สำหรับคนที่เรียนทางด้านการจัดการมา คงไม่มีใครที่ไม่รู้จัก Michael E. Porter ผมเองถึงแม้จะเป็นคนในแวดวงพัฒนาซอฟต์แวร์ แต่ก็รู้จัก Porter เหมือนกัน โดยรู้จักผ่านงานเขียนเรื่อง Competitive Strategy: Techniques for Analyzing Industries and Competitors ซึ่งเป็นหนังสือที่อธิบายถึงเทคนิคการวิเคราะห์สภาพธุรกิจ และคู่แข่งขันเพื่อกำหนดปัจจัยแห่งชัยชนะ โดยอิงจากการแข่งขันเพื่อผลิตสินค้าและบริการในโลกอุตสาหกรรมเป็นสำคัญ

หนังสือเล่มนี้มีเนื้อหาที่ไม่ยาวมากนัก ประมาณร้อยกว่าหน้าเห็นจะได้ แต่จุดสำคัญของหนังสือเล่มนี้คือภาพข้างล่างนี้

ภัยคุกคามทั้งห้า

Porter พยายามจะอธิบายครับว่า ในการประกอบการอุตสาหกรรมนั้น ล้วนต้องมีการแข่งขันกัน และการแข่งขันกันก็มีสาเหตุมาจากภัยคุกคามทั้งห้าแบบ ดังภาพข้างบน

จะเห็นว่าภัยคุกคามเยอะแยะเลย ไม่ว่าจะเป็นภัยคุกคามที่เกิดจากคู่แข่งในอุตสาหกรรมเดิม, เกิดจากผู้ขายปัจจัยการผลิต, เกิดจากผู้ซื้อสินค้าหรือบริการ, เกิดจากคู่แข่งขันหน้าใหม่ และเกิดจากสินค้าทดแทน ซึ่งมันก็เป็นความจริง จริง ๆ ด้วยที่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมทุกราย จะพบกับภัยคุกคามเหล่านี้ (หากอยากทราบรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถหาอ่านได้จากในหนังสือเล่มนี้)

ผมกำลังจะเน้นที่ภัยคุกคามจากสินค้าทดแทนครับสำหรับหัวข้อนี้ จะเห็นว่าในภาพผมป้ายกล่องภัยคุกคามจากสินค้าทดแทนเป็นสีแดงเอาไว้ เพราะถือเป็นเรื่องละเอียดอ่อนและซับซ้อนที่สุด แม้แต่ Porter เอง ก็เขียนเกี่ยวกับภัยคุกคามจากสินค้าทดแทนเอาไว้ในหนังสือเพียงแค่ 7 หน้าเท่านั้น ซึ่งถือว่าน้อยมาก!!!

ซอฟต์แวร์เองก็ถือว่าเป็นสินค้าหรือบริการที่ถูกผลิตออกมาจากอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ ดังนั้นจึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะเข้าสู่กฎเกณฑ์ของ Porter ในเรื่องนี้ นั่นคือมีสินค้าหรือบริการใหม่ ๆ ออกมาทดแทนกันเสมอ

แล้วทำไมนักพัฒนาซอฟต์แวร์อย่างเราต้องมาใส่ใจกับสินค้าทดแทนล่ะ? เอ้อ นั่นสิเน้อะ ทำไมหนอ? ก็เพราะนักพัฒนาซอฟต์แวร์ก็เป็นมนุษย์ธรรมดาน่ะสิครับ ที่เวลาจะเรียนรู้อะไรก็ย่อมต้องใช้เวลาทั้งสิ้น ดังนั้นหากเรามองออกตั้งแต่เนิ่น ๆ ว่าสิ่งใดจะเป็นสินค้าทดแทนในอนาคต เราจะได้รีบ ๆ ไปเรียนรู้แต่เนิ่น ๆ ไง ไม่ต้องเสียเวลาด้วย ดีออก

ดังนั้นหากเราทำตัวเป็นนักประวัติศาสตร์ซักนิดแล้วมองย้อนกลับไปยังอดีต เราก็จะพบการเปลี่ยนแปลง, เติบโต, วิวัฒนาการ, กลายพันธุ์และสูญพันธุ์ของภาษาคอมพิวเตอร์, คอมไพเลอร์ รวมถึง IDE ต่าง ๆ

แต่หากนึกไม่ออกขอแนะนำให้อ่านจากประวัติศาสตร์ของภาษาคอมพิวเตอร์ครับ เมื่อคุณกดเข้าไปดูภาพประวัติศาสตร์ของภาษาคอมพิวเตอร์แล้วก็จะพบว่าเส้นทางของภาษาคอมพิวเตอร์นั้น มันช่างยาวนานเสียนี่กระไร

โดยสรุปแล้ว สิ่งที่ผมจะบอกก็คือ มีสิ่งใหม่ ๆ เข้ามาทดแทนเสมอ ดังนั้น จงถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทครับ

[tags]สินค้าทดแทน,ภาษาคอมพิวเตอร์,การพัฒนาซอฟต์แวร์,คอมไพเลอร์,competive strategy,micheal e. porter[/tags]

Related Posts

9 thoughts on “สินค้าทดแทน

  1. โลกการพัฒนาโปรแกรมไม่มีวันหยุดนิ่งเลยครับ ไม่มีวันที่เราจะอยู่กับที่ได้เลยซักวัน
    ตอนนี้ทุกอย่างจะค่อยๆเคลื่อนที่ผ่านไปอย่างช้า ใครจะไปรู้ถ้าวันนึงหลานเรามาถามว่าทำไมJava ก่ะ C#มันเขียนยากจัง ทำไมต้องประกาศนู่นประกาศนี่มากอย่างงี้ เหมือนกับที่เรารู้สึกกับภาษาในสมัยก่อนแน่ๆเลย

  2. หลังๆ ชักจะไม่ค่อยได้ศึกษาเพิ่มแล้วสิ เพราะไม่ค่อยไ้ด้เขียนอะไรเท่าไหร่
    แต่ก็คงต้องศึกษาเอาไว้ เวลาไปคุยกับโปรแกรมเมอร์ จะได้คุยรู้เรื่องเนอะ

  3. ผมรู้จักแต่ Harry Potter ครับ ^^”

    อย่างว่าแหล่ะนะเรื่องภัยทดแทน ถ้าอยากอยู่ในอุตสาหกรรมนี้ก็ต้องล่าเนื้อกันต่อไป

  4. ผมอ่านเรื่องนี้แล้วมองดูก็มีเค้ามากเลยนะครับ แต่สำหรับคนที่ไม่ได้ไปทำงานจริง(เช่นผม) จะมองไม่ออกว่ามีภัยมากขนาดไหน ? (พึ่งรู้เนียหละครับ)
    และก็ ภาพประวัติศาสตร์ของภาษาคอมพิวเตอร์ ยาวและดูยุ่งจังครับ เห็นแบบนี้แล้วแสดงว่าวันข้างหน้าก็ต้องมีภาษาใหม่ๆออกมาให้นักพัฒนาซอฟแวร์ลองกันอีกครับ

  5. เยี่ยมครับพี่ ตอนนี้ก็กำลังปวดหัวกับเรื่องสินค้า ผมเองก็ลืมคิดถึงพวกนี้ไปเลย จะแวะมาบ่อยๆนะครับ

  6. ?????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????? memtest

    ???????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????? PatSonic ??????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????

    ??????????? ?????????????????? xinexo ?????????????????????????????????????? Porter ???????????????????? ?????????????????? Potter :’-(

    ??????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????? ????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????? ???????????????????? ??? ??????????????????????????????????????????????????????? ??? ?????????????????????

  7. ไม่ได้มาหลายวัน แหม๋..มาเรื่องนี้โดนเลยครับ ถ้าจะพูดไปแล้วเรื่องการบริหารจัดการ และ ภัยคุกคามทางธุรกิจนั้นมีเยอะครับ แม้แต่ blog เองก็มีเช่นเดียวกัน บางครั้งเราก็มีคู่แข่งคนสำคัญ (แต่ไม่รู้ว่า Make Many ของผมนี่จะมีเป่าน๊ะ) เพื่อเอาไว้วัดใจกันว่าใครจะดีกว่ากัน ตรงนี้ก่อให้เกิดคุณภาพทางด้านการผลิตต่าง ๆ มากมายครับ ไม่ว่าจะเป็นสื่อ เนื้อหา สินค้าและบริการ ซึ่งจะทำให้เกิดการเลือกที่เหมาะสมมากขึ้นครับ ปัจจุบันต้องบอกว่าผู้บริโภคนั้นฉลาดขึ้นครับ เช่นการเลือกซื้อสินค้า หรือ บริการประเภทเดียวกัน หากมองว่ามีค่าใช้จ่ายไกล้เคียงกัน ก็จะต้องมีตัวเลือกที่สองอีก นั่นก็คือ คุณภาพ (Qaulity Service & Production Quality) เพื่อให้ได้ความพอใจสูงสุดครับ ถือเป็นเรื่องสำคัญอย่างมาก เพราะถ้ามีคู่แข่ง 2 ราย อีก 1 รายมี อีกหนึ่งรายไม่มี เท่านี้ก็รู้แล้วว่าลูกค้าจะเลือกใคร หนะครับ สงสัยพูดมากไปหน่อย อิอิอิ ขออภัยด้วยครับท่านพี่ไท้ แต่ก็น๊ะ อยากเล่าหนะ อยากเหล้า (ไม่ใช่เป็นขวดหนะครับ เหอๆๆๆ เดี๋ยวเมา)

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *