มันมีการประยุกต์และแก้ปัญหาหลาย ๆ อย่างครับ ที่เราพยายามจะให้คอมพิวเตอร์ช่วย แต่เราก็จนใจเนื่องจากมีตัวแปรเข้ามาเกี่ยวข้องเยอะ อีกทั้งต้องใช้โมเดลทางคณิตศาสตร์และโมเดลทางคอมพิวเตอร์ ซึ่งให้ผลลัพท์ที่แน่นอนในการประมวลผล
หลายครั้งเราจึงพบว่านักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ก็เลยใช้วิธีเลียนแบบอวัยวะภายในร่างกายมนุษย์ เอามาสร้างเป็นโมเดลทางคณิตศาสตร์และโมเดลทางคอมพิวเตอร์เพื่อแก้ปัญหาซะเลย
ปัจจุบันผมเห็นมีเพียง 3 โมเดลเท่านั้น ที่นักวิทยาศาสตร์สร้างโมเดล โดยการเลียนแบบจากอวัยวะภายในของมนุษย์ ซึ่งได้แก่
1. Artificial Neural Network แขนงวิชาที่พยายามจะทำให้คอมพิวเตอร์ฉลาด คิดเองได้ แล้วก็บังเอิญว่ามนุษย์ใช้สมองในการคิด ดังนั้นน่าจะเป็นการดี หากเราจำลองรูปแบบของเซลสมองให้กลายเป็นโมเดลทางคอมพิวเตอร์ แล้วให้คอมพิวเตอร์คิดได้อย่างที่มนุษย์คิด
2. Speech Recognition แขนงวิชาที่ศึกษาปัญหาคลาสสิคที่แก้กันมาเกือบ 40 ปี นั่นก็คือจะทำยังไงดีหนอ ให้คอมพิวเตอร์ฟังเราแล้วรู้ว่าเราพูดคำว่าอะไรบ้าง งั้นจะเป็นการดีกว่ามั๊ย ถ้าเราจะจำลองโมเดลทางคอมพิวเตอร์ โดยการเลียนแบบวิธีการเปล่งเสียงจากกระบังลม, ปอด, ช่องคอ, กล่องเสียง, ลิ้นไก่, โพรงปาก, ลิ้น, เพดานปาก, ฟัน และโพรงจมูกซะเลย
3. Genetic Programming แขนงวิชาซึ่งศึกษาวิธีการที่จะทำให้คอมพิวเตอร์เป็นผู้เขียนโปรแกรม เพื่อค้นหาวิธีการแก้ปัญหาด้วยตัวเอง โดยใช้การจำลองโมเดลจากโครงสร้าง DNA ในมนุษย์ เพราะเห็นว่า DNA คือสารเคมีตั้งต้นที่ทำให้สิ่งมีชีวิตทุกชนิดเกิดการวิวัฒนาการ เพื่อการเจริญพันธุ์ที่เหมาะสมที่สุด สำหรับการดำรงชีวิตของเผ่าพันธุ์ของตน
จะเห็นว่าแรงบันดาลใจในการสร้างโมเดลทางคอมพิวเตอร์ ส่วนหนึ่งก็มาจากสิ่งไม่ใกล้ไม่ไกลตัวเรา นั่นก็คือจำลองมาจากอวัยวะภายในของมนุษย์เรานั่นเอง
ตอนนี้ยังมีระบบอวัยวะภายในอีกหลายระบบนะที่ยังว่างอยู่ ไม่ว่าจะเป็นระบบทางเดินอาหาร, ระบบหมุนเวียนโลหิต, ระบบขับถ่าย ฯลฯ ถ้าพวกเรามีแรงบันดาลใจกันมากพอ ก็ลองสร้างโมเดลทางคอมพิวเตอร์โดยจำลองจากระบบอวัยวะภายในของเรา ก็ไม่เลวเหมือนกันนะ อิ อิ 😛
[tags]ระบบ,อวัยวะภายใน,ระบบคอมพิวเตอร์,โมเดลคอมพิวเตอร์,สมมติฐาน[/tags]
ซักวันนึงอาจจะได้ยินชื่อวิชาแปลกๆ
“CS0588 วิชาเขียนโปรแกรมเชิงระบบขับถ่าย”
“CS0645 วิชาวิเคราะห์การเคลื่อนที่ของลำไส้ใหญ่เพื่อการพัฒนาระบบเครือข่าย”
….
เพิ่มๆ อีกสักวิชา
วิชา การศึกษาและจำลองการทำงานแบบ Multi Thread ของหัวใจ
ปล1. เหมาะสำหรับคนหลายใจ จะทำให้เรียนรู้เร๊วขึ้น
ปล.2 ระวัง dead zone ที่อาจเกิดขึ้นระหว่างวิชานี้
โหย คิดกันมาได้ไงเนี่ยคุณ AMp คุณ Penguin อิ อิ ^-^
ขออนุญาตเอาไปลงในเวบ Duocore นะครับ
เชิญครับคุณ abcd (ผมมีนโยบายลิขสิทธิ์อยู่แล้ว สังเกตได้จาก sidebar จ้า)
บทความมีประโยชน์ดีจริงขอบคุณครับ