ผมเห็นในต่างประเทศกำลังคึกคักเรื่อง Software as a Service มากเลยครับ เพราะไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา, ยุโรป, เกาหลี และญี่ปุ่น ล้วนมีการสร้างระบบ Broadband Network ขนาดใหญ่กันอย่างขะมักขเม้นเลย ซึ่งไอ้เจ้า Broadband Network ขนาดใหญ่จะเป็นเหมือนกับทางด่วนขนาดใหญ่ที่จะทำให้การบริการแบบ Software as a Service สัมฤทธิ์ผลได้
ปัจจุบันเราก็รู้ ๆ กันอยู่ครับว่า software ถูกละเมิดลิขสิทธิ์อย่างหนักมาก ผมเองก็ไม่ได้ใช้ software ละเมิดลิขสิทธิ์แล้ว เพราะ software ของที่ทำงานกับที่ download มา free จาก internet ก็พอใช้อยู่แล้ว
ดังนั้นแนวคิด Software as a Service จึงถูกแพร่หลายอย่างกว้างขวาง เพื่อมาอุดรูรั่วของการละเมิดลิขสิทธิ์ดังกล่าว
ธุรกิจก็คือธุรกิจครับ ถ้ากระแสเงินสดไม่เป็นบวก ต้นทุนในการดำเนินงานสูง กำไรสุทธิน้อย ก็คงไม่มีใครอยากจะมาทำ Enterprise Software กันให้เมื่อยตุ้ม
ก่อนที่เราจะมาดูความต่างของทั้งสองอย่างนี้ เรามาทำความเข้าใจนิยามของทั้งสองอย่างก่อนดีกว่า โดยขออนุญาติแทนตัวผมเป็นบริษัทผู้ให้บริการ และแทนคุณผู้อ่านว่าเป็นลูกค้าก็แล้วกัน
Software as a Service คือการที่ผมอาจจะมี หรือไม่มี Hosting ของตัวเองแล้วต้องไปเช่าคนอื่นอีกทอดนึงก็ได้ แล้วผมนำ software ของผมไปวางไว้บน hosting ดังกล่าว โดย software ของผมจะอยู่บน platform ของ web based เป็นหลัก เพื่อให้คุณสามารถเข้ามาติดต่อใช้งานได้โดยผ่าน web browser ซึ่ง software ของผมอาจจะสร้างด้วย PHP, ASP, JSP, Java Enterprise Edition, ColdFusion หรือ CGI อื่น ๆ เป็นต้น อีกทั้งอาจจะมีคุณสมบัติของ pure html, dynamical page หรือ java applet features เป็นต้น
ซึ่งการที่ผมติดตั้ง software ไว้แบบนี้ เมื่อคุณซึ่งเป็นลูกค้าติดต่อเข้าสู่ hosting ปุ๊ป เจ้า software ของผมก็จะถูกขนส่งไปหา web browser ของคุณปั๊ปเลย โดยอาศัย technology TCP/IP และ HTTP ที่เรา ๆ ท่าน ๆ ใช้กันอยู่เนี่ยแหล่ะ
เมื่อผมติดตั้ง software แล้ว ผมก็ต้องดูแลรับผิดชอบมันด้วยตนเองครับ เพราะ hosting ก็คือ hosting เขาไม่มาสนใจอะไรกับ software ของผมหรอก หน้าที่ของเค้าก็แค่ให้บริการในส่วนของ hosting, ให้บริการ backup, ให้บริการ control panel ดี ๆ เพื่อมาจัดการ hosting ในส่วนที่เป็น instance ของผมก็เท่านั้น!!!
ดังนั้นหาก software ของผมไม่สามารถส่งไปถึง client ของคุณได้อย่างถูกต้องสมบุรณ์ ก็จะเป็นธุระของผมที่จะต้องแก้ปัญหาเหล่านั้น เพื่อมาบริการคุณนั่นเอง
ตัวอย่างของ Software as a Service ระดับโลกที่เรากำลังใช้ free อยู่ก็มี Windows Live ของ Microsoft และ Google Docs & Spreadsheets เป็นต้น พวกนี้ไม่เก็บตังค์ครับ ยังโชคดี กำลังคิดอยู่เหมือนกันว่าใช้จนติดงอมแงมแล้ว ไม่รู้จะเก็บตังค์เมื่อไหร่
Application Service Provider คือการที่ผมเนี่ยมีตังค์ ผมก็เลยสร้างศูนย์คอมพิวเตอร์ขึ้นมา ยกพื้นด้วยครับ ยกพื้น 30 เซ็นติเมตรตามหลักการเลย แอร์ก็พ่นจากพื้นเลย เพราะแผ่นพื้นที่ใช้ปูพื้น บางแผ่นมีรู ๆ ให้แอร์พ่น ๆ ออกมาได้ จากนั้นผมก็สั่งซื้อ computer ระดับ server มาครับ ซื้อมา 2 – 3 ตัว เอาแบบ specification ใหญ่ ๆ เลย แบบว่า CPU แรง ๆ แบบว่า RAM เยอะ ๆ แล้วก็ Hard Disk เยอะ ๆ ทำ RAID ด้วยยิ่งเจ๋งเลย แล้วก็จ้าง System Administrator ซักคนนึงมาดูแล
ถ้าผมอธิบายหยุดถึงแค่นี้ ก็แสดงว่าผมไม่ได้ทำธุรกิจ Application Service Provider หรอกครับ ผมแค่กำลังทำธุรกิจ Hosting ธรรมดาเท่านั้นเอง ใช่แมะ ๆ
แต่ถ้าผมลงทุนไม่ไหวผมก็เข้า program reseller ของ hosting ของเมืองนอก ที่เค้ามีทุกอย่างข้างบนที่ผมกล่าวมา มันก็เหมือนการเป็นตัวแทนจำหน่ายดี ๆ นี่เอง เพียงแต่ผมอาจจะต้องทำการตลาดเสริมเพื่อเจาะกลุ่มเป้าหมายในท้องถิ่นของผมเอง ส่วนกลไกและระบบพื้นฐาน ทางเมืองนอกเค้าจัดการให้หมดอยู่แล้ว
ทีนี้ย้อนกลับมาที่ Application Service Provider ต่อ ผมจะเล่าต่อว่า หลังจากที่ผมมี Hosting เรียบร้อยแล้ว มีการจัดจ้าง System Administrator มาแล้ว ผมก็เจาะกลุ่มเป้าหมายของผมว่า เช่น ผมจะเป็นผู้ให้บริการผลิตภัณฑ์ของ Oracle ทีนี้ผมต้องทำไงบ้าง
ผมต้องจ้าง Database Administrator ครับ เพื่อให้มาดูแลฐานข้อมูลของลูกค้า, ผมต้องจ้าง Specialist ที่ควรจะมี Oracle Certificated หรือมีความเชี่ยวชาญในการ configure Oracle
จากนั้นเมื่อคุณเป็นลูกค้าผม คุณอยากจะใช้ Oracle Financial คุณจะติดต่อผมแล้วแจ้งแก่ผมว่าคุณได้ซื้อ Oracle Financial จากบริษัท Oracle แล้ว คุณได้ license มาแล้ว แต่เนื่องจากองค์กรของคุณไม่มีศูนย์คอมพิวเตอร์ที่จะรองรับ, Server คุณก็เล็กไป และคนไอทีของคุณก็เก่งแต่สร้าง software ตัวเล็ก ๆ แต่ไม่เก่งทางด้านการดูแล software ใหญ่ ๆ
เมื่อผมได้รับการติดต่อและทำสัญญาการจ้างกับคุณ ผมก็จะเอา Oracle Financial ที่คุณซื้อมามาติดตั้ง, ผมจะเป็นผู้ประสานงานกับบริษัท Oracle กรณีที่มีการ upgrade patch ตัวใหม่ ๆ, ผมจะช่วย configure ในระดับ Basis ให้กับคุณ, ผมจะช่วยดูแลข้อมูลให้กับคุณและจะไม่ละเมิดข้อมูบของคุณ, ผมจะช่วยนัดประชุมคุณกับบริษัท Oracle กรณีที่ต้องมีการ upgrade features ใหม่ ๆ, ผมจะ monitor ประสิทธิ์ภาพของระบบ Basis ให้กับคุณ และถ้าระบบของคุณเกิดปัญหาขึ้น คุณไม่ต้องทำอะไร แค่โทรมาด่าผมก็พอ แล้วผมก็จะรีบ ๆ ไปจัดการแก้ปัญหาให้คุณโดยทันท่วงที
จะเห็นว่าถึงแม้โดยรูปแบบแล้ว Software as a Service จะมีความคล้ายคลึงกับ Application Service Provider ตรงที่ software ถูกวางไว้ที่ Server ไม่ได้ถูกติดตั้งไว้ที่ Client แต่จุดต่างของทั้งสองกลับอยู่ที่ประเด็นของการบริการมากกว่า
ผมเชื่อว่าต่อไป software ส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของ Software as a Service ครับ เพราะผมเคยคุยกับเพื่อนผมซึ่งเป็นผู้จัดการ System Administrator เขาแสดงวิสัยทัศน์ไว้งี้ครับ
เขาบอกว่าต่อไป computer ของพวกเราจะกลายเป็นเหมือนเครื่องรับโทรทัศน์ คือพอ boot ปุ๊ปก็จะเปิดกลไก wireless ของตัวเอง แล้วค้นหาคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในย่านความถี่ที่ตกลงกับ Internet Service Provider จากนั้นก็จะต่อเชื่อมเข้า internet โดยอัตโนมัติ แล้วเมื่อต่อเชื่อมได้แล้ว ก็จะเชื่อมต่อไปยัง Operating System Service Provider เพื่อโหลดระบบปฏิบัติการบางส่วนมาไว้ที่เครื่อง computer ของเรา ซึ่งถึงตอนนั้นอาจจะเป็น Microsoft หรือ Google หรือบริษัทเอกชนรายอื่น ๆ ก็ได้ที่เป็นผู้ให้บริการระบบปฏิบัติการแบบนี้
แล้วเมื่อ boot ได้แล้วและได้ Operating System มาแล้ว พอเราจะใช้ software ต่าง ๆ เราก็ติดต่อกับ website ที่ให้บริการ software นั้น ๆ ได้เลย โดยที่ software และข้อมูลไม่ต้องบรรจุไว้ใน computer ของเราอีกแล้ว
ข้อดีมันก็คือเราไม่ต้องมาติดตั้ง software ให้เมื่อยตุ้มแล้ว แถมข้อมูลของเราก็อยู่ที่ server ด้วย การจะทำอะไร ๆ ที่ไหนมันก็สะดวกแล้ว ไม่ต้องขึ้นอยู่กับ computer ของเราอีกต่อไป
แต่ข้อเสียมันน่ากลัวกว่า เพราะการถูกละเมิดลิขสิทธิ์จะถูกควบคุม เราต้องจ่ายเงินเพื่อการได้รับการบริการ หรือถ้าบางรายปราณี อาจจะไม่ให้เราจ่ายค่าบริการ แต่บังคับให้เราดูโฆษณาแทนก็เป็นได้ อีกทั้งเรื่องของข้อมูลก็เป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะข้อมูลของเราถูกบรรจุไว้บน server ซึ่งทำให้ง่ายต่อการถูกสืบค้น และถึงแม้ว่าระบบ software ที่เค้าให้บริการกับเราจะอนุญาติให้เราบันทึกเอกสารของเราไว้ที่เครื่อง computer ของเรา ซึ่งตอนนั้นคงกลายเป็น dump terminal ได้ แต่ยังไงเขาก็สามารถเข้ามา scan ในเครื่อง computer เราได้อยู่ดี
ถึงตอนนั้น ซึ่งคงไม่ไกลเกิน 10 ปี นักพัฒนา software และผู้ทำธุรกิจเกี่ยวกับ software ก็คงต้องปรับตัวตามเป็นการใหญ่ทีเดียวแหล่ะ
น่าสนใจดีครับ ติดตรงที่จะคิดตังค์เมื่อไหร่นี่แหละ อันนี้น่าคิดครับเพราะบางครั้งเราเองก็เดาไม่ถูกเหมือนกันครับ เหอ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ 🙂
เป็น ข้อเสียที่น่ากลัว เรื่องข้อมูลของเรา มีวิธีแก้ไขในเรื่องนี้ในอนาตคยังไงครับ
ถึงตอนนั้นเราต้องใช้ เราก็คงต้องจ่ายครับคุณสิทธิศักดิ์
ผมว่ากฎหมายอาชญกรรมคอมพิวเตอร์คงพัฒนาไปมากทั้งในประเทศต่าง ๆ รวมทั้งประเทศไทยด้วย ดังนั้น เรื่องข้อมูลความเป็นส่วนตัวของเรา เราคงไม่ต้องไปกังวลมากครับคุณหมี อย่างมากเราจับได้ ก็ฟ้องซะเลย
ไม่มีของฟรีในโลกนี้เลยเหรอ งั้น มาช่วยกันพัฒนา Linux กันดีกว่า จะได้มีของฟรีให้ลูกหลานเราใช้