ห้องปฏิบัติการแห่งชาติ

ปัจจุบันนี้ สำหรับประเทศที่ต้องการมีอารยธรรมที่ก้าวหน้า คงหลีกหนีไม่พ้นที่ต้องมีการวิจัยพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีครับ และการจะวิจัยพัฒนาที่ว่าได้ก็จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องอาศัยการสนับสนุนอย่างสุดลิ่มทิ่มประตูจากทางรัฐบาลของประเทศนั้น ๆ ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วรัฐบาลก็ตอบสนองความต้องการที่จะก้าวหน้าเหล่านั้น ด้วยการตั้งห้องปฏิบัติการแห่งชาติขึ้นมา

ผมพยายามจะเรียบเรียงให้ดูว่าระหว่างประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นมหาอำนาจเดี่ยวของโลกอยู่ในเวลานี้ กับประเทศไทยเราซึ่งควรจะเป็นมหาอำนาจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ว่ามีความแตกต่างกันในเรื่องของห้องปฏิบัติการแห่งชาติยังไงบ้าง

งั้นเรามาดูห้องปฏิบัติการแห่งชาติของสหรัฐอเมริกาก่อน …

ห้องปฏิบัติการแห่งชาติสหรัฐอเมริกา

จากตารางจะเห็นว่าผมมีการแบ่งคอลัมน์จากวิชาทางวิทยาศาสตร์ซึ่งเป็นวิชาพื้นฐานคือ ฟิสิกส์, เคมี, ชีววิทยา และแอบแฝงคอมพิวเตอร์เข้าไปเล็ก ๆ คือจริง ๆ จะบอกว่าห้องปฏิบัติการเหล่านี้ มีการวิจัยในสาขาวิชาที่ละเอียดกว่านี้ แต่โดยความจริงแล้วก็ไม่พ้นพื้นฐานทั้งสี่อย่างนี้ ผมก็เลยพยายามจัดหมวดหมู่ให้มันดูง่าย ๆ หน่อย

จะเห็นว่าผมมีการป้ายสีเหลืองเข้มหน่อยเอาไว้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ผมพยายามจะบอกว่า ห้องปฏิบัติการดังกล่าวมีการเน้นวิจัยพัฒนาในเรื่องคอมพิวเตอร์ด้วย ไม่ว่าจะเป็นการวิจัยพัฒนาฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ เจ๋งไปเลยเน้อะ สหรัฐอเมริกามีห้องปฏิบัติการแห่งชาติตั้ง 7 แห่งแน่ะ ที่มีการวิจัยพัฒนาเน้น ๆ เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

งั้นเรามาดูประเทศไทยซึ่งเป็นมหาอำนาจเดี่ยวแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กันบ้าง…

ห้องปฏิบัติการแห่งชาติไทย

โอ้ ประเทศไทยเรามีห้องปฏิบัติการแห่งชาติตั้ง 1 ที่แน่ะ ที่มีการวิจัยพัฒนาเน้น ๆ เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เราเองก็เจ๋งไม่เบาเหมือนกัน 😛

สำหรับคนที่อ่านแล้วพบว่าผมไม่ได้กล่าวถึง สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ SIPA, สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA และ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ TINT ก็ไม่ต้องแปลกใจนะครับ เพราะสำนักงานและสถาบันเหล่านี้ไม่ใช่ห้องปฏิบัติการแห่งชาติอ่ะครับ สำนักงานเหล่านี้เป็นหน่วยงานที่จะมีห้องปฏิบัติการแห่งชาติภายใต้กำกับดูแลของตนเองในอนาคต ซึ่งถึงตอนนั้นห้องปฏิบัติการแห่งชาติเหล่านั้น ก็จะมีศักดิ์และสิทธิ์เทียบเท่าห้องปฏิบัติการทั้ง 5 ที่ ที่กล่าวถึงข้างต้นนั่นเอง

ป.ล. จุดที่ผมแปลกใจมาก ๆ ก็คือ ทำไมหนอ ห้องปฏิบัติการแห่งชาติของสหรัฐอเมริกาทุกห้อง อยู่ภายใต้กำกับดูแลของกระทรวงพลังงาน ในขณะที่ห้องปฏิบัติการแห่งชาติของไทยทุกห้อง กลับอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีล่ะเนี่ย?? งงเหลือเกิน

[tags]ห้องปฏิบัติการแห่งชาติ,biotec,mtec,nectec,nanotec,nrsc,sipa,gistda,tint[/tags]

Related Posts

3 thoughts on “ห้องปฏิบัติการแห่งชาติ

  1. แล็บหลายแห่งที่คุณพี่ไท้ยกมา จุดประสงค์แรกตั้งคือวิจัยนิวเคลียร์ครับ เลยไปสังกัดกระทรวงพลังงาน (เท่าที่ผมทราบก็มี Lawrence Livermore กับ Los Alamos)

    คอมพิวเตอร์เป็นผลพลอยได้ เพราะคงไม่มีหน่วยงานไหนต้องการพลังประมวลผลมากเหมือนแล็บพวกนี้อีกแล้วแหละ ส่งผลให้ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ท็อปๆ ก็จะอยู่แถวนี้หมด

    BlueGene/L ตัวที่เร็วที่สุดในปัจจุบัน ก็อยู่ที่ Lawrence Livermore

    สำหรับบ้านเรา การตั้งเป็น national laboratory อาจจะไม่ใช่วิธีที่เวิร์คนัก (ราชการ) ไม่ควรมองข้ามห้องวิจัยที่แฝงตัวอยู่ตามมหาลัยต่างๆ ด้วยครับ

  2. ถ้ามีเวลา ผมเองก็อยากจะเรียบเรียงว่าอัตราส่วนของนักวิจัยทางคอมพิวเตอร์ กับนักวิจัยทั้งหมดของห้องปฏิบัติการแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา มีอัตราส่วนเป็นเท่าไหร่เหมือนกันครับคุณ mk แต่เท่าที่ดูคร่าว ๆ รู้สึกว่าอัตราส่วนของนักฟิสิกส์จะมีสูงที่สุดเลยครับ เมืองไทยเราถ้าใครเรียนเน้น ๆ ฟิสิกส์สงสัยคงได้ตกงานแย่เลยครับ

  3. แต่ผมคิดว่า เมืองไทยต้องการนักวิจัยฟิสิกส์เป็นอย่างมากเลยนะครับ เท่าที่สังเกตดูบริษัทในเมืองไทย ไม่ค่อยจะเป็นบริษัทที่เป็นผู้นำนวัตกรรมเลย ต้องซื้อต้องใช้ตามเขาตลอด มันคงเป็นอีกเหตุผลนึงที่บ้านเราเจริญสู้บ้านเมืองไม่ได้

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *