ปรกติแล้วเสียงจะเดินทางด้วยความเร็วเพียง 800 เมตรต่อวินาที (ในอากาศ) ในขณะที่แสงเดินทางเร็วถึง 300,000 กิโลเมตรต่อวินาที (ในสูญญากาศ) ดังนั้นความเร็วมันคนล่ะชั้นกัน!!!
แต่พอเอาเสียงมาเข้ารหัสด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า มันก็เลยทำให้เสียงมีปัญญาเดินทางได้เร็วเท่าแสง!!!
และด้วยความเร็วขนาดนี้ มันก็เลยทำให้เราไม่รู้สึกห่างไกลกัน หากจะต้องสื่อสารกัน!!
งั้นถ้าผมพูดเป็นตัวหนังสือ จะถือว่าผมกำลังส่งเสียงอยู่ได้มั้ย? เอ้อ น่าคิดเน้อะ … ผมกำลังพูดคุยกับพวกเราผ่านตัวหนังสืออยู่ งั้นก็คงอนุโลมได้ว่าตอนนี้ เสียงข้อความของผมกำลังสะท้อนก้องกังวานไปทั่วทั้งอินเทอร์เน็ต ด้วยความเร็วระดับเดียวกับความเร็วแสง!!
ตามหลักวิทยาศาสตร์แล้ว ถึงแสงและเสียงจะมีความเร็วที่สูง และมีพลังอำนาจในการกระจัดกระจายมากเพียงใด แต่ยังไงมันก็มีจุดร่วมที่เหมือนกัน นั่นก็คือ มันต้องมี “จุดกำเนิด”
ถ้าอย่างนั้นจุดกำเนิดในการส่งเสียงข้อความของบล็อกแห่งนี้อยู่ที่ไหนกันล่ะ?
จากตารางข้างบนแสดงให้เห็นว่า เสียงข้อความของบล็อก Mr. PeeTai แห่งนี้นั้น ถูกส่งสะท้อนก้องกังวานมาจากเมือง Orem, เขต Utah, มลรัฐ Utah, ประเทศสหรัฐอเมริกา
สำหรับหลายท่านที่อ่าน Feed ของบล็อกแห่งนี้อาจจะลำบากหน่อย (เพียงแต่ไม่รู้สึกตัว) เพราะท่านไม่ได้รับเสียงข้อความของบล็อกแห่งนี้จากเมือง Orem เนื่องจากมันถูกสะท้อนมาไกลกว่านั้น … โน่นแน่ะ มาจากเมือง Chicago, เขต Cook & DuPage, มลรัฐ Illinois, ประเทศสหรัฐอเมริกา ติดฟากมหาสมุทรแอตแลนติกไกลลิบเชียว!!!
นอกจากนี้ บล็อก Mr. PeeTai ก็ยังเรียกใช้บริการมาจากที่ต่าง ๆ ซึ่งล้วนแล้วแต่มาจากคนล่ะทิศคนล่ะทางทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นบริการนับยอดจาก Google Analytics, บริการสานสัมพันธ์บล็อกจาก MyBlogLog, บริการผูกประสานบล็อกจาก Technorati และบริการนำเสนอคลิปวีดีโอจาก Youtube … ซึ่งอาจจะโชคดีหน่อยเพราะที่เหลือนั้น ส่งเสียงสะท้อนก้องกังวานมาจากมลรัฐ California ซึ่งติดมหาสมุทรแปซิฟิค ห่างประเทศไทยไปแค่ครึ่งโลกเท่านั้นเอง!!!
สมการคณิตศาสตร์ง่าย ๆ ที่บอกว่า “อัตราความเร็ว” จะเท่ากับ “ระยะทาง” หารด้วย “ระยะเวลา” จึงช่วยอธิบายให้เราเข้าใจได้โดยง่ายว่า “ระยะทาง” จะไม่ใช่อุปสรรคเลย หาก “อัตราความเร็ว” มีค่าเท่ากับ “แสง”
และเมื่อเสียงข้อความสามารถสะท้อนก้องกังวานได้ด้วยความเร็วเท่ากับแสง ก็มีความหมายว่า จุดกำเนิดของเสียงข้อความจะอยู่ที่ไหนก็ได้ในโลกใบนี้ … เพราะยังไงซะ … มันก็สามารถส่งถึงปลายทางได้ด้วยอัตราความเร็วที่เท่ากันอยู่ดี
ซึ่งในเมื่อเป็นแบบนี้ ก็คงจะไม่มีใครสนใจแล้วล่ะว่า จุดกำเนิดมันจะอยู่ตรงไหน ขอเพียงมันส่งมาถึงเราได้ด้วยอัตราความเร็วแสงก็เพียงพอแล้ว!
โลกในยุคนี้ จึงเป็นโลกยุคไร้พรมแดนและไร้ศูนย์กลางนั่นเอง!!!
[tags]เสียง,ข้อความ,สะท้อน,ก้อง,กังวาน,ความเร็วแสง[/tags]
The world is flat
เสียงข้อความของบล็อก Mr. PeeTai แห่งนี้นั้น มี “อัตราความเร็ว” มีค่า “ไม่” เท่ากับ “แสง” แต่เท่ากับความเร็ว internet ของแต่ละคนต่างหากหล่ะพี่ไท้
เพราะ internet ของแต่ละคนไม่เท่ากัน จึงได้รับข้อมูลช้าเร็วต่างกัน แบบนี้ อัตราความเร็วของแต่ละคนจึงต่างกัน ใช่หรือไม่?
ถ้าเน็ตช้าแล้วจะมีประโยชน์อะไร วันนี้ผมเข้าเว็บแถวๆ ยุโรปไม่ได้เลย
อ่านไปอ่านมา หมายถึงสัญญาณแม่เหล็กไฟฟ้าใช่เปล่าครับ
บางประเทศ ก็จงใจปิดกั้นบางแสง ไม่ให้ส่องแสง
ต๊องป่ะ
Audy – โดนใจ
โลกกลม ๆ แบน ๆ รี ๆ ครับคุณ AMp อิ อิ 😛
เออจริงด้วยอ่ะคุณ 7 คุณ crucifier ผมลืมเรื่องความเร็วของอินเทอร์เน็ตไปเลย T-T
เว็บสวยดีนะคุณ moohot ^-^
อ่ะ คมจริง ๆ คุณ Audy
นิดหน่อยครับคุณ debug T-T (ว่าเรา)
ไม่มี ตัวกลาง ก็ ไม่มีความเร็วครับ
แล้วก็ ไม่ใช่ สุญญากาศด้วย
จะว่าไป จิต นี่ เร็วกว่าแสง ไหมครับ
^^