ครั้งแรกที่ผมได้ยินชื่อ “ชวเลข” ผมเข้าใจว่ามันเป็นวิชานึงในแขนงคณิตศาสตร์ครับ เพราะเห็นว่ามันมีคำว่าเลขบรรจุอยู่ในชื่อวิชา แต่ภายหลังจากที่ต้องลงทะเบียนเรียนวิชานี้ ผมถึงได้รู้ว่ามันไม่ใช่คณิตศาสตร์ว่ะ (3 หน่วยกิตแน่ะวิชานี้)
ชวเลขเป็นวิชาหายากซึ่งไม่ค่อยเหมาะกับยุคสมัยนี้ซักเท่าไหร่ มันถูกบรรจุอยู่ในหลักสูตรของสถาบันการศึกษาที่เปิดสอนทางพาณิชยกรรม และเป็นวิชาเลือกในคณะนิเทศศาสตร์หรือวารสารศาสตร์
ที่บอกว่ามันไม่เหมาะกับยุคสมัยนี้ก็เพราะว่า ชวเลขเป็นวิชาที่ออกแบบมาสำหรับจดเร็ว ๆ ครับ เพราะสมัยก่อนไม่มีเครื่องบันทึกเสียงแบบ mp3 ดังนั้นวิชานี้จึงเป็นวิชาเขียนสัญลักษณ์ ต้องอาศัยทักษะในการปฏิบัติพอสมควร เหมือนกับการฝึกหัดพิมพ์ดีดบนแป้นพิมพ์ยังไงอย่างนั้นเลย
ออกตัวไว้ก่อนเลยว่าผมเคยเรียนมาก็จริง แต่ก็คืนวิชาให้อาจารย์ไปแล้วเหมือนกัน เพราะไม่เคยเอามาใช้จริงเลย แต่ก็พอจะอธิบายได้จากความทรงจำว่ามันมีกฎง่าย ๆ อยู่ 3 ข้อครับ
- พยัญชนะไทยจะถูกแทนที่ด้วยการขีดแบบง่าย ๆ จะขีดนอน, ขีดตั้ง, ขีดเฉียง หรือขีดโค้งอะไรก็สุดแล้วแต่
- สระจะถูกแทนที่ด้วยตำแหน่งของการขีด เช่นขีดเหนือบรรทัดก็สระชุดนึง, ขีดคร่อมบรรทัดก็สระอีกแบบนึง และขีดใต้บรรทัดก็อีกสระนึง
- วรรณยุกต์ไม่มีครับ ออกแนวภาษาอังกฤษเลย คือพอเขียนแล้วก็ไม่ต้องสนเรื่องวรรณยุกต์ แต่ตอนอ่านต้องใช้ทักษะเดาเอาเอง ว่าไอ้ขีดแบบเนี้ยแล้วอยู่ตำแหน่งตรงเนี้ย เทียบแล้วมันน่าจะเป็นคำว่าอะไรมีวรรณยุกต์ยังไง แบบนั้น!!!
ผมไม่เขียนตัวอย่างให้ดูนะ … เพราะผมลืมไปแล้ว อิ อิ ^-^
ประเด็นที่จะโม้ก็คือมันเป็นวิชาที่เสื่อมไปมาก มีน้อยคนที่จะได้เรียนมัน และถึงแม้จะได้เรียนมันแล้วก็ใช่ว่าจะได้ใช้มันซะเมื่อไหร่ ของหายากแบบนี้ก็เลยน่าจะเอามาทำเป็นหัวข้อทางคอมพิวเตอร์ได้ไม่ว่าจะเป็น … การแปลงชวเลขให้กลายเป็นข้อความ, การแปลงข้อความให้กลายเป็นชวเลข และการบีบอัดข้อความโดยชวเลข
โดยเฉพาะการบีบอัดข้อความโดยชวเลขนั้นน่าสนใจมาก เพราะอย่างที่พวกเรารู้ ๆ กันอยู่ ว่าโดยปรกติแล้วการบีบอัดข้อมูลนั้น เมื่อบีบอัดแล้วมันแทบไม่เหลือสภาพเดิมเลย ใช้การอะไรก็ไม่ได้ ต้องเอามาคลายก่อนถึงจะใช้งานได้
ผมเห็นเทคโนโลยีเพื่อการบีบอัดรูปภาพ เพื่อการบีบอัดวีดีโอก็เยอะนะ พวกนั้นบีบอัดแล้วก็ยังคงสภาพให้ใช้งานได้ แถมใช้เนื้อที่ในการจัดเก็บก็ไม่มากด้วย แต่การบีบอัดข้อความแล้วยังคงสภาพให้ใช้งานได้ (อ่านออก) นี่แทบไม่มีคนทำเลยแฮะ
แต่โดยสรุปแล้ว ชวเลขนี่มันเขียนยาก แล้วก็อ่านโคตรยากจริง ๆ นะ สิบอกให้ ^-^
[tags]คอมพิวเตอร์,ซอฟต์แวร์,สมมติฐาน,ชวเลข[/tags]
คนที่อ่านได้ก็เหมือนได้ burn ตัว decode เข้าไปในสมองแล้วครับ อย่างผมอ่านไม่ได้คงต้อง burn software สำหรับ decode ลงหัวครับ
พวกภาษาวิบัติของเด็กสมัยนี้นับมะพี่ไท้
แปลงภาษาวิบัติเป็นภาษาไทย
แปลงภาษาไทยเป็นภาษาวิบัติ
อิอิ
เออ ใช่จริง ๆ ด้วยแฮะคุณ ice
อ๋า คุณ 7 แซวผม ^-^
ถ้าพูดในแง่ของการย่ออินพุต (อทำให้ใส่ข้อมูลได้สะดวกขึ้น สั้นขึ้น)
พอจะทำให้นึกถึงพวก Graffiti ของ Palm อ่ะครับ
อีกประเภทที่เหมือนเคยเห็นคือโปรแกรมประมาณว่าขีดๆ ไปบนหน้าจอ คล้ายๆ อ่านลายมือ
แต่แทนที่จะเป็นลายมือธรรมดา (ที่เขียนเป็นตัวนึง แต่ดันแปลไปเป็นอีกตัว – -“)
ก็เป็นการใช้ชวเลขแทน เหมาะสำหรับพวก tablet pc หรือ pocket pc
อีกอย่างที่คล้ายชวเลขในแง่การเดาๆ อินพุตที่แทจริงก็คือ ระบบ T9 ของมือถือครับ
เช่นผมกดว่า 880840 ก็สามาถแปลได้ว่า “สวัสดี” (เครื่อง SE) ซึ่งมันอาจจะเป็นคำอื่นก็ได้
คือคล้ายๆ ชวเลข แต่เปลี่ยนจากท่คนอ่านต้องเดา เป็นโปรแกรมในโทรศัพท์ต้องเดา
ส่วนการบีบอัดข้อความ.. เข้าใจว่าหมายถึงพวกบีบอัดข้อความในหนังสืออะไรประมาณนี้หรือเปล่าครับ
ถ้าใช่ มันก็มีการศึกษากันอยู่นะครับก็เหมือนบีบอัดรูปภาพ เพียงแต่ส่วนใหญ่มันจะเป็น lossless ยังไม่เคยเห็นคนใช้ lossy มาบีบอัดข้อความ แต่ถ้าทำได้ ก็คงจะไม่กล้าใช้กัน เพราะไม่ามารถรับประกันได้ว่า output = input
อ้อลืมไป.. แถมนิดนึง
มันมีหลักเกี่ยวกับการบีบอัด (lossless) อยู่ว่า ไม่มีอัลกอไหนที่สามารถบีบอัดข้อความให้เล็กลงได้ทุกข้อความ
ก็คือ จะต้องมีอย่างน้อยซักข้อความนึง ที่ซึ่งเมื่อใส่เข้าไปในอัลกอนี้แล้ว จะมีเอาท์พุตขนาดใหญ่กว่าอินพุต (พิสูจน์ได้โดย pigeonhole)
การจะเขียนชวเลขให้เก่งนั้นต้องฝึกคัดอย่างสม่ำเสมอ+ความจำ ตอนนี้ชวเลขมีใช้อยู่ที่รัฐสภา ชื่อ สำนักรายงานการประชุมและชวเลข เป็นหน่วยงานที่มีภารกิจด้านการจดและจัดทำรายงานการประชุมสภา (การอภิปรายทุกถ้อยคำ
ของ ส.ส. และ ส.ว.) มีเจ้าหน้าที่ชวเลขประมาณ 90 คน แม้ว่าเทคโนโลยีจะทันสมัย แต่ในรัฐสภายังมีความจำเป็นที่ต้องใช้เจ้าหน้าที่ชวเลขอยู่ กรณีเครื่องบันทึกเสียงหรือไมโครโฟนขัดข้อง คำอภิปรายเหล่านั้นก็ไม่ขัดข้องสูญหายไปด้วย เพราะเจ้าหน้าที่ชวเลขสามารถบันทึกทุกคำพูดไว้ได้ แต่สำนักก็ได้มีการพัฒนาโดยนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาสนับสนุนการจัดทำรายงานการประชุมให้เร็วขึ้นอยู่เสมอ