การประสานงานกับ Consultant

ตอนนี้โลกเรากำลังค่อย ๆ เปลี่ยนไปตามคำทำนายของนักอนาคตศาสตร์ครับ ผมเองเคยได้มีโอกาสอ่านหนังสือชื่อ The Future of Money ในนั้นอธิบายเรื่องการจ้างงานเอาไว้ด้วย มีความตอนนึงบอกว่า ต่อไปองค์กรจะลดขนาดลง เพราะทุกองค์กรต้องการลดต้นทุน อีกทั้งต้องการให้ผลผลิตหรือการบริการมีคุณภาพสูง จึงมีความจำเป็นต้องจ้างบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญในการผลิตหรือการบริการนั้น ๆ มาทำงานให้ แทนที่จะสร้างคนในองค์กรเพื่อมาจัดการเรื่องดังกล่าวแทน

กลุ่มคนหรือบริษัทที่มาทำงานให้เราตรงนี้ มักถูกเรียกขานด้วยชื่อเรียกมากมาย แต่ชื่อที่นิยมเรียกกันก็คือ “consult” โดยรากศัพท์แล้ว consult หมายถึงผู้เชี่ยวชาญ แต่สำหรับผมแล้ว consult คงหมายถึง ผู้รู้, ผู้ตื่น, ผู้เบิกบาน 🙂 ผมมักพูดงี้เสมอกับเหล่าบรรดา consult ซึ่งทำให้พวกเขาปัดกันพัลวน แล้วก็ตอบกลับผมมาว่า “คุณไท้ ผมไม่ใช่พระพุทธเจ้านะ ถึงจะเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานน่ะ” 🙂 ก็ผมชอบเรียกงี้อ่ะ เท่ห์จะตายไป ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน

เราพักเรื่องการคุยเล่นกับ consult เอาไว้ก่อน แล้วแวะกลับมาให้ความสนใจกับเรื่องอื่นก่อนดีกว่า 🙂

ปรกติแล้ว ไม่ว่าจะเป็นองค์กร IT ไหน ๆ ในโลกนี้ก็ต้องประกอบด้วยสิ่งหลัก ๆ คือ ทุน, technology และแรงงาน ไอ้เจ้าทุนกับ technology จัดการง่ายครับ แต่แรงงานจัดการยากอ่ะ ดังนั้นเขาก็เลยมีการจัดการอะไรหลาย ๆ อย่างเพื่อปกครองแรงงานก็คือบุคลากรในองค์กรนั่นแหล่ะ ซึ่งวิธีที่เป็นที่นิยมก็คือการจัดสายการบังคับบัญชา และการจัดผังองค์กร

general_org.jpg

จากภาพการจัดองค์กรข้างบน เราจะเห็นว่าไม่ว่าองค์กร IT ที่ไหนก็จัดแบบนี้ เรียบง่ายดีเน้อะ

ระดับบริหาร ก็ตั้งหน้าตั้งตากำหนดนโยบาย, หาเงินเข้าองค์กร, จัดสรรเงินที่ได้มาเป็นงบประมาณ หรือพูดง่าย ๆ ก็คือผู้บริหารจะยุ่งอยู่กับเงินและนโยบายที่ทำให้ได้เงินหรือเสียเงิน

ระดับจัดการ ก็ยุ่งอยู่กับคน งานหลักของระดับจัดการก็คอยสั่งคนโน้นคนนี้ให้ทำโน่นทำนี่ เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายที่ทำให้ได้เงินหรือเสียเงิน ซึ่งกำหนดมาโดยระดับบริหาร

ระดับปฏิบัติการ วัน ๆ ก็หัวหมุนอยู่กับงาน งาน งาน และงาน ซึ่งมอบหมายมาโดยระดับจัดการที่คอยเอาแต่สั่งโน่นสั่งนี่ ให้ทำโน่นทำนี่ แล้วก็ทำออกมาแล้วไม่รู้ว่าทำให้ได้เงินหรือเสียเงิน รู้แต่ว่าทำออกมาดี ก็เท่านั้น

อันนี้เรียกว่าต่างกรรมต่างวาระครับ หมวกของใครก็เล่นไปตามบทของตัวเอง ผมใส่หมวกหลายใบแล้วครับ เลยรู้ว่าคนแต่ล่ะระดับเค้าคิด เค้ามีกรรมอะไร

ทีนี้จะเห็นว่าถ้างานมันไม่มาก งานมันเป็นงานที่ไม่ต้องการความเชี่ยวชาญ และงานมันไม่ต้องการให้ผลลัพท์ออกมาด้วยความรวดเร็วและดีเลิศ เราก็คงไม่ต้องคิดถึง consult จริงแมะ? แต่บางทีมันไม่ใช่งั้นอ่ะดิ บางทีเราก็อยากให้มันออกมาดี และที่สำคัญคนในองค์กรเรา ดันทำไม่ได้ด้วยน่ะสิ ทีนี้ก็คงต้องมี consult เพื่อมาช่วยชี้แนะให้คนในองค์กรเรา ทำให้ได้อ่ะ

joint_org.jpg

จะเห็นว่าเมื่อองค์กรของเรามีการจัดจ้าง consult เข้ามาเป็นที่ปรึกษา คอยชี้แนะแนวทางการทำงานให้เป็นมาตรฐานแล้ว คนระดับบริหารก็จะได้นวัตกรรมใหม่ ๆ ในเรื่องเงิน และงบประมาณ ในขณะที่คนระดับจัดการ ก็จะได้วิธีการใหม่ ๆ ในการจัดการกับคนในบังคับบัญชาของตน เป็นการจ่ายเพื่อซื้อความรู้จาก consult ต่อไปตั้งแต่ระดับบริหารไปจนถึงระดับปฏิบัติการ ก็จะได้ทำอะไร ๆ ให้มันเป็นมาตรฐาน, เป็นสากล และสร้างผลผลิตและการบริการที่ดี ๆ ขึ้นไป

โดยลักษณะของการจัดจ้าง consult ตามผังองค์กรข้างบน เป็นความคิดแนวอนุรักษ์นิยมครับ โดยความคิดนี้องค์กรจะพยายามสร้างสรรค์คนในองค์กรและระบบขององค์กรให้มีความก้าวหน้ายิ่ง ๆ ขึ้นไป เป็นแนวที่ให้ความสำคัญกับการเติบโตของคนในองค์กรเป็นหลัก ซึ่งผมว่าดีนะ เพราะเห็นบริษัทใหญ่ ๆ โต ๆ ในระดับประเทศเขาก็คิดเขาก็ทำกันแบบนี้

แต่เรื่องจริงมันเป็นงี้ป่าวอ่ะ???? เปล่า …. เพราะอะไร เพราะตอนนี้มันเป็นเสรีนิยมใหม่ อะไร ๆ มันก็ต้องแข่งขัน ดังนั้นบางครั้งระดับบริหาร ก็ไม่สนใจการสร้างหรือส่งเสริมคนในองค์กร ให้มีมาตรฐานยิ่ง ๆ ขึ้นไปหรอก เขาเลือกที่จะจ้าง consult เพื่อมาทำงานให้ได้ผลผลิตและการบริการที่ต้องการมากกว่า ซึ่งเป็นศัพท์เฉพาะที่เรียกว่า “outsourcing

outsource_org.jpg

จริง ๆ แล้วแบบนี้มันก็ดีอ่ะครับ จ้างบริษัทที่เค้าเก่งเรื่องนี้มาทำไปเลยหมดเรื่องหมดราว เช่น เราไม่รู้ระบบ Enterprise Resource Planning ก็จ้างเขามาทำให้ หรือเราอยากได้ software ที่เป็นชุดใหญ่ ๆ แต่คนของเราทำได้แต่ software ที่เป็นชิ้น ๆ เราก็จ้าง consult มารับไปเลย เป็นต้น

ในช่วงที่บริษัทเหล่านั้นรับ outsource ไป เขาก็มีระบบการจัดการงานและคนของเขาเอง เราก็ไม่ต้องไปยุ่งเกี่ยว เพียงแต่ถ้าเกิดอะไรขึ้น เขารับเต็ม ๆ แล้วพอเขาทำทุกอย่างเสร็จแล้ว เขาก็ส่งมอบมาให้คนของเราดำเนินการต่อไป ซึ่งถ้าต่อสัญญาไปเรื่อย ๆ คนของเราก็ไม่ต้องทำงานดังกล่าว แล้วเราก็จะได้นำคนของเราไปทำอย่างอื่นที่มันถึก ๆ เป็นงาน routine อันแสนน่าเบื่อแทน (เอ ดีไหมหว่าแบบนี้)

จริง ๆ แล้วไม่ว่าจะเป็นรูปแบบจ้าง consult มาให้คำปรึกษา หรือจ้าง consult มารับงาน outsource ของเราไป ผมก็เจอมาแล้วทั้งนั้น รู้ว่า consult เหล่านี้ต้องการอะไร มีจุดอ่อน จุดแข็งยังไง คุยด้วยได้ ไม่มีปัญหา

แต่บางครั้งก็ไม่เป็นแบบนั้นเสมอไปครับ อย่างองค์กรที่ผมทำงานอยู่อ่ะนะ งานมันเยอะมาก แล้วก็ต้องการแต่ผลผลิตและบริการที่ดีเลิศทั้งนั้น ลำพังคน IT ในองค์กรมันทำไม่ไหว ทีนี้ระดับบริหารก็ออกแนวอนุรักษ์นิยมปนกับเสรีนิยมใหม่ คือก็อยากให้งานมันออกมาผลลัพท์ดี แถมอยากจะให้คนในองค์กรได้พัฒนาตัวเองไปด้วย เอ้อ เขาก็เลยออกแบบองค์กรให้เป็นแบบนี้ครับ

strange_org.jpg

ผมล่ะเอ๋อไปเลยกับการจัดองค์กรแบบนี้ เพราะต้องนำคนของระดับปฏิบัติการไปขึ้นกับระดับจัดการของ consult แค่ขึ้นตรงเฉย ๆ ไม่พอนะ แบบว่าต้องเป็นเสมือนหนึ่งระดับปฏิบัติการของบริษัท consult ด้วย จะขาด, ลา, มา, สาย ต้องแจ้งกับบริษัท consult ด้วย, ได้รับ bonus หรือ intensive จากบริษัท consult ด้วย และสุดท้าย consult จะเป็นผู้ประเมินผลการทำงานแล้วส่งคืนให้กับองค์กรต้นสังกัด เพื่อเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่งต่อไป

แต่ consult ไม่จ่ายเงินเดือนครับ, ไม่กำหนด career path, ไม่ promote ครับ ทุกอย่างยังอยู่ในอำนาจขององค์กรเดิมอยู่

คนในทีมผมสองคนถูกดึงตัวเข้าไปแปะไว้ในระดับปฏิบัติการของการจัดองค์กรแบบนี้ครับ หงุดหงิดมาก เพราะทาง consult บอกว่าเมื่อส่งตัวมาให้แล้ว(ใครอยากส่งให้ไม่ทราบ ถ้านายไม่สั่งมา ไม่ให้หรอก) งานเดิมก็ต้องค่อย ๆ ทยอยปล่อยออกจากตัวไป ส่วนงานใหม่ทาง consult จะเป็นคนมอบหมายเอง แล้วผมจะทำไงเนี่ย ผมชอบใช้คนเก่ง ๆ นะ เอาคนเก่งของผมไป ผมก็ต้องหาใหม่อ่ะดิ บ่น ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ

คิดว่าต่อไป ถ้าผ่านไปซักครึ่งปีแล้วมันออกมาดี ได้ผลลัพท์ดี ต่อไปเขาก็ต้องคิดจะทำองค์กรแบบข้างล่างนี้แน่ ๆ เลย

surprise_org.jpg

เฮ้อ ถึงตอนนั้นก็คงค่อยว่ากันแล้วกัน เพราะผมคงจะกินข้าวไปอีกหลายกระสอบเลยล่ะ 😛

[tags]การจัดองค์กร, consult, outsource, คน IT[/tags]

Related Posts

5 thoughts on “การประสานงานกับ Consultant

  1. ได้ความรู้อย่างมากครับ, diagrams ก็สวยดูแล้วเข้าใจง่ายดี
    การเป็น consultant นั้น (ผมว่าไม่ใช่เรื่องง่าย) ต้องเป็นผู้ที่ความรู้และประสบการณ์(เน้นมาก) และทักษะการสื่อสาร(รวมถึงการต่อรองทางธุรกิจไปด้วย)

    ผมเคยไปปรึกษาเรื่องเรียน กับ Thai education agency รายหนึ่ง ผมบอกกับทาง consultant ผู้นั้นว่า ต้องการศึกษาต่อ และบอกเค้าไปว่า background ในชีวิตผม มีแต่ IT แต่ก็สนใจเรื่องธุรกิจ(วิชา MBA ยากจิงๆ 🙁 )

    เค้าแนะนำว่าให้ไปเรียน printing ไปดูไหม…. เพราะว่า bah bah bah ….
    (consultant ท่านนี้จบ B.Sc Logistics)

    จากนั้น ไปอีกทีหนึ่ง แต่เป็น Chinese agency เค้าแนะนำให้เรียน IT ไม่ก็ IS จะได้ต่อยอดความรู้ไปอีกขั้น (consultant ท่านนี้จบ M.Comm)

    คุณคิดว่าผมจะเชื่อใครครับ? 🙂 (แน่นอนต้องเชื่อตัวเองอยู่แล้ว ฮ่าๆ)

    เพิ่มเติมนิดหน่อยครับ consult [V] = ปรึกษา, ทำงานให้คำปรึกษา, ขอคำปรึกษา (http://dict.longdo.com/?search=consult)
    consultant [N] = ผู้ให้คำปรึกษา, ดังนั้นใน diagrams ผมจึงคิดว่า น่าจะใช้คำว่า consultant(s) มากกว่านะ 🙂

  2. ????????? ????????????????????????????????????????????????????? ?????????????????????????????????????????????????????????????? ???????????????????????????????????????????????? consult ????????????????????? ??????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????? ??? ????????????????????? ??????????????????????????????????????????????????????????? ?????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????? :’-( ????????????????????????????????????????????????? ????????????????????????????????????

  3. ไม่เป็นไรหรอกครับผมเองก็เคยเป็น Consult มาก่อนครับสิ่งที่หลายคนบอกว่ายากเราทำให้ง่ายได้ แต่สิ่งที่เราคิดว่ายากหาคนที่ทำให้ง่ายไม่ได้ คุณเชื่อผมเถอะเหนื่อยสุดยอดครับ คนเรามีผิดมีถูกตลอดเวลาครับไม่มีอะไรถูกทั้งหมด และ ผิดทั้งหมดครับ 🙂

  4. ก็ consult คือผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานไง คุณสิทธิศักดิ์ ก็ต้องเหนื่อยสุดยอดเป็นธรรมดาแหล่ะ

  5. consult นี่ เพื่อนผมที่มันเป็นมันบอกว่า
    คือคนที่ไม่รู้อะไรเลย แต่ทำเหมือนรู้ดี อิอิ
    (ให้ลูกค้าเชื่อก็พอ)

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *