 5. คนโง่ที่นึกว่าตัวเองฉลาดและขี้เกียจ
ข้อ 5 นี่นะสิที่ทำให้บริษัทคุณล่มจม