ระดับของนักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์

อาจารย์ผมเล่ามา ผมเลยเล่าต่อ คืองี้ ท่านบอกว่าเดี๋ยวนี้เด็กมอปลายเก่ง เขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์กันกระจุย ให้เขียนโปรแกรมแก้ปัญหา ก็ทำได้ใน 10 นาที เลยอยากจะบอกว่า มันมีระดับของจุดมุ่งหมายที่แตกต่างกัน ดังนี้

  1. ระดับมอปลาย คือ ให้ทำ ทำได้ รู้วิธีทำ ทำบ่อย คล่อง เช่น ให้เขียนโปรแกรม quick sort ก็ทำได้ใน 10 นาที เป็นต้น
  2. ระดับปริญญาตรี คือ การทำได้แต่อาจจะไม่เก่งเท่าเด็กมอปลายเทพ ๆ บางคนถือเป็นจุดมุ่งหมายรอง ส่วนจุดมุ่งหมายหลักคือ อธิบายได้ว่าทำไมต้องทำแบบนี้ อะไรคือแรงจูงใจ อะไรคือเหตุผลในการใช้วิธีแก้ปัญหานี้ เช่น อธิบายได้ว่า quick sort มันดีกว่า insertion sort ยังไง แล้วการแก้ปัญหาแบบนี้ ทำไมไม่ใช้ insertion sort เป็นต้น
  3. ระดับปริญญาโท คือ การต้องทำได้, การอธิบายแรงจูงใจและเหตุผลได้ ถือเป็นจุดมุ่งหมายรอง ส่วนจุดมุ่งหมายหลักคือ อธิบายประสิทธิภาพของวิธีแก้ปัญหาได้ เช่น อธิบายได้ว่า insertion sort, bubble sort หรือ selection sort มีประสิทธิภาพเทียบได้เป็นอัตราการเติบโต น้อยกว่าหรือเท่ากับ, เท่ากับ, มากกว่าหรือเท่ากับเท่าไหร่ เช่น มีอัตราเป็น 1, log n, n, n log n, n^2, n^3, 2^n หรือ n! เป็นต้น
  4. ระดับปริญญาเอก คือ ต้องคิดอะไรใหม่ได้ หรือ ถ้าคิดอะไรใหม่ทั้งดุ้นไม่ได้ ก็ต้องเพิ่มประสิทธิภาพของ ๆ เดิมที่มีได้แบบก้าวกระโดด เป็นต้น

อะไรประมาณนี้ครับ

 

Related Posts

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *