เจ้านายเก่าของผมเคยสอนเอาไว้ว่า ถ้าเราต้องการจัดสร้างสิ่งใดสิ่งหนึ่ง แล้วมีคนที่เขาทำเป็นอาชีพ ทำจนชำนาญ มีประสบการณ์ในการทำมากกว่าเรา อีกทั้งยังเปิดโอกาสให้เราจ้างเขาได้ ก็จงจ้างเขาเถิด เพราะเราจะได้เอาเวลาไปทำในสิ่งที่ตัวเราเองถนัดดีกว่า
อือม ช่างตรงกับแนวคิดของ Outsourcing เสียนี่กระไร!!!
งั้นถ้าโจทย์ที่เจอมามันเป็นแบบนี้ล่ะ คือเราต้องการสร้างระบบซอฟต์แวร์เชื่อมโยงขนาดใหญ่ แต่บังเอิญเราเก่งแต่การซ่อมบำรุงและดูแลระบบซอฟต์แวร์ เราไม่เก่งการสร้างสิ่งที่ยังไม่มีตัวตนขึ้นมา งั้นเราก็จำเป็นจะต้องควักตังค์เพื่อไปจ้างบริษัทที่เขาเก่งมาทำให้เราถูกแมะ?
ทีนี้บริษัทที่ยอมรับงานดันเสนอราคา 20 ล้านบาทพอดิบพอดีอ่ะดิ แล้วทางเราก็พยายามจะต่อราคาให้ลดน้อยลง ซึ่งทางบริษัทก็ยอมด้วยแฮะ โดยลดราคาจาก 20 ล้านบาทเหลือ 16 ล้านบาท แต่มีข้อแม้ว่าทางเราจะต้องให้พนักงานคนหนึ่งของเราไปทำงานเต็มเวลากับบริษัท เพื่อทดแทนงบประมาณ 4 ล้านบาทที่ขาดหายไป!!
โดยพนักงานคนดังกล่าว จะยังเป็นพนักงานซึ่งได้รับเงินเดือน, สวัสดิการ และการเติบโตในหน้าที่การงานจากองค์กรที่ทำงานอยู่ ในขณะที่ต้องทุ่มเทเวลาทำงานทั้งหมดตลอด 8 เดือนให้กับบริษัท Outsourcing ที่องค์กรจะจ้างเข้ามา เพื่อทำระบบซอฟต์แวร์เชื่อมโยงขนาดใหญ่!
ผมเองไม่แปลกใจที่ข้อตกลงนี้เกิดขึ้น เพราะของแบบนี้มันเกิดขึ้นได้อยู่แล้ว แต่ที่ต้องมาพิจารณาก็คือ ถ้าทั้งสองฝ่ายคิดว่าตัวเองชนะ แล้วใครล่ะที่จริง ๆ แล้วเป็นผู้แพ้?
โดยส่วนตัวแล้วคิดว่าบริษัท Outsourcing อาจจะคิดตื้นเขินไป เพราะไม่ได้หมายความว่าบริษัทได้พนักงานของลูกค้าไปใช้งาน แล้วจะสามารถรีดเร้นส่วนเกินแรงงานจากพนักงานคนดังกล่าว เพื่อทดแทนใน 4 ล้านบาทที่ขาดหายไปได้ซะเมื่อไหร่?
ถ้าคิดถ้วน ๆ ว่า 1 เดือนมี 30 วัน แสดงว่า 8 เดือนก็ต้องมี 240 วัน ซึ่งสรุปได้ว่าต้องใช้จำนวนวันในการทำโครงการเท่ากับ 240 วัน
ทีนี้มาคิดเรื่องตังค์บ้าง ถ้าคิดว่าส่วนต่าง 4 ล้านบาทสำหรับงาน 240 วัน ก็แสดงว่า 1 วันจะคิดเป็นค่าแรงได้ 16,666.67 บาท ปัดเป็น 16,700 บาทต่อวัน (คิดง่ายกว่า) ซึ่งก็แสดงว่าทางบริษัท Outsourcing คาดหวังจะให้พนักงานหนึ่งคนซึ่งได้มาจากลูกค้า สามารถทำงานได้มีมูลค่าเท่ากับ 16,700 บาทต่อวัน!!!
ทีนี้มาดูฟากทางเรากันบ้าง สมมติว่าเราจะส่งพนักงานซึ่งมีประสบการณ์ 3 ปี เงินเดือน 17,000 บาทให้ไปทำงานกับบริษัท Outsourcing โดยโมเมเอาว่าพนักงานคนดังกล่าวนั้นขยันขันแข็ง มาทำงานทุกวันไม่เคยขาดเลย และเราก็คิดว่า 1 เดือนมี 30 วันเหมือนกัน ดังนั้นหากคำนวณรายได้ออกมาเป็นรายวันแล้ว พนักงานคนนี้จะมีเงินได้เพียง 566 บาทต่อวันเท่านั้น!!!
ถึงแม้ว่ามนุษย์เราจะเป็นทุนเพียงชนิดเดียว ที่สามารถสร้าง output ได้มากกว่า input แต่อย่างมากก็ทำได้ไม่เกินสองเท่า ดังนั้นถ้าให้มูลค่าเพิ่มสำหรับนิยามนี้ ก็สามารถถูไถได้ว่า พนักงานคนนี้(น่า)จะสามารถสร้างมูลค่าของงานได้เท่ากับ 1,132 บาทต่อวัน (คิดสองเท่า)!!
แต่อัตราส่วนของความคาดหวังต่อความเป็นจริงมันก็ยังต่างกันอยู่ดี เพราะต่างกันถึง 14.75 เท่าแน่ะ (16,700 / 1,132) แล้วทีนี้บริษัท Outsourcing จะทำไงล่ะเนี่ย?
เข้าใจว่าทางบริษัท Outsourcing ซึ่งตกเลขในช่วงของการเจรจาและการทำสัญญาคงจะเพิ่งนึกออก ก็เลยโทรมาขอเปลี่ยนแปลง จากเดิมที่เคยขอหนึ่งคนก็ขอเพิ่มเป็นสองคน แต่แย่หน่อยเพราะความซวยไม่เคยปราณีใคร สิ่งที่ตกลงไปแล้วมันก็เลยเปลี่ยนแปลงไม่ได้!!!
โดยสรุปแล้วผมคิดว่า ถ้าบริษัท Outsourcing ไม่จับพนักงานของลูกค้ากินยาบ้า ฉีดผง หรือจับครอบครัวของพนักงานของลูกค้าเอาไว้เป็นตัวประกันเพื่อข่มขู่แล้วล่ะก็ ไอ้เรื่องจะรีดเร้นส่วนเกินแรงงานจาก 1,132 บาทต่อวัน ให้กลายเป็น 16,700 บาทต่อวันนั้น ผมเองก็ไม่รู้ว่าเขาจะทำได้ด้วยวิธีไหนจริง ๆ?
[tags]Outsourcing, ค่าแรง, เงินเดือน, การจัดการ[/tags]
ว๊ายๆ จิงโจ้มีบั้ก ^0^
ป.ล. บริษัท outsource อาจจะเอาคน 1 คนที่ได้ไปรีด know how ออกให้ได้มากที่สุดอะคับ
bug ทนง ^^
บางทีเขาอาจจะมองในแง่ดีว่าให้คนที่เราส่งไปเป็นผู้ประสานงานกับบ.เดิมก็ได้นะครับ
ถ้าส่งคนที่ทำงานดีไปให้ก็จะได้ซื้อตัวซะเลย
Base on true story หรือเปล่าครับเนี่ย 😛
ผมกลับคิดต่างมุมจากคุณไท้ครับ ที่คุณไท้นำเสนอมาเป็นวิธีคิดแบบคณิตศาสตร์ แต่คิดแบบธุรกิจเขาอาจคิดดังนี้ครับ
1. งาน 20 ล้านบาทนั้นมันเป็นราคาบอกผ่าน แท้จริงที่ราคา 16 ล้านบาทก็กำไรแล้ว ยอมลดกำไรลงเพื่อให้ได้งานจะเข้าท่ากว่ามาก(ในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้) ^-^
2. พนักงานที่ได้มาเป็นเพียงโบนัส ที่อาจจะมี value added มหาศาลเกินกว่า 4 ล้านอีก เพราะใครมันจะรู้งานดีไปกว่าคนใน! จะชั่วดีอย่างไร สำหรับคนนอกที่เข้ามา outsource แล้ว การมีคนในไว้ในทีมย่อมมีประโยชน์หลายอย่างแน่นอน แล้วยิ่งถ้าพนักงานคนนั้นเป็น key man ของโครงการ โฮ่ โฮ่ งาน 16 ล้านบาทนั้นอาจทำโดยพนักงานตัวเองไปกว่าครึ่ง! (แต่ได้เงินเดือนจากบริษัท 17,000 เท่าเดิม – -” , ไม่งั้นคุณไท้ไม่ออกมาทำรับงานเองเหมือนทุกวันนี้หรอก อิอิ)
ที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้น เดาล้วนๆ ครับ แหะ แหะ 😉
เพิ่มเติมอีกหน่อยครับ
ตอนแรกที่ตอบด้านบนเพราะไม่เห็นด้วยกับคุณไท้ที่คิดว่า “โดยส่วนตัวแล้วคิดว่าบริษัท Outsourcing อาจจะคิดตื้นเขินไป”
แต่มาอ่านหัวข้ออีกที “ใช้หญ้าในดินแดนข้าศึก เลี้ยงม้าศึกของเรา” ซึ่งผมคิดว่านั่นคือสุดยอดกลยุทธ์ของบริษัท Outsourcing ที่ว่านี้เลย! (ที่ผมอธิบายซะยืดยาวในข้อ 2 ด้านบน)
ผมเลยไม่แน่ใจแล้วว่า…ตกลงคุณไท้คิดว่า บริษัท Outsourcing นี้คิดตื้นเขิน หรือ ใช้สุดยอดกลยุทธ์ กันแน่ ?
(ส่วนตัวผม อย่างไม่ต้องสงสัย ฟันธงไปตั้งแต่ด้านบนแล้วว่า บริษัท Outsourcing นี้สุดยอด!)
🙂
ผมว่าสิ่งที่เค้าต้องการคือ Know How ที่พอจะชดเชยและไม่สามารถประเมินเป็นค่าเงินได้ชัดเจน ถ้าส่งคนเก่งไปจริงๆ งานนี้อาจจะ win-win ทั้งสองฝ่ายก็ได้ 🙂
อือ มันมีบั๊กจริง ๆ ด้วยแหล่ะคุณ AMp คุณ figaro มันถึงยังเป็นรุ่น Beta อยู่ไง อิ อิ 😛
ต้องบนเรื่องจริงดิคุณ Shoot เพราะคิดเองไม่ได้อ่ะแบบนี้ T-T
ฟันด้วยคนครับคุณนายหนังสือ อิ อิ ^-^
งานนี้เขาอาจจะไม่ชนะอ่ะคุณ MP3WizarD เพราะผมส่งคนระดับปฏิบัติการไปให้เขาซะแล้ว T-T
พึ่งมาอ่าน เห็นด้วยกับ นายหนังสือ อย่าลืมว่าค่าตัวที่แท้จริงคือ16 ล้าน(ไม่ใช่ 4ล้านบาท)เพราะบริษัท Outsourcing เอาตัวเขาไปใช้โดยไม่ต้องเสียตังค์ซักบาท แถมได้งานมูลค่า 16ล้านออกมาอีก นี่มันเป็นการเจรจาต่อรองที่สุดยอดจริงๆ ที่ทำให้ดูเหมือนว่าคู่เจรจาชนะด้วยกัน แต่แท้จริงล่ะคืออะไร?