คอมพิวเตอร์ใบ้หวย ทายหวย ให้เลขเด็ด

ผมเคยได้ฟังผู้ร่วมงานท่านหนึ่งบอกว่า การให้รางวัลชีวิตอย่างนึงของเขานั้นก็คือการ “ซื้อหวย” ผมฟังแล้วก็ได้แต่งง ๆ ว่ามันเป็นการให้รางวัลชีวิตยังไงหว่า แต่ก็ไม่ได้ใส่ใจอะไรเพราะตัวผมเองก็ไม่เคยซื้อหวยอยู่แล้ว ผมซื้อแต่หุ้นอ่ะ ไม่รู้มันจะเหมือน ๆ กันหรือเปล่า?

คนไทยสงสัยจะชอบเล่นหวย จริง ๆ แล้วผมก็เห็นว่ามันเป็นการพนันอย่างนึงนะ เพียงแต่รัฐบาลกำหนดให้มันเป็นการพนันอันแสนคลาสสิคที่ถูกกฎหมายเท่านั้นเอง!!!

ไหนเรามาลองดูกันซิว่าถ้าเราถูกรางวัลที่ 1 ซึ่งเป็นรางวัลที่มีเพียงรางวัลเดียวเท่านั้น เราจะได้รับเงินรางวัลเป็นเท่าไหร่

รางวัลที่ 1 ประจำงวด 1 มิถุนายน พ.ศ. 2551

จะเห็นว่าจำนวนเงินรางวัลไม่น้อยเลยทีเดียว สามารถเอาไปดาว์นบ้านได้สบาย ๆ เลย แต่ก่อนที่เราจะไปคิดถึงเรื่องนั้น เราลองมาใช้คณิตศาสตร์แขนงความน่าจะเป็น ลองคำนวณดูความเป็นไปได้ที่เราจะถูกรางวัลดีมั้ย ว่าถ้าเราซื้อหวยแล้วจะมีโอกาสถูกรางวัลที่ 1 เป็นเท่าไหร่?

การคำนวณก็ไม่ยากนัก โดยเราจะกำหนดว่าในแต่ล่ะหลัก จะมีโอกาสออกเลขได้ตั้งแต่ 0 ถึง 9 ซึ่งแสดงว่าในหนึ่งหลักจะมีความน่าจะเป็น 10 กรณีที่จะออกเลขออกมา ทีนี้มันมีทั้งหมด 6 หลัก งั้นก็ต้องเอา 10 คูณกัน 6 ครั้ง หรือก็คือ 10 ยกกำลัง 6 นั่นเอง ซึ่งค่าที่ได้ก็ไม่มากเท่าไหร่นักแค่ 1,000,000 กรณีเท่านั้น

แสดงว่าในหนึ่งงวด หากในตลาดใกล้บ้านของเรา มีหวยรัฐบาลขายครบทุกหมายเลข เราก็จะมีโอกาส 1 ใน 1,000,000 ที่จะซื้อแล้วถูกรางวัลที่ 1 ซึ่งเรามีโอกาสง่ายมากที่จะถูก … เหรอ?

ผมเคยเห็นเว็บไซต์แห่งหนึ่ง แต่จำไม่ได้แล้วว่าเป็นเว็บอะไร ผมตื่นตะลึงกับข้อมูลที่เขามีนิดหน่อย เพราะเขาเก็บผลการออกหวยแทบทุกงวดเอาไว้ จนผมคิดว่าแม้แต่กองสลากเองยังไม่น่าจะมีข้อมูลละเอียดเท่าเขาเลยมั๊ง!!!

ในแง่ของวิชาความน่าจะเป็นนั้น วัตถุดิบชั้นเลิศเพื่อใช้ในการคำนวณและตัดสินใจ ไม่มีอะไรจะดีไปกว่าข้อมูลสถิติที่ละเอียดยิบอีกแล้ว ดังนั้น ผลการออกรางวัลที่ 1 ทุกงวด จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการใบ้หวยในครั้งนี้

เท่าที่ผมเคยทราบแต่ไม่มีหลักฐานจะยืนยันนั่นก็คือ การคำนวณเลขเด็ดจะใช้ปัจจัย 2 อย่างในการคำนวณ อันได้แก่

1. ความถี่ของหมายเลขที่จะออกซ้ำในแต่ล่ะหลัก ของแต่ล่ะงวด ยกตัวอย่างเช่น สามงวดก่อนก็ออกเลข 2 ที่หลักที่ 2 มาคราวนี้ก็ออกเลข 2 ที่หลักที่ 2 อีกแล้ว เป็นต้น

2. ความถี่ของหมายเลขที่จะออกซ้ำ ของแต่ล่ะงวด ยกตัวอย่างเช่น สี่งวดก่อนก็มีเลข 5 ในเลขรางวัล, สองงวดก่อนก็มีเลข 5 ในเลขรางวัล แถมมีถึง 2 ตัวด้วย และงวดนี้ก็มีเลข 5 ในเลขรางวัลอีก เป็นต้น

ซึ่งในแง่ที่ผมเป็นคนที่เขียนซอฟต์แวร์เป็น และรู้อัลกอริทึมในทางคอมพิวเตอร์ ผมก็ย่อมจะตั้งสมมติฐานได้ว่า ผมสามารถที่จะใช้สถิติที่มี รวมทั้งสมมติฐาน 2 ข้อดังกล่าวข้างต้น มาคำนวณเป็นสมการทางคณิตศาสตร์ โดยใช้ทฤษฎีทางสถิติต่าง ๆ เข้ามาช่วย เพื่อหาความน่าจะเป็นให้กับตัวเลข 6 หลักของรางวัลที่ 1 ในงวดต่อไปได้ … เหรอ?

ผมจำได้นะ ผมเคยอ่านเจอในเว็บว่ามีคนคิดจะทำให้คอมพิวเตอร์ใบ้หวยได้ แต่สงสัยเป็นเพราะเขาเก่งแต่เขียนโปรแกรม แต่ว่าไม่รู้พวกทฤษฎีคณิตศาสตร์และสถิติชั้นสูงมั๊ง มันก็เลยกลายเป็นสิ่งลม ๆ แล้ง ๆ ไป

รางวัลเลขท้าย 3 ตัว ประจำงวด 1 มิถุนายน พ.ศ. 2551

ถ้าใครทำให้คอมพิวเตอร์ใบ้หวยได้ คน ๆ นั้นคงจะเก่งน่าดูเลยแฮะ ว่ามั้ย?

[tags]คอมพิวเตอร์,ใบ้หวย,ทายหวย,ให้เลขเด็ด,สมมติฐาน[/tags]

Related Posts

12 thoughts on “คอมพิวเตอร์ใบ้หวย ทายหวย ให้เลขเด็ด

  1. หนังสือชื่อโอกาสและความน่าจะเป็นของคุณนรินทร์ก็มีเขียนเรื่องโอกาสถูกหวยไว้ครับ

  2. โอ๊ะโอ ผมไม่ยักเคยอ่านหัวข้อนี้ของคุณ mk เลยแฮะคุณ sugree ง่ะ เขียนไปก่อนตั้งเป็นปี ๆ เลยเหรอเนี่ย T-T

    ผมซื้อหนังสือท่านสุมาอี้แค่สองเล่มเองครับคุณอภิศิลป์ เล่มแรกก็ทฤษฎีเกมส์ ส่วนเล่มสองก็ … จำชื่อไม่ได้แล้วอ่ะ หน้าปกเป็นตัวการ์ตูนน่ารัก ๆ สู้รบกันอยู่

  3. ถ้าพูดให้ละเอียดกว่านั้นคือ หวยออก มันเป็น Markov Process อ่ะครับ
    นั่นคือหวยที่จะออกมาคราวหน้า ไม่ได้ขึ้นอยู่กับหวยที่จะออกคราวที่แล้ว ๆ

    http://en.wikipedia.org/wiki/Markov_process

    ส่วนที่พี่ไท้จะทำคือการ estimate pdf http://en.wikipedia.org/wiki/Probability_density_function
    จากข้อมูลเก่า

    ถ้าจะคิดจริง ๆ แบบมีความหมาย ไม่ใช่ดูแบบแค่เอาข้อมูล แบบอันไหนออกเยอะ สุด อะไรแบบนี้ แต่ดูว่าถ้าดูตามข้อมูลที่ให้มาแล้วโอกาสถูกเท่าไหร่

    ก็ดูว่ามัน model ได้ด้วย multinomial distribution
    http://en.wikipedia.org/wiki/Multinomial_distribution

    ถ้าถามว่าแทงตัวไหนดี และความน่าจะเป็น assuming induction ว่าเราจะถูกมีเท่าไหร่ ก็หา p_i ด้วยการประมาณแบบ ดูออก 100 ครั้ง ล่าสุด ออกมาแล้วกี่ครั้ง นั่นคือความน่าจะเป็นเป็น percent ที่มันจะออกครั้งนี้

    ถ้าถามว่า มันไม่ใช่ flat distribution ขนาดไหน ดูที่ chi^2/degree of freedom แบบง่าย ๆ แบบนี้อ่ะครับ

    สมมติว่า ดูเลขท้ายสองตัว มี 100 แบบ สมมติว่าดูหวยออกมา500ครั้ง
    ถ้าเดาว่า p ของแต่ละเลขมันเท่ากัน
    variance ก็จะเท่ากับ 500*1/100*99/100 หรือ sd ก็ประมาณ 2 เศษ ๆ

    คราวนี้ก็ รวมว่า จำนวนหวยแต่ละเลขเนี่ยห่างจาก 5 (mean) กี่ sd กำลัง 2 บวกกัน แล้วหาร 100(100 degree of freedom) อ่ะครับ

    ถ้ามันมากกว่า 1 มากมาก ก็แปลว่า มันไม่ flat

  4. แต่ผมว่า ถ้าคนรู้สถิติชั้นสูงแล้ว ก็คงรู้สึกผิดอ่ะครับ ถ้าจะเขียนโปรแกรมมาหลอกชาวบ้าน อ่ะครับ เพราะว่า expected return(current value) มันน้อยกว่าราคาหวยมหาศาล

    เช่นเลขท้ายสองตัว หวยใบละ 40(ป่ะ) โอกาศถูก ประมาณ 1/100 จ่าย 500(คุ้นๆ) อย่างนึงคือ ซื้อ ของที่ expected return หรือมูลค่าจริง ประมาณ 5 บาทด้วยตังค์ 40 บาทนั่นเอง

    สิ่งที่กองสลากควรทำคือเขียนให้ชัดเจนเลยครับว่า โอกาศถูกแต่ละรางวัลเท่าไหร่ รวมแล้ว expected return เท่าไหร่

  5. โห math แข็งโป๊กเลยครับคุณ tee ไม่น่าแปลกใจเลยครับที่นักฟิสิกส์จะเก่งคณิตศาสตร์มากกว่านักคณิตศาสตร์ซะอีก นับถือ นับถือ

  6. เขียนด้วยความเชื่อสิครับ. แหกหลักการทั้งหมด บางที่อธิบายด้วยหลักการไม่ได้ครับ คุณเคยฝันใหมครับใช้หลักการเดียวกันแหละคับ ผมกำลังลองทำอยู่สำเร็จเดี๋ยวมาบอก

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *