ดูเหมือนระบบเงินตราเสริมจะยังพัฒนาได้ไม่ดีนัก ผมคิดว่าคงต้องอีกหลายสิบปีกว่าจะพัฒนาได้ ดังนั้นคนส่วนใหญ่ก็เลยยังคงขวนขวายหาเงินตราประจำชาติมาใช้สอยอยู่เหมือนเดิม
หลายวันก่อนอดีตผู้ถือหุ้นใหญ่บริษัทผลิตชาเขียว ซึ่งปัจจุบันรับจ้างเป็นผู้บริหารเพียงอย่างเดียว ได้มาบรรยายให้องค์กรที่ผมทำงานฟัง ในหัวข้อเกี่ยวกับการเอาตัวรอดในวิกฤตเศรษฐกิจ ผมฟังแล้วชอบอยู่ประโยคนึง …
…ผมซื้อที่ดินแถวเพลินจิตมาราคาพันล้าน แล้วก็เอาโฉนดโยนเก็บใส่ลิ้นชักไว้เลย 2 ปี พอผ่านไป 2 ปี ผมก็เอาไปขายได้มาสี่พันล้าน กำไรตั้งสามพันล้านแน่ะ…
ชอบจังเลยประโยคนี้ 😛
สิ่งที่เขาเล่าให้พวกเราฟัง มันฟังดูคล้ายกับการลงทุนก็จริง แต่จริง ๆ แล้วมันก็มีส่วนของการเก็งกำไรอยู่เหมือนกัน!
การเก็งกำไรก็คือการที่เราคาดการณ์มูลค่าในอนาคตของสินทรัพย์ โดยคาดการณ์ว่ามันจะมีมูลค่ามากกว่าเดิมเป็นแน่แท้ และในขณะปัจจุบันนั้น มูลค่าของมันยังคงต่ำกว่าหรือเท่ากับมูลค่าที่มันเป็นจริงอยู่
ในโลกนี้มีสินทรัพย์ให้เก็งกำไรได้หลายอย่าง แม้กระทั่งองค์จตุคามรามเทพเราก็ยังเอามาเก็งกำไรกันได้ นับประสาอะไรหากเราคิดจะเอาเว็บไซต์มาเก็งกำไรบ้าง?
หากว่าเราจะเอาเว็บไซต์มาเป็นสินทรัพย์เพื่อการเก็งกำไร เราก็ต้องตอบโจทย์ให้ได้ก่อนว่าเว็บไซต์มันมีมูลค่าตรงไหน และมีมูลค่าเป็นเท่าไหร่?
อือม สำหรับผมนะ ผมว่าเว็บไซต์มันมีมูลค่าเพราะมันประกอบด้วยสิ่งสำคัญเพียงแค่ 2 อย่างเท่านั้น นั่นก็คือ เจ้าของ และ เอกลักษณ์
มองในแง่มูลค่าของเว็บไซต์เกิดจากเจ้าของ
เว็บไซต์บางเว็บมูลค่าไม่ได้ลดลงเลย เมื่อมีการเปลี่ยนเจ้าของ เช่น เว็บไซต์ e-commerce อย่าง WeLoveShopping.com ซึ่งเปลี่ยนจากเจ้าของเดิม มาเป็นเจ้าของใหม่อย่างกลุ่ม True
ในขณะที่บางเว็บไซต์มูลค่าจะลดลงทันที เมื่อมีการเปลี่ยนเจ้าของ ยกตัวอย่างเช่น บล็อกของ Fringer, หรือบล็อกของ iannnnn !!!
มองในแง่มูลค่าของเว็บไซต์เกิดจากเอกลักษณ์
ผมยังไม่เคยเห็นมีเว็บไซต์ไหนพลิกเอกลักษณ์ของตนเองแบบ 180 องศานะ เคยเห็นแต่เพิ่มพูนเอกลักษณ์ของเว็บไซต์ตนเองให้แหลมคมยิ่งขึ้น กว้างขวางยิ่งขึ้น หรือตอกย้ำให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ยกตัวอย่างเช่น Duocore.tv นอกจากจะเป็นเว็บไซต์เสนอคลิปรายการไอทีแล้ว ก็ยังเพิ่มพูนโดยการทำเว็บไซต์ให้เป็น social networking อีกต่อหนึ่ง โดยไม่ได้ละทิ้งเอกลักษณ์เดิมไป
ดังนั้นผมคิดว่าพวกเราคงจะไม่แปลกใจอะไร หากอยู่ ๆ เว็บไซต์อย่าง Palungjit.com จะมูลค่าลดลงอย่างฮวบฮาบ เพราะเปลี่ยนเอกลักษณ์ของตัวเองไปเป็นเว็บไซต์แบบ Tarad.com แทน
หรือหากโดเมนของเว็บไซต์ Sanook.com โดนขโมยไป จนทำให้ต้องย้ายเนื้อหาไปไว้ที่โดเมนอื่นเช่น Janook.com แทน ก็รับรองได้ว่ามูลค่าของเว็บไซต์ ต้องลดลงอย่างไม่ต้องสงสัยแน่นอน
ตอบโจทย์
การจะเก็งกำไรเว็บไซต์จึงมีจุดสำคัญอยู่ที่ … มูลค่าของมันต้องไม่ลดลงหากเปลี่ยนเจ้าของ และที่สำคัญมูลค่าของเว็บไซต์ห้ามยึดโยงอยู่กับเจ้าของเป็นอันขาด เพราะกิจกรรมในการเก็งกำไรมันต้องเปลี่ยนเจ้าของถึงจะสัมฤทธิ์ผลได้
ดังนั้นเราต้องผลักมูลค่าของเว็บไซต์ให้ไปอยู่ที่เอกลักษณ์ ให้เอกลักษณ์ของเว็บไซต์เป็นตัวยึดโยงเพื่อสร้างมูลค่าให้กับเว็บไซต์ดังกล่าวแทน ยิ่งมีคนรู้ว่าใครเป็นเจ้าของเว็บไซต์ดังกล่าวน้อยเท่าไหร่ยิ่งดี!!!
สรุปการนำเสนอ
การเก็งกำไรมันจะไร้ค่ามาก ๆ หากไม่มีพื้นที่ให้ผู้ที่สนใจเข้ามาร่วมชุมนุมกันได้ ดังนั้นผมก็เลยคิดว่ามันคงจะไม่เป็นการเพ้อเจ้อเกินไปนัก หากจะมีการสร้างแหล่งเก็งกำไรเว็บไซต์แบบออนไลน์ขึ้นในเมืองไทยเรา โดยแยกออกมาจากเว็บไซต์ e-commerce ทั่ว ๆ ไป ซึ่งค้าขายสินค้าตั้งแต่สากกะเบือยันเรือรบพวกนั้น
…คิดแล้ว … คงจะคึกคักน่าดู อิ อิ 😛
[tags]เก็งกำไร,เว็บไซต์,อินเตอร์เน็ต,e-commerce,สมมติฐาน[/tags]
บทความมีประโยชน์ดี ขอบคุณมากครับ
แล้วบล็อก peetai ล่ะ Google ติดต่อมายัง ^ ^
พี่ไท้ลืมพูดอีกกรณีนึงครับ
คือ
เว็บไซต์เดิม อยู่กับเจ้าของเดิม
แต่
มูลค่าลดลงฮวบฮาบ T_T
ครับคุณ au8ust
จะมีได้ไงอ่ะคุณ light รายนั้นน่ะ สนใจแต่เว็บระดับบะเล่อเหิ้มเท่านั้น T-T
เออจริงด้วยคุณ AMp อา… เศร้าด้วยคน T-T
อ่านแล้งงๆ แต่ก็พอเข้าใจ
เด๋วผมลองคำนวณก่อนว่าเว็บของผมพอจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นบ้างไหม อิอิ บทความแจ่มครับพี่
แหมพี่
duocore เพิ่มระบบเป็นแค่ social news ครับ
คงไม่กล้าจะยกตัวเองเป็นเป็น social networking หรอกครับ
อยากจะเสริมว่า
เราต้องมองกลุ่มผู้ชมเว็บของเราให้ดี
ถ้าเราเดาถูก มองออก ผู้ใช้พอใจกับสิ่งที่เราทำ มันก็เชิดหัวขึ้น
แต่ถ้าพลาดในทางกลับกัน เราก็เคยเห็นเว็บที่ทำแล้วดับไปดื้อๆ มานักต่อนักแล้ว
อย่าทำเพราะคนอื่นเค้าทำกันครับ
การทำตามผู้อื่นไม่เคยให้ใครขึ้นมาอยู่เหนือผู้อื่นได้