โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ความคุ้มครองในฐานะทรัพย์สินทางปัญญา

โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ความคุ้มครองในฐานะทรัพย์สินทางปัญญา

ช่วงนี้ใช้เวลาไปกับการจดเครื่องหมายการค้าไปหลายตัว เลยได้อ่านกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาหลายฉบับ

ตอนแรกอ่านเฉพาะกฎหมายเครื่องหมายการค้า จากนั้นก็เลยไปจนถึงกฎหมายลิขสิทธิ์

ในเมื่อได้อ่านแล้ว ก็เลยเจาะจงที่จะเรียบเรียงเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาของ “โปรแกรมคอมพิวเตอร์”

มันแยกแยะความคุ้มครองของ “กฎหมายไทย” ได้ประมาณนี้

  1. โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ถือเป็นงานวรรณกรรม เมื่อสร้างขึ้นแล้วก็ถือว่าได้รับความคุ้มครองโดยกฎหมายลิขสิทธิ์โดยอัตโนมัติ แต่เพื่อความเป็นทางการ ไปจดลิขสิทธิ์เอาไว้ก็ดี
  2. แนวคิด ลักษณะการทำงาน หรือ หน้าจอตอบโต้ผู้ใช้งาน ของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ กฎหมายลิขสิทธิ์ไม่ได้คุ้มครอง แปลว่า ลอกกันได้ ตราบที่เขียนโปรแกรมเอง
  3. ทฤษฎี กรรมวิธี หรือ ขั้นตอนการทำงาน ที่ขับเคลื่อนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ กฎหมายสิทธิบัตรไม่ได้คุ้มครอง
  4. ซอร์สโค้ดของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ได้รับความคุ้มครองจากกฎหมายความลับทางการค้าโดยอัตโนมัติ แต่ถ้าเอามาเผยแพร่ก็ถือว่าไม่เป็นความลับทางการค้า และคงต้องไปใช้ความคุ้มครองแบบสากลแทน
  5. ตราสินค้า แบรนด์ หรือ โลโก้ ที่ใช้เรียกหรือสื่อถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ไม่ได้รับความคุ้มครองจากกฎหมายเครื่องหมายการค้าโดยอัตโนมัติ แต่จะคุ้มครองเมื่อได้ยื่นจดเครื่องหมายการค้าแล้ว

ทั้งหมดน่าจะประมาณนี้

Related Posts

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *