ผมเคยผ่านโครงการพัฒนาซอฟต์แวร์ระดับใหญ่มาหลายโครงการครับ ทุกโครงการจะเหมือน ๆ กันนั่นก็คือ นายทุนจะกำหนดงบประมาณไว้ใหญ่โตสำหรับสร้างโครงการขึ้นมา เพื่อจะทุ่มเทกำลังคนสำหรับออกแบบและจัดสร้างซอฟต์แวร์ในอย่างที่ระดับนโยบายต้องการ
แต่นายทุนมักไม่ตั้งงบประมาณสำหรับการดูแลซอฟต์แวร์เหล่านั้น ภายหลังจากที่ซอฟต์แวร์เหล่านั้นเริ่มเดินเครื่องใช้งานแล้ว!!!
ต้องอย่าลืมว่ายังมีต้นทุนในการเปลี่ยนแปลง, แก้ความผิดพลาด และ สร้างข้อมูลเพิ่มเติมให้ทันสมัย รออยู่ในอนาคต ซึ่งต้นทุนเหล่านี้ต้องใช้งบประมาณเพื่อจัดหาคนมาดูแลเอาใจใส่ เพราะคนคือกุญแจสำคัญในการดูแลซอฟต์แวร์ระดับใหญ่โตเหล่านั้น
ดังนั้นในหลาย ๆ ครั้งเราจึงมักจะพบกับเรื่องตลกร้าย นั่นก็คือเมื่อซอฟต์แวร์ระดับใหญ่ถูกสร้างด้วยคนเกือบร้อยคนสำเร็จแล้ว เรากลับพบว่า่ภายหลังมันดันถูกส่งมอบให้คนไม่ถึงสิบคนดูแลซะนี่!!!
จึงเกิดคำถามง่าย ๆ ขึ้นมาว่า แล้วคนไม่ถึงสิบคนจะดูแลซอฟต์แวร์ระดับใหญ่ ซึ่งถูกสร้างด้วยคนเกือบร้อยคนได้ยังไง???
งั้นเพื่อหาคำตอบนี้ ผมก็เลยคิดว่าผมน่าจะลองสร้าง “อัตราส่วนเพื่อการดูแลซอฟต์แวร์” เล่น ๆ ขึ้นมาดูดีกว่า เผื่อมันจะเป็นความจริงขึ้นมาบ้าง
ถ้า “งบประมาณในการสร้างซอฟต์แวร์ทั้งหมด” และ “อัตราส่วนเพื่อการดูแลซอฟต์แวร์” เป็นสิ่งคงที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ เนื่องจากมันเป็นสิ่งที่ถูกกำหนดโดยลักษณะของซอฟต์แวร์ดังกล่าว งั้นก็หมายความว่า “งบประมาณในการดูแลซอฟต์แวร์ (ต่อปี)” จึงเป็นเพียงสิ่งเดียวที่สามารถจะเปลี่ยนแปลงได้อ่ะดิ???
สำหรับนายทุนแล้ว “อัตราส่วนเพื่อการดูแลซอฟต์แวร์” ยิ่งมีค่ามากก็ยิ่งดี … แต่บางครั้งนายทุนก็ไม่ฉลาดซักเท่าไหร่ เพราะดันแทนค่าศูนย์ใน “งบประมาณในการดูแลซอฟต์แวร์ (ต่อปี)”
…นายทุนคงตกเลขอ่ะครับ เลยไม่รู้ว่าการหารตัวเลขด้วยศูนย์อ่ะนะ … มันจะทำให้ได้คำตอบซะที่ไหนกันเล่า ป้าดโธ่!!!
[tags]อัตราส่วน,งบประมาณ,คอมพิวเตอร์,ซอฟต์แวร์,สมมติฐาน,การจัดการ[/tags]