ระบบกินรวบเป็นระบบที่ให้ผลประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เป็นเจ้าของ ยิ่งผลผลิตที่เกิดจากระบบดังกล่าวมีความเป็นเอกเทศมากเท่าไหร่ ผลประโยชน์ของระบบนั้น ๆ ก็จะยิ่งมีมากเป็นเท่าทวีคูณ
ระบบเว็บไซต์ก็ถือว่าเป็นระบบที่ให้ผลประโยชน์แก่ผู้เป็นเจ้าของเช่นกัน โดยเฉพาะเว็บไซต์ซึ่งมีข้อมูลที่หลากหลายครบถ้วนบรรจุอยู่ภายใน ก็ยิ่งจะสามารถสร้างความมั่งคั่งให้แก่ผู้เป็นเจ้าของเป็นเงาตามตัว
ดังนั้น นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไม เจ้าของเว็บไซต์จึงไม่ค่อยยินดีนัก หากจะเปลี่ยนระบบเว็บไซต์ของตนเอง จากระบบกินรวบให้กลายเป็นระบบกินแบ่ง!!!
โดยปรกติแล้ว ถ้าเราสวมวิญญาณพ่อค้า เราก็ต้องคิดถึงกำไรขาดทุนเป็นสำคัญ งั้นเราลองมาคิดดูกันหน่อยดีกว่า ว่าต้นทุนที่จะเกิดขึ้นจากการสร้างระบบกินแบ่งด้วย Web Service มีอะไรบ้าง?
- สูญเสียเอกลักษณ์ของข้อมูล เพราะข้อมูลไม่ได้ถูกผูกขาดอีกต่อไป
- ต้องเสียพลังของ server เพื่อนำไปประมวลผลคำร้องขอ Web Service
- ต้องเสียกำลังคน เพื่อใช้พัฒนา Web Service
จะเห็นว่าข้อแรกเป็น “ต้นทุนของการเสียโอกาส” ในขณะที่สองข้อหลังเป็น “ต้นทุนทางบัญชี”!!!
ในฐานะของพ่อค้า ย่อมไม่ใส่ใจในต้นทุนทางบัญชี เพราะหากยอมให้เกิดต้นทุนทางบัญชี ก็ย่อมแสดงว่ามั่นใจแล้ว ว่าจะสามารถสร้างกำไรได้ ดังนั้น ประเด็นสำคัญมันจึงอยู่ที่ต้นทุนของการเสียโอกาสมากกว่า ที่จะต้องพิจารณาเป็นสำคัญ!!!
ถ้าระบบเว็บไซต์ดังกล่าว หาผลตอบแทนจากโฆษณาบนหน้าเว็บไซต์ หรือหาผลตอบแทนจากการเก็บค่าธรรมเนียม ก็ย่อมต้องมีต้นทุนของการเสียโอกาสที่สูงลิบลิ่ว หากต้องสูญเสียเอกลักษณ์ของข้อมูลที่มีไป จากการเปิดให้เข้าถึงข้อมูลของเว็บไซต์ได้ด้วย Web Service!!!
งั้นหนทางก็จะถูกบีบให้แคบลง จนต้องหาคำตอบว่าแล้วเว็บไซต์ประเภทไหนบ้างล่ะ ที่เมื่อเปิด Web Service แล้ว จะทำให้ต้นทุนของการเสียโอกาสต่ำมาก จนกระทั่งการทำ Web Service เกิดขึ้นได้ โดยที่เจ้าของเว็บไซต์ไม่ลังเลมากนักที่จะทำมันขึ้นมา?
โดยส่วนตัวแล้วมองว่า การสร้างระบบกินแบ่งด้วย Web Service เป็นหนทางสำหรับอนาคต ในการยืนอยู่บนเส้นทางของวงการเว็บไซต์ต่อไป!
[tags]ระบบกินรวบ, ระบบกินแบ่ง, Web Service, ต้นทุนของการเสียโอกาส, ต้นทุนทางบัญชี[/tags]
น่าจะเพิ่มข้อ 4 ด้วยนะครับ
4. สูญเสียรายได้จากโฆษณา
ผมมองว่าการเปิด API ให้มีช่องทางการเข้าถึงบริการ มีผลดีมากกว่าผลเสีย
เพราะอย่างน้อยๆ ก็เป็นการเปิดโอกาสให้มี Client แบบอื่นๆ นอกเหนือจาก Browser โดยที่เจ้าของเว็บ ไม่จำเป็นต้องลงทุนพัฒนาเอง
ตอนนี้มีมือถือ ต่อไปอาจจะเป็นตู้เย็น, ไมโครเวฟ, เครื่องซักผ้า
นี่ยังไม่นับ ในส่วนของช่องทางสำหรับให้สมาชิกสร้างเนื้อหาอีกนะครับ
นับข้อดีแล้ว ใครไม่เปิด API ผมถือว่า “เชย” นะ
เออจริงด้วยคุณ AMp ผมลืมไป 😛
งั้นตอนนี้เว็บไซต์เมืองไทยก็เชยกันฮึ่มเลยอ่ะคุณ Audy T-T
ผมคิดว่าการมี Web service เนี่ย ก็เหมือนกับแฟรนไซน์ ดีดีนี่เอง เพียงแต่ว่า เราต้องรู้ว่า สิ่งไหนควรให้สิ่งไหนไม่ควรให้