ผมเคยได้คุยกับระดับนโยบายที่คุมการเงินการคลังท่านหนึ่งขององค์กรครับ ท่านบ่นว่าถึงแม้จะมีคอมพิวเตอร์และเครือข่ายมาช่วยงานทางด้านการเงินแล้วก็ตาม แต่ท่านก็ยังคงไม่เชื่อถือข้อมูลสรุปที่ได้จากคอมพิวเตอร์อยู่ดี ตราบใดที่ยังไม่มีวิธีการพิสูจน์ชี้ชัดว่ามันถูกต้อง และที่สำคัญ วิธีการพิสูจน์ต้องกระทำได้โดยคนของท่านเอง ไม่ใช่โดยคนของศูนย์คอมพิวเตอร์!!!
ถ้าบ่นกันมาอย่างนี้แสดงว่าท่านเชื่อว่า ข้อมูลซึ่งจัดเก็บและบรรจุอยู่ในคอมพิวเตอร์นั้น มัน FAKE ได้ … ซึ่งมันจริงซะด้วยสิ!
งั้นมายกตัวอย่างการ FAKE แบบไม่เนียนกันดีกว่า โดยดูจากพอร์ตหุ้นที่ผมเปิดไว้กับบริษัทหลักทรัพย์แห่งหนึ่งในเมืองไทยเรากัน
ขอบอกไว้ก่อนเลยว่าพอร์ตหุ้นข้างบนนั้น มัน FAKE ขึ้นมาและไม่เป็นความจริง เพราะการที่จะซื้อหุ้นของ “ปตท.” และ หุ้นของ “ปูนใหญ่” ที่มูลค่าที่ตราไว้ได้นั้น มันเป็นไปไม่ได้เลยสำหรับผม เพราะผมไม่ได้เป็นคนมีสีหรือคนบิ๊กบึ้มอะไรกับใครเขา
ประเด็นที่จะชี้ให้เห็นก็คือ ถ้าการ FAKE ข้อมูลคอมพิวเตอร์ดังกล่าวถูกกระทำโดยมนุษย์ และเป็นการกระทำแบบหยาบ ๆ ไม่ได้มีวิธีที่สลับซับซ้อน เราก็ยังพอที่จะเชื่อได้ว่าข้อมูลดังกล่าวไม่เป็นความจริง … แต่ทว่า … แล้วถ้าหากการ FAKE ดังกล่าวนั้น มันกระทำอยู่บนกิจกรรมที่ถูกต้องของคอมพิวเตอร์ล่ะ จะเป็นยังไง?
ซึ่งตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็คือ การที่ระบบคอมพิวเตอร์ทุกระบบ ล้วนมี DEBUG Mode ซึ่งอนุญาตให้ FAKE ข้อมูลคอมพิวเตอร์เพื่อทดสอบได้ และมันก็เป็นช่องโหว่ซะด้วย เพราะ DEBUG Mode ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้เจ้าของระบบฯนั้นเป็นผู้บริหารจัดการ ดังนั้นผู้ที่สร้าง DEBUG Mode ก็มักจะไม่ได้ทำ Log เอาไว้เพื่อเก็บกิจกรรมการทำงานในขณะใช้ DEBUG Mode อยู่ เพราะเห็นว่าผู้ที่จะใช้ DEBUG Mode ได้ก็คือเจ้าของระบบฯ จึงไว้ใจได้ว่าเจ้าของระบบฯคงจะไม่ทำอะไรส่งเดชแน่!!!
อือม แล้วแบบนี้เราจะไปเชื่อได้ไงล่ะว่าข้อมูลมัน FAKE ไม่ได้ ในเมื่อมันมีช่องเล็กช่องน้อยให้กระทำการได้ดุจดั่งพระเจ้าเช่นนี้?
นี่จึงเป็นสาเหตุว่าทำไมการที่จะยืนยันว่าข้อมูลถูกต้อง จึงต้องมีขั้นตอนที่สลับซับซ้อน, ต้องมีหมายเลขเฉพาะกำกับ, ต้องสามารถตรวจสอบไขว้ได้, ต้องเป็นข้อมูลแบบสัมพัทธ์ที่อ้างอิงได้ ไม่ใช่ข้อมูลแบบสัมบูรณ์ที่อ้างอิงไม่ได้, ต้องมีวิธีพิสูจน์ที่สามารถทำซ้ำได้ อีกทั้งยังได้ผลเหมือนกันทุกครั้งที่พิสูจน์ และต้องสามารถพิสูจน์โดยใครก็ได้ ไม่จำเพาะเพียงแค่คนไอทีเท่านั้น
โดยสรุปแล้ว ศาสตร์ในการพิสูจน์ว่าข้อมูลไม่ FAKE จะกลายเป็นศาสตร์ที่ำสำคัญในอนาคตครับ!
[tags]ศิลปะ, FAKE, ข้อมูล, คอมพิวเตอร์[/tags]
เหมือนที่ผมเคยลงในบล็อกเรื่อง แก้ข้อความทางหน้าเว็บเลยครับ
สมัยนี้ต้องตรวจดูให้ดี วิธีโกงต่างๆเริ่มมีมากขึ้น ไอ้เราก็ไม่เก่งพอจะไปไล่ตามจับเค้าทันซะด้วย ต้องติดตามข่าวสารบ่อยๆ
อื้ม ถ้าทำเป็นธุรกิจได้ก็ดีสินะครับ
ถ้าในตอนนี้ คงต้องให้ “คนของท่าน” ไปหัดเขียน query กับโปรแกรมมิ่งแล้วล่ะครับ
อ๊ะคุณ feekz ก็เคยเขียนถึงเหรอ คราวหน้าเอา url มาใส่ได้เลยนะ ผมจะได้ตามไปอ่าน
ธุรกิจการ Fake ข้อมูล หรือธุรกิจการพิสูจน์ข้อมูลล่ะคุณเน็ต 😛
555 คนของท่านจบบัญชีอ่ะคุณ AMp