เรามาดูกันดีกว่าว่า สงครามแบบแยกย่อย ซึ่งเกิดขึ้นในเขตฉุกเฉินของกรุงเทพมหานครและจังหวัดอื่น ๆ ในช่วงวันที่ 15 พ.ค. 2553 ถึง 21 พ.ค. 2553 สร้างความเสียหายกับอะไรบ้าง โดยเน้นไปที่วงการไอทีเป็นสำคัญ!!!

ตามโมเดล ความมั่งคั่งปฏิวัติ เขียนโดย Alvin & Heidi Toffler แปลโดย คนชายขอบ

ในหนังสือ ความมั่งคั่งปฏิวัติ หน้าที่ 74-85 ได้อธิบายถึง การปะทะกันระหว่างความเร็ว ซึ่งผมจะหยิบยกมาใช้เพื่อการอธิบาย ดังนี้ …

  1. 100 ไมล์ต่อชั่วโมง = ภาคธุรกิจ
  2. 90 ไมล์ต่อชั่วโมง = ภาคประชาสังคม
  3. 60 ไมล์ต่อชั่วโมง = ครอบครัว
  4. 30 ไมล์ต่อชั่วโมง = สหภาพแรงงาน
  5. 25 ไมล์ต่อชั่วโมง = หน่วยงานรัฐ
  6. 10 ไมล์ต่อชั่วโมง = ระบบโรงเรียน
  7. 5 ไมล์ต่อชั่วโมง = องค์กรโลกบาล
  8. 3 ไมล์ต่อชั่วโมง = โครงสร้างทางการเมือง
  9. 1 ไมล์ต่อชั่วโมง = กฎหมาย

จริง ๆ มันเป็นหนังสือที่เขียนโดยคนอเมริกัน สะท้อนภาพรวมของอเมริกัน แต่ผมเห็นว่าหลาย ๆ อย่างมันพอจะกล้อมแกล้มเข้ากับพี่ไทยเราได้ ก็เลยนำโมเดลการเปรียบเทียบมาใช้!!!

สีแดงที่ป้ายเอาไว้บอกถึงสิ่งที่ได้รับความเสียหายจากสงครามฯครั้งที่ผ่านมา ซึ่งจะเห็นว่าครั้งนี้ไม่เกี่ยวกับวงการไอที เพราะภาคธุรกิจที่ได้รับความเสียหายในครั้งนี้ คือภาคการค้าปลีกสินค้าอุปโภคบริโภค ในขณะที่ภาคธุรกิจซึ่งเกี่ยวข้องกับการผลิตและการให้บริการด้านไอที ยังไม่ได้รับความเสียหายโดยตรงจากสงครามฯครั้งนี้มากนัก … แต่ครั้งหน้าไม่แน่!!!

ตามโมเดล เงินตราแห่งอนาคต เขียนโดย Bernard Lietaer

ในหนังสือ เงินตราแห่งอนาคต หน้าที่ 2-19 ได้อธิบายถึง เครื่องย่นกาลเวลา ซึ่งเป็นสิ่งเร่งให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในสังคม โดยมีเงินตราเป็นพาหะสำคัญในการเปลี่ยนแปลง อันได้แก่ …

  1. อายุขัยที่ยืนยาวขึ้นของประชากร
  2. การปฏิวัติเทคโนโลยีสารสนเทศ
  3. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการสูญสิ้นความหลากหลายของชีวภาพ
  4. ระบบการเงินไร้เสถียรภาพ

ผมไม่ได้ป้ายสีแดงเอาไว้ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าสงครามฯครั้งนี้ ไม่ได้สร้างความเสียหายใด ๆ กับ เครื่องย่นกาลเวลา ทั้งสี่แหล่งเลย (ถึงแม้การเผาเมืองจะทำให้สภาพภูมิอากาศเสียก็เถอะ) นั่นหมายความว่าเครื่องย่นกาลเวลาก็ยังคงตั้งหน้าตั้งตาทำงานของมัน และยังคงตั้งหน้าตั้งตาปฏิวัติเทคโนโลยีสารสนเทศต่อไป!!!

ตามโมเดล คลื่นลูกที่สาม เขียนโดย Alvin Toffler

ในหนังสือ คลื่นลูกที่สาม ทั้งเล่ม ได้อธิบายถึงสังคมที่เคลื่อนผ่านของอารยธรรมมนุษย์ตลอดหลายพันปีที่ผ่านมา โดยตั้งอยู่บนความเหลื่อมซ้อนของพื้นฐานทางสังคมที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็น …

  1. สังคมเกษตรกรรม
  2. สังคมอุตสาหกรรมโลว์เทค
  3. สังคมอุตสาหกรรมไฮเทค

สำหรับวงการไอทีเรา ถือว่าอยู่ในสังคมอุตสาหกรรมไฮเทค อือม จะว่าเป็นเรื่องดีหรือไม่ดีหรือเปล่าก็ไม่รู้นะ เพราะอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ไฮเทคของไทยเราส่วนใหญ่ ล้วนนำเข้ามาทั้งนั้น ยิ่งซอฟต์แวร์ยิ่งไม่ต้องพูดถึง ยิ่งนำเข้ามาทั้งดุ้นเข้าไปใหญ่ ดังนั้น หากเกิดความเสียหายกับ ท่าเรือ หรือ สนามบิน หรือ ธุรกิจโทรคมนาคม จึงจะเกิดความเสียหายกับสังคมอุตสาหกรรมไฮเทคไทยโดยตรง

โดยส่วนตัวแล้วมองว่า สงครามแบบแยกย่อย ยังจำเป็นต้องใช้โมเดลอีกหลาย ๆ แบบเพื่อการอธิบายครับ เพื่อการป้องกันและป้องปรามความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต!!!

[tags]สงคราม, แยกย่อย, สงครามแบบแยกย่อย[/tags]

Related Posts

4 thoughts on “สงครามแบบแยกย่อย

  1. วิกฤตทุกอย่างเราจะผ่านไปได้ ถ้าเรามีอาชีพสำรอง เหมือนการทำเกษตรล่ะครับ ปลูกพืชเชิงเดี่ยวความเสี่ยงสูง แต่ถ้ารอดก็เหมือนถูกหวยรางวัลโบนัส แต่ถ้าผสมผสาน พืชตัวหนึ่งราคาตก เราก็ยังมีตัวอื่นประคองชีวิตไปได้เรื่อยๆ

    ผมถนัดด้านเกษตรของอธิบายไปในทางนี้ละกัน แฮ่ะๆ

    สรุป : บุคลากรด้านไอที ก็ควรมีอาชีพสำรอง หรือทักษะด้านอื่น เผื่อใช้เลี้ยงชีพยามฉุกเฉิน หากไอ้โมเดลตามที่พี่อ้างอิงมามันเกิดขึ้นมาจริงๆ

  2. อ่านหัวข้อนี้ ใช้ความรู้สึกล้วน ๆ ครับคุณ AMp

    ผมไม่ได้ยินคำว่า “ปรมัตถ์” มานานแล้ว จำไม่ได้แล้วว่าหมายความว่ายังไง พอเห็นคุณ gingtalk บอก ผมก็เลยไปหาถึงได้รู้ว่า … ศัพท์มัน … สูง … จริง ๆ!

    ตอนนี้ผมกำลังทำเกษตรประณีตบน Facebook อยู่ครับคุณ ironkong ^-^ อิ อิ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *