คิดว่าทุกคนคงทราบกันแล้วว่า การสั่งให้ควอนตัมคอมพิวเตอร์ทำงานได้ มันต้องใช้อัลกอริทึมที่เหมาะสม และในปัจจุบัน อัลกอริทึมเหล่านั้นก็ยังมีจำนวนไม่มากนัก และส่วนใหญ่ล้วนอ้างอิงพื้นฐานจากอัลกอริทึมซึ่งคนระดับปรมาจารย์คิดค้นเอาไว้
บทความส่วนใหญ่ในอินเทอร์เน็ตที่กล่าวถึงอัลกอริทึมสำหรับควอนตัมคอมพิวเตอร์ มักจะอ้างถึงชื่อบทความวิจัย และมักจะยกเอาเนื้อหาบางส่วนในบทความวิจัยมาอ้างอิง แต่เอาเข้าจริง เราก็มักจะไม่ค่อยได้มีโอกาสอ่านบทความวิจัย “ฉบับเต็ม” กันซักเท่าไหร่ (อืม จริง ๆ มันก็อ่านยากด้วยแหล่ะ)
ดังนั้น มาลองอ่านบทความวิจัยของอัลกอริทึมสำหรับควอนตัมคอมพิวเตอร์ “ระดับตำนาน” แบบ “ฉบับเต็ม” กันดีกว่า โดยการกดลิงก์ที่ชื่ออัลกอริทึมในรายการข้างล่างนี้
-
- Deutsch Jozsa Algorithm และ ส่วนปรับปรุง
- Simon Algorithm
- Grover Algorithm
- Shor Algorithm (ขี้เกียจอ่านบทความวิจัยตัวเต็ม? โชคดีมีคนย่อยให้อ่านที่นี่แล้ว กดตรงนี้เลย แต่ถ้าให้ดี ผมว่าอ่านตัวเต็มด้วยก็ดีนะ!!!)
แถมอีกนิดนึง อันนี้ส่วนตัวผมชอบเอง ผมชอบการผนวกเอไอกับควอนตัมคอมพิวเตอร์เข้าไว้ด้วยกัน และมันก็มีบทความวิจัยสำคัญ ๆ ด้านนี้อยู่ 2 ฉบับที่ผมเจอ คือ ฉบับนี้ และ ฉบับนี้ ถ้าสนใจก็ลองกดเข้าไปอ่านตัวเต็มดูครับ
สุดท้ายล่ะ แถมอีกนิดนึง ถ้าอ่านบทความวิจัยแบบแยกเป็นเรื่อง ๆ แล้วเข้าใจยาก เพราะมันไม่ได้บอกลำดับก่อนหลังหรือบอกลำดับความสำคัญ งั้นไปอ่านหนังสือตัวเต็มกันดีกว่า หนังสือมันดีตรงที่มันร้อยเรียงบทความวิจัยให้เรียบร้อยแล้ว มันเป็นหนังสือชื่อ Quantum Computation and Quantum Information (กดตรงชื่อหนังสือเลย) พิมพ์มา 10 ครั้งแล้ว และที่สำคัญ หนังสือเล่มนี้ถูกอ้างอิงโดยบทความวิจัยและหนังสือเล่มอื่นถึงกว่า 30,000 ฉบับ ถือว่าเป็นหนึ่งในหนังสือหลาย ๆ เล่มทางฟิสิกส์ที่ถูกอ้างอิงมากที่สุดตลอดกาล!!!!
สุดท้ายอีกทีนึง เอางี้ ผมว่าอ่านหนังสือก่อน แล้วพอจะเจาะรายละเอียดของอัลกอริทึม ค่อยไปอ่านบทความวิจัยเพิ่มเติม เพราะในหนังสือมันไม่ค่อยมีบทพิสูจน์ แต่ในบทความวิจัยมันมีบทพิสูจน์!!!