หลังจากค้นหาอยู่หลายตลบ ในที่สุดก็หา ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. … เจอจนได้!!!
มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้
“ข้อมูลส่วนบุคคล” หมายความว่า ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับบุคคล ซึ่งทำให้สามารถระบุตัวบุคคลนั้นได้ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม
อือม อ่านแล้วรู้สึกว่า “ข้อมูลส่วนบุคคล” มันมีรายละเอียดที่กว้างขวางมาก!!!
โดยส่วนตัวแล้วคิดว่าควรแยกข้อมูลส่วนบุคคลออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1. ข้อมูลทะเบียนประวัติ อันได้แก่ เลขที่บัตรประชาชน, ชื่อ, นามสกุล, ลายเซ็น, รูปถ่าย, ภูมิลำเนา, ที่อยู่ปัจจุบัน, เครือญาติที่เกี่ยวข้อง, การศึกษา, การทำงาน, สุขภาพ, แพ่ง-อาญา เป็นต้น
และ ในขณะที่อีกประเภทหนึ่งคือ …
2. ข้อมูลชีวภาพ อันได้แก่ รหัสดีเอ็นเอ, ลายนิ้วมือ, ลายม่านตา, ลายจอประสาทตา, ร่องฟัน, ภูมิคุ้มกัน, ลักษณะการกลายพันธุ์, เสียงพูด, สารคัดหลั่ง เป็นต้น
ซึ่งผมคิดว่า ถ้าข้อมูลทั้งสองประเภท ถือว่าเป็น “ข้อมูลส่วนบุคคล” ตามกฎหมายที่กำลังจะคลอดออกมา ก็คงจะไม่น่าห่วงอะไร แต่ถ้าหากว่ามันไม่ใช่ …. ก็จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอธิบายให้มันชัดเจนว่าใช่ หรือถ้าทำไม่ได้ ก็ควรจะแยกกฎหมายที่ใช้คุ้มครองข้อมูลชีวภาพส่วนบุคคล ออกไปเป็นอีกฉบับนึงเลยก็ดี!!!
เพราะไม่แน่ว่าต่อไป “อสุจิ” ของผมก็อาจจะต้องถูก “คุ้มครอง” ก็ได้ ใครจะรู้ อิ อิ 😛
[tags]กฎหมาย, ร่าง, พระราชบัญญัติ, คุ้มครอง, ข้อมูล, ชีวภาพ, ส่วนบุคคล[/tags]
โอ้ววว ประเด็นน่าสนใจมากเลยครับพี่ไท้
…แต่ประโยคปิดท้ายนี่ดิ (- -”)
อ่านแล้วดูกว้างจริงๆ
คิดถึงกรณีจูดาสเข้ามาในหัวเลย การที่จูดาสชี้ตัวเยซูนี่ถือเป็นข้อมูลส่วนบุคคลอย่างนึงหรือเปล่าอ่ะ เพราะสามารถระบุตัวบุคคลนั้นได้(ด้วยการกอดเยซู)
มาอ่านอีกที มันคือข้อมูลประเภทที่หนึ่ง เครือญาติที่เกี่ยวข้อง และ บุคคลอื่นที่รู้จัก(ไม่ว่าตรงหรืออ้อม->พวกดาราไรเงี้ย) ใช่ป่ะ
มันหักมุมไงคุณ AMp อิ อิ 😛
ดาราด้วยเหรอคุณ 7 โหย งั้นคงไม่ใช่ข้อมูลส่วนบุคคลแล้วล่ะมั๊ง!!!