การพัฒนา Software เพื่อใช้ควบคุมสั่งการ Robotic

ASIMO ของ HONDAตอนนี้อุตสาหกรรม Robotic ก้าวหน้าไปมากครับ เห็นได้จากการที่โรงงานอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ล้วนใช้ Robotic ทั้งนั้น ทีนี้คำจำกัดความของ “Robotic” มันค่อนข้างกว้าง เพราะมันมีความหมายถึงอุปกรณ์ทาง electronic ที่อาศัยสัญญาณทางไฟฟ้า เพื่อส่งสัญญาณดังกล่าวไปยังอุปกรณ์ทาง electronic ที่ควบคุมกำลังไฟฟ้าเพื่อสั่งการให้เครื่องประกอบของเครืองกลให้ทำงานต่อไป

แขนกลในโรงงานอุตสาหกรรมถือเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของ Robotic ครับ เพราะมันครบทุกองค์ประกอบเลย มันใช้สัญญาณไฟฟ้าในการควบคุมจังหวะการทำงาน, มันใช้กำลังไฟฟ้าเพื่อควบคุมกลไกจักรกลให้ทำงานอีกทอดนึง

แต่ปัจจุบันนี้นิยามของ Robotic มันยิ่งชัดเจนมากขึ้นครับ อันเนื่องจากการที่บริษัทชั้นนำทางด้านอิเลกทรอนิกส์และยานยนต์ต่าง ๆ รีบรุดกระโดดเข้าร่วมสังฆกรรมในอุตสาหกรรม Robotic กันอย่างคึกคัก ไม่ว่าจะเป็น Honda, Toyota, JVC, Sony เป็นต้น

บริษัทเหล่านี้ต่างก็มีจุดแข็งจากการทำวิจัย electronic และ/หรือ วิศวกรรมเครื่องกลกันมาอย่างโชกโชน และพร้อมจะต่อยอดในอุตสาหกรรม Robotic ได้อย่างไม่มีปัญหา

ASIMO คือตัวอย่างนึงของการแข่งขันนั้น มันเป็น Robotic ที่มีความใกล้เคียงมนุษย์ มันพัฒนามานานแล้ว พัฒนามาเป็นสิบ ๆ ปีแล้ว และตอนนี้มันก็กำลังจะได้รับความสนใจจากคนทั่วไปมากขึ้นทุกที

ทีนี้วกกลับมาว่าเราในฐานะนักพัฒนา software จะไปเกี่ยวข้องอะไรกับ Robotic เหล่านี้????

Trumpet Toyotaเกี่ยวครับ!!! เพราะจากการวิเคราะห์อนาคตของอุตสาหกรรม Robotic ด้วยความคิดของผมเอง โดยอาศัยทักษะ, ความรู้, ประสบการณ์ และข้อมูลในอดีตมาผนวกกันแล้วจะพบว่า trend การวิจัยพัฒนาและเติบโตของอุตสาหกรรม Robotic สุดท้ายแล้วจะเหมือนกับ IBM PC Compatible ยังไงอย่างงั้นเลย

สมัยนั้น Personal Computer ถูกผูกขาดโดย IBM ครับ¿สถาปัตยกรรม computer สมัยนั้นไม่ว่าจะเป็น Super Computer, MainFraim, Mini Computer และ Personal Computer เหมือนกันเลย นั่นก็คือ … hardware, operating system และ application อยู่ในตัวเดียวกัน ผนึกรวมกันเลย แบ่งแยกมิได้

ก็เหมือนกับ Robotic ตอนนี้ที่กำลังพัฒนาอยู่นั่นแหล่ะครับที่ hardware ซึ่งก็คือตัว robotic, operating system ซึ่งไว้จัดการกลไกทางเครื่องกลต่าง ๆ ของ robotic และ application ซึ่งใช้สั่งงานต่าง ๆ ให้กับ robotic ยังผนวกอยู่รวมกัน

ผมเชื่อแน่ว่าการที่ hardware, operating system และ application ของ Robotic ถูกผนึกรวมและผูกขาดแบบนี้ คงไม่เป็นที่พึงพอใจแน่สำหรับธุรกิจทั้งหลายที่ต้องการร่วมเกาะเกี่ยวและกอบโกยผลประโยชน์จากอุตสาหกรรม Robotic

Robotic Layerแล้วมันก็จะซ้ำรอยกับ IBM PC Compatible ที่สุดท้าย hardware, operating system, device driver และ application ถูกแยกออกจากกันแล้วแบ่งให้ธุรกิจต่าง ๆ ครองส่วนแบ่งการตลาดกันไป

จุดที่ผมจะชี้เป็นประเด็นก็คือ ในอีก 10 ปีข้างหน้าเมื่อ Robotic ถูกพัฒนาจนกลายเป็น Hardware ที่มีความเสถียร, มีความ compatible เมื่อนั้นธุรกิจที่จะสำคัญขึ้นมาแทนเจ้าตัว Robotic ก็คือธุรกิจพัฒนา robotic operating system, ธุรกิจพัฒนา robotic add on device driver และ robotic control application

ทุกวันนี้เริ่มมีความตื่นตัวในการพัฒนา robotic operating system กันบ้างแล้ว โดยมีบุคคลธรรมดาอย่างพวกเราเนี่ยแหล่ะครับ เป็นตัวตั้งตัวตี ซึ่ง robotic operating system ที่ว่านี้มีชื่อว่า Dave’s Robotic Operating System หรือ DROS ครับ รายละเอียดหาอ่านได้ใน link

นอกจากนี้ ในส่วนของ application ที่ใช้ควบคุม robotic หรือ application เพื่อใช้สำหรับ simulation การทำงานของ robotic ก็มีการพัฒนากันมาบ้างแล้วเหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็น MARIE, Dynatic Anatomy, Orocos, PlayerStage เป็นต้น

ถ้าใครอยู่ในยุคเริ่มต้นของ IBM PC Compatible คงยังจำกันได้ว่าตอนนั้น IBM ยิ่งใหญ่มากเพราะสามารถผลิต Personal Computer ได้ ในขณะที่ Microsoft นั้นเล็กกระจิดริดนิดเดียวเอง ทำได้แค่เพียง operating system เพื่อใช้ควบคุม Personal Computer เท่านั้น

แต่มาบัดนี้ Microsoft ยิ่งใหญ่มาก ผมเองก็นึกไม่ถึงว่าบริษัทที่พัฒนา Software จะสามารถยิ่งใหญ่กว่าบริษัทที่พัฒนา Hardware ได้ถึงขนาดนี้

ดังนั้นผมจึงเชื่อว่าต่อไปธุรกิจที่จะยิ่งใหญ่จะไม่ใช่ธุรกิจพัฒนา Robotic Hardware แต่จะเป็นธุรกิจพัฒนา Robotic Operating System และ Robotic Application มากกว่า

ถึงตอนนั้นหลักสูตรการเรียนการสอนในสถาบันอุดมศึกษาก็ต้องเปลี่ยนไปอย่างแน่นอน เพื่อรองรับอุตสาหกรรม Robotic ดังกล่าว เช่น นอกจากจะมีหลักสูตรวิศวกรรมไฟฟ้า, วิศวกรรมเครื่องกลแล้ว ก็คงต้องมีวิศวกรรมหุ่นยนต์เพิ่มขึ้นมา (ผมเห็นที่ลาดกระบังมีแล้ว)¿ เพื่อศึกษาทางด้าน Robotic Hardware และ Robotic device add on โดยตรงเลย

ในขณะที่ทางด้าน software เองนอกจากจะมีหลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์, วิทยาการคอมพิวเตอร์, เทคโนโลยีสารสนเทศแล้ว ก็อาจจะมีหลักสูตรวิทยาการ Robotic เพื่อศึกษาทางด้านการสร้าง Robotic Operating System และ Robotic Application กันให้เป็นเรื่องเป็นราวกันไปเลย

คนไทยเราอาจจะไม่มีโอกาสได้สร้าง Robotic Operating System แน่นอน เพราะพื้นฐานด้านนี้ของเราอ่อนมาก แต่คิดว่าพวกเราจะยังมีโอกาสในการสร้าง Robotic Application แหงม ๆ

ดังนั้นให้อดใจรอไว้เลยครับ ว่าต่อไปในเมืองไทย ต้องมีการเปิดรับตำแหน่งนักพัฒนา Robotic Application แน่ ๆ เพราะในอนาคตคนเมืองจะต้องมี Robotic ไว้ใช้งานอย่างกว้างขวาง เหมือนที่ทุกวันนี้เรามี Personal Computer, Notebook, PDAs, โทรศัพท์มือถือใช้กันอย่างกว้างขวาง

แน่นอน 🙂

Related Posts

2 thoughts on “การพัฒนา Software เพื่อใช้ควบคุมสั่งการ Robotic

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *