ไตรภาคีที่สำคัญในแวดวง SaaS จะประกอบไปด้วย …
- นายทุน ซึ่งเป็นผู้ออกตังค์ และหวังจะได้กำไร
- ผู้ให้บริการ ซึ่งอยากสร้างฝัน อยากทำฝันให้เป็นจริง อยากทำธุรกิจ และหวังจะทำให้ธุรกิจเติบโต
- ผู้บริโภค ซึ่งอยากจะได้รับบริการดี ๆ บริการเจ๋ง ๆ และหวังว่าจะได้รับบริการที่ฟรี
ที่สหรัฐอเมริกามีสมดุลของไตรภาคีที่เหมาะ เพราะมี “นายทุน” และ “ผู้บริโภค” จำนวนมาก ในขณะที่มี “ผู้ให้บริการ” ที่พอเหมาะ ดังนั้น แวดวง SaaS ของที่นั่นก็เลยเติบโตได้เติบโตดี
ตอนแรกผมคิดเอาไว้ว่า ถึงแม้เมืองไทยเราจะมี “นายทุน” (ซึ่งสนับสนุนธุรกิจ SaaS) น้อย แต่ยังไงซะก็คงจะมี “ผู้บริโภค” ที่ต้องการบริโภค SaaS อย่างอุ่นหนาฝาคั่ง!!!
แต่เอาเข้าใจจริงแล้วอาจจะไม่แน่ …
เพราะแท้ที่จริงแล้วอาจกลายเป็นว่า SaaS นั้นยังเป็นของใหม่สำหรับคนไทยอยู่ ดังนั้นอย่าว่าแต่จะมี “นายทุน” เข้ามาสนับสนุนเลย แม้แต่ “ผู้บริโภค” เองก็อาจจะมีจำนวนน้อยก็ได้!!!
และถึงแม้ “ผู้บริโภค” จะเป็นส่วนสำคัญที่สุดที่จะทำให้ “ผู้ให้บริการ” กล้าเสี่ยงที่จะให้บริการ SaaS แต่โดยส่วนตัวแล้วผมกลับคิดว่า “นายทุน” นั่นแหล่ะ คือผู้กุมชะตากรรมที่แท้จริง!!!
ถ้าตั้งแต่แรกไม่มี “นายทุน” คอยให้เงินหล่อเลี้ยง “ผู้ให้บริการ” ซึ่งมีสายป่านที่สั้นจุ๊ดจู๋ ป่านนี้เราคงจะไม่มีทางเห็นเว็บไซต์ที่ยิ่งใหญ่อย่าง Yahoo, Google, Youtube, eBay แหงม ๆ
ดังนั้น มาตั้งหน้าตั้งตาเป็น “นายทุน” กันดีกว่า อิ อิ 😛
[tags]ไตรภาคี, นายทุน, ผู้ให้บริการ, ผู้บริโภค[/tags]
ในไทยมี Venture Capital รึป่าวอะคับ?
เห็นภาพดีครับ ชอบบทความแบบนี้ครับ พอดีไม่ค่อยมีความรู้เรื่องภาพรวมเท่าไหร่ ^^’
น่าจะมีนะคุณ AMp แต่ผมไม่รู้ว่ามีเจ้าไหนบ้าง?
เขียนภาพรวมมันง่ายดีครับคุณ Shoot มันมั่วนิ่มได้ อิ อิ 😛
คาดว่าถ้าเราเป็นผู้ให้บริการในประเทศไทย
คงอาจจะต้องมีการโฆษณาชวนเชื่อ(แบบสุดโต่ง)
เพื่อเพิ่มฐานผู้บริโภค
ว่าแต่ว่าจะไปหานายทุนใจป้ำแบบสุดๆจากไหนล่ะ?
เป็นคำถามที่ยังรอคำตอบอยู่ครับ