ถ้าเรายังคงเป็น “ลูกจ้าง” ซึ่งจำเป็นต้องทำงานในระบบของผู้อื่น หรือเรายังคงเป็น “คนทำธุรกิจส่วนตัว” ซึ่งจำเป็นต้องทำงานให้กับระบบของตัวเองแล้วล่ะก็ สิ่งที่หลีกหนีไม่พ้นก็คือ เราต้องทำ “งาน”
คนที่เรียนทางคอมพิวเตอร์มา มักจะสับสนกับภาระงานของตัวเองมาก ไม่รู้ว่าตัวเองควรจะให้น้ำหนักกับงานไหนมากกว่ากันดี ซึ่งตรงนี้ต้องบอกว่าเป็นบทบาทของระดับจัดการ ที่จะวางกำลังคนของตนเองโดยดูจาก “เนื้องาน” ที่ระบบนั้น ๆ มีอยู่เป็นสำคัญ
งานคอมพิวเตอร์นั้นแบ่งออกได้เป็น 2 แบบใหญ่ ๆ คือ งานโครงการ ซึ่งเรียกให้สวยหรูว่า Project และ งานบำรุงรักษา ซึ่งเรียกด้วยศัพท์แสงภาษาอังกฤษว่า Application Management !!!
ประกาศรับสมัครงานส่วนใหญ่ที่เราเห็นอยู่ทุกวันนี้ เขาต้องการคนคอมพิวเตอร์เพื่อมาทำงาน Application Management เพราะงานดูแลระบบคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่แล้ว มันมีสัดส่วนที่มากกว่างานโครงการระบบคอมพิวเตอร์ใหม่ ๆ !!!
เมื่อเป็นแบบนี้ เราก็ต้องมาเจาะลึกกันว่า งานบำรุงรักษา หรือที่เรียกว่า Application Management นั้น มันควรจะประกอบไปด้วยงานอะไรบ้าง???
โดยตามหลักการ ITIL (ซึ่งมีหลายรุ่นซะเหลือเกิน) ได้กำหนดเอาไว้อย่างกว้าง ๆ ว่า งาน Application Management ที่เราต้องพบเจอนั้น จะประกอบไปด้วย …
1. งานแก้ไข Incident
คืองานแก้ไขปัญหา อันเกิดจากความผิดพลาดของระบบคอมพิวเตอร์ หรือไม่ก็เกิดจากความผิดพลาดของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ จนทำให้ระบบคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานได้อย่างที่มันควรจะเป็น และจำเป็นอย่างยิ่งที่เราต้องทำให้มันทำงานให้ได้โดยเร็วที่สุด มิเช่นนั้นเราอาจจะคอขาดได้
2. งานทำ Change Request
คืองานมูลนิธิใจบุญสุนทาน เป็นงานที่ทำเพื่อเปลี่ยนแปลงระบบคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่ ให้มันดียิ่ง ๆ ขึ้น หรือไม่ก็ทำให้มันแย่ยิ่งกว่าเดิม ซึ่งอันนี้ขึ้นอยู่กับความโลภของผู้ขอ และความไม่สันทัดกรณีของผู้รับงานมาทำ
3. งานทำ Operational Service
คืองานอันแสนจะน่าเบื่อสำหรับใครหลาย ๆ คน เพราะเป็นการทำอะไรที่ซ้ำซาก ต้องทำเป็นประจำตามช่วงเวลา เช่น อาจจะเป็น รายวัน, รายสัปดาห์, รายเดือน, รายไตรมาส หรือ รายปี โดยงานประเภทนี้ถ้าเปรียบเป็นการชกมวย ก็ต้องถือว่าเป็น fight บังคับ ไม่ต่อยไม่ได้ ถ้าไม่ต่อย เข็มขัดก็หลุดกระเด็น!!!
***
ทีนี้เราก็จะพอมองเห็นภาพแล้วว่า งาน Application Management นั้น มันก็มีแค่ 3 อย่างเนี่ยแหล่ะ ทำวนไปวนมา ทีนี้ก็ขึ้นอยู่กับระดับจัดการแล้วล่ะ ว่ามองภาพรวมของระบบคอมพิวเตอร์ที่ตัวเองดูแลอยู่ชัดหรือเปล่า ว่าภาระงานที่ดูแลอยู่นั้น มันหนักหนาในงานประเภทไหนกันแน่?
ยกตัวอย่างเช่น ถ้าระบบงานคอมพิวเตอร์ที่เราดูแลอยู่ มันมีแต่งานแก้ไข Incident เต็มไปหมด แต่เรามีคนไฟแรงชอบความท้าทาย แถมดูท่าทางจะทนไม่ได้ที่จะต้องมาแก้ไข Incident ซ้ำ ๆ ซาก ๆ แล้วล่ะก็ เราก็ควรจะพิจารณาให้คนเหล่านั้นมาทำงาน Change Request แทน เพื่อว่าการเปลี่ยนแปลงระบบคอมพิวเตอร์ให้ดีขึ้นด้วยน้ำมือของคนเหล่านี้ มันน่าจะสามารถทำให้ Incident ที่มีอยู่ลดฮวบฮาบลงไปก็ได้!!!
ท้ายที่สุดแล้ว ผลลัพธ์ของ “งาน” ก็ต้องขึ้นกับ “คน” เป็นสำคัญ ดังนั้น เราจำเป็นต้องวางคนที่ “ใช่” ในงานที่ “ชอบ” มากกว่า วางคนที่ “ชอบ” ในงานที่ “ใช่” นั่นเอง
[tags]งาน,คอมพิวเตอร์,ITIL,Application Management, Incident, Change Request, Operational Service[/tags]
ลงท้ายได้คมกริบจริงๆ
ผมเป็นพวกทำงานที่ชอบ(อู้) มานั่งอ่าน blog
ค่อนข้างครอบคลุมเลยครับ งานไอทีวนเวียนอยู่ประมาณนี้จริง ๆ โชคดีเหมือนกันที่ได้ทำเกือบจะทุกอย่าง ก็ดีนะครับ สนุกไปคนละแบบ ^^’
ผมเบื่อที่จะต้องมานั่งเก็บอะไรที่คนอื่นทิ้งไว้ให้ทำครับ
แต่ผมชอบที่จะทิ้งไว้ให้คนอื่นทำมากกว่า 5555+ 😀
เมื่อก่อนก็เคยต้องทำงานลักษณะนี้เหมือนกัน ถือเป็น 1 ในหลายๆๆๆ job description เพราะต้องเป็นทั้ง developer, Implelementator, IT Co-ordinator และสุดท้ายก็ต้องทำ Help (hell) desk นี่แหละ
ที่ยิ่งกว่าคือมันมี SLA (Service Level Agreement) คอยค้ำคอ ถ้าเจอ Incident หรือ Change Request ที่เป็นระดับ 1 หรือ 2 บ่อยๆ แทบจะคลั่ง (ปกติจะเจอแค่ปีละไม่ถึง 10 เคส แต่ส่วนใหญ่มันมาเป็น combo นะ มาที 2-3 เคสวันเดียวกันก็เคย T_T)
ผมว่าคนทำงานไม่ค่อยสับสนหรอกครับ แต่คน recruit หรือหัวหน้างานน่าจะสับสนมากกว่า เห็นประกาศรับสมัครงานส่วนใหญ่แล้ว (โดยเฉพาะบริษัทคนไทย) นึกว่ารับตำแหน่ง Superman ซะอีก 555
นายจวบ – จะเป็น superman ได้ ต้องควบตำแหน่ง designer ด้วยนะ
ส่วนผมเป็นพวกชอบอู้งานมานั่งเล่น Web-based Browser Game ครับคุณ figaro 😛
ผมไม่มีโอกาสได้ทำทุกอย่างเลยครับคุณ Shoot T-T เพราะโตเร็วไปหน่อย
แหมะ คิดเหมือนผมเลยคุณ AMp อิ อิ
เขาจะรับ Mr. Manhattan ต่างหากคุณจวบ, คุณ crucifier แค่ Superman ยังน้อยไป 😛