โดยส่วนตัวแล้วผมอ่อนวิชา Computer Network ครับ แต่ผมกลับเข้มแข็งในวิชา Data Communication พอสมควร

แปลกดี จริง ๆ แล้วสองวิชานี้มันต้องไปด้วยกัน ถ้าถนัดก็ควรจะถนัดทั้งสองวิชาไปเลย!!!

ก็วิชา Computer Network มันเน้น ๆ ไปทางฮาร์ดแวร์อ่ะครับ แล้วก็มีศัพท์ยาก ๆ ให้จำเยอะแยะ ผมขี้เกียจจำนี่นา ไม่เหมือนวิชา Data Communication ที่เน้นเกี่ยวกับโครงสร้าง Protocol, โครงสร้าง Message และจังหวะกลไกในการรับส่งข้อมูล ซึ่งผมชอบมากกว่า

พอดีคุยเรื่องนี้ขึ้นมาเพราะจะบอกว่า กระดูกสันหลังซึ่งสำคัญมากสำหรับ Software as a Service ก็คือระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตครับ และก็อย่างที่เรารู้ ๆ กันอยู่ว่าอินเตอร์เน็ตทุกวันนี้นั้น ขี่อยู่บนโครงข่าย TCP/IP Model เน้อะ ใคร ๆ ก็รู้!!!

ผมกำลังมองอย่างนี้ครับ มองว่าการเกิดขึ้นของ Internet Protocol Version 6 หรือ IPv6 นั้น จะนำมาซึ่งอะไรหลาย ๆ อย่างซึ่งเปลี่ยนชีวิตประจำวันของพวกเราไป

ด้วยความสามารถในการอ้างอิง Device ที่มีมากถึง 340,282,366,920,938,463,463,374,607,431,768,211,456 ตำแหน่ง ทำให้สามารถจินตนาการภาพของอนาคตได้เยอะเลย

ภาพอนาคตที่ผมจินตนาการนั้นคืออะไร??? มันคือการที่ต่อไปในภายภาคหน้า บริษัทผู้ผลิตเครื่องมือเครื่องใช้ที่เป็นอุปกรณ์อิเลกทรอนิกส์ทั้งปวง จะบรรจุเบอร์ IPv6 ให้กับอุปกรณ์เหล่านั้น และเบอร์ IPv6 ที่บรรจุให้นั้นเป็นเบอร์ Unique ที่ไม่มีการซ้ำกัน

หรืออีกนัยหนึ่ง หมายความว่าอุปกรณ์อิเลกทรอนิกส์ทุกชิ้น มีขีดความสามารถในการต่อเชื่อมเข้ากับโครงข่ายอินเตอร์เน็ต!!!

เรื่องแบบนี้กำลังจะค่อย ๆ กลายเป็นจริงในไม่ช้า ซึ่งประเทศยักษ์ใหญ่อย่างเมืองจีนเขาก็ตั้งเป็นโครงการใหญ่โตไปแล้ว ชื่อว่า China Next Generation Internet หรือ CNGI

การที่อุปกรณ์อิเลกทรอนิกส์ทุกชิ้น สามารถต่อเชื่อมกับอินเตอร์เน็ตได้นั้น มีนัยยะที่สำคัญมาก ๆ เพราะมันหมายถึง การเติบโตของสินค้าทดแทนใหม่, การเติบโตของอุตสาหกรรมใหม่, การเติบโตของธุรกิจใหม่ และการเติบโตของภูมิปัญญาใหม่ ๆ

สำหรับนักพัฒนาซอฟต์แวร์ไทย เราคงทำอะไรไม่ได้มากนัก กับการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ นอกจากรอให้มีการนำเข้า Device ซึ่งบรรจุกลไก IPv6 เอาไว้แล้ว, รอให้มีการวางโครงข่ายที่รองรับ IPv6 และรอให้มีคนทำ Kernel ของระบบปฏิบัติการที่รองรับ IPv6 ได้แบบเต็มรูปแบบซะก่อน

เมื่อถึงตอนนั้น เราคงได้มีโอกาสพัฒนาซอฟต์แวร์รูปแบบใหม่ ๆ เพื่อรองรับ Device อันมากมายมหาศาล ที่ต่อเชื่อมอยู่บนโลกอินเตอร์เน็ตแห่งนี้ครับ

[tags]next generation internet,ip,tcp/ip,IPv6,device,อิเลกทรอนิกส์,การพัฒนาซอฟต์แวร์,saas,software as a service[/tags]

Related Posts

8 thoughts on “Next Generation Internet

  1. เรื่อง IPv6 นี่ตอนแรกก็เคยคิดแบบพี่ไท้ครับ แต่ไปถามเซียน เซียนบอกว่าจำนวน address แทบจะไม่มีความหมายเลย เพราะ NAT ทำให้คนไม่กล้าใช้ IP จริง ดังนั้นมีเยอะไปก็งั้นๆ

    สิ่งที่จะทำให้ IPv6 เกิดคือเรื่อง QoS ที่ IPv4 ไม่มี และบรรดา VDO Streaming หรือ VOIP ทั้งหลายจะต้องการเป็นอย่างมากในอนาคตอันใกล้

    อันนี้เซียนบอกมานะ ผมไม่ได้คิดเอง

  2. 340,282,366,920,938,463,463,374,607,431,768,211,456 ซึ่งมี ค่าเท่ากับ 2128

    ผมไม่ค่อยรู้เรื่องนี้เท่าไรครับ แต่ว่า
    NAT คือ Network Address Translation ใช่ไหมครับ คุณ MK
    ส่วน QoS คือ Quality of service ใช่ไหมครับ
    ผมไม่ค่อยรู้ศัพท์ ครับ ต้องเปิดทีละตัว

  3. ผมขอโทษครับ เขียนผิด 2^128 หรือ 2 ยกกำลัง 128
    ผมไม่ค่อยรู้เรื่องนี้ เลยไปหาข้อมูลมา ไปเจอ powerpoint มาครับ เอามาแบ่งให้อ่านสำหรับคนที่ยังไม่รู้ครับ

    http://colab.cim3.net/file/work/SICoP/2006-04-2728/NLovering04272006.ppt

  4. ขอบคุณครับคุณ mk และคุณหมี ที่เข้ามาให้ความรู้เพิ่มเติม ^o^ ผมเองก็เคยคุยกับพี่ที่เขาเป็นวิศวกรเครือข่ายสมัยก่อนโน้นเหมือนกันครับ เขาก็เลยเล่าให้ฟังว่า ไม่มีใครกล้าเปิดเผย IP จริง เพราะกลัวโดนยิง packet ปุ้ง ๆ ใส่ครับ

    ตอนนั้นผมไม่เชื่อ เลยขอให้พี่เขาเปิด FTP ที่เป็น Real IP ซักเครื่องนึงให้ผม เพราะผมต้องการให้สาขาทำ FTP เพื่อส่งข้อมูลมาที่บริษัทแม่ได้

    ผลเหรอครับ ให้หลังไปอาทิตย์เดียว มีจดหมายส่งมาจากบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง ส่งตรงมาถึงฝ่ายคอมพิวเตอร์เลย แล้วแจ้งว่ามีคอมพิวเตอร์เครื่องนึง ยิง packet ไปหาเขาตลอดเลย แบบว่า spam ส่งอย่างไม่ยั้ง

    แล้วเครื่องดังกล่าว ก็คือไอ้เจ้าเครื่องที่เป็น Real IP นั่นแหล่ะ

    ผมเลยโดนเรียกสอบเลยครับ โชคดีที่พี่วิศวกรเครือข่ายเขาเข้ามาเคลียร์ให้ เท่าที่รู้ก็คือ IP ดังกล่าวโดนขโมย หรือโดนหลอกอะไรซักอย่างเนี่ยแหล่ะครับ ทำให้มันส่ง packet ออกไปใหญ่เลย

    หลังจากนั้นพี่เขาก็ไปทำยังไงก็ไม่รู้ อือม รู้สึกจะทำ Firewall กับ VPN ให้ัมั้ง ก็เลยหมดปัญหาไป

    เห็นแมะ ผมอ่อน Computer Network จริง ๆ

  5. เคยได้ยินมาสักพักละ IPv6 แต่ยังไม่เห็นอะไรออกมาเป็นรูปธรรมสักที สงสัย คงมีปัญหาเรื่องไม่มีใครอยากโชว์ IP จริงๆ อะแหละ

  6. ก็น่าจะเป็นแบบที่คุณ PatSonic บอกอ่ะครับ เปลือยไอพีน่ะ มันน่ากลัววววววววว

  7. ผมไม่แน่ใจครับว่าพอถึงเวลาที่ IPv6 ออกมาจริง ๆ แล้ว โครงสร้างของ MAC Address
    จะมีการเปลี่ยนแปลงตามไปด้วยหรือเปล่า เพราะ MAC Address มีแค่ 48 bits แต่
    IPv6 มี Address ที่ 128 bit ห่างกันหลายขุม แต่ว่า

    [QUOTE]
    หรืออีกนัยหนึ่ง หมายความว่าอุปกรณ์อิเลกทรอนิกส์ทุกชิ้น มีขีดความสามารถในการต่อเชื่อมเข้ากับโครงข่ายอินเตอร์เน็ต!!!
    [UNQUOTE]

    อันนี้ส่วนตัวผมเชื่อว่าเกิดแน่ครับภายใน 10 ปีนี้ เพราะเทคโนโลยีการส่งข้อมูลไร้่สาย
    ก้าวไปเร็วมากครับ อีกหน่อยปากกาเราคงเป็น Gadget แทนที่จะเป็นอุปกรณ์เครื่อง
    เขียนปกติแล้วล่ะครับ (อันนี้ติดมาจากดูหนังมากเกินไป – -“)

  8. เรื่อง MAC Address นี่ผมยอมแพ้เลยครับคุณเอกรินทร์ สมัยโน้นพี่วิศวกรเครือข่ายอธิบายให้ผมฟังหลายครั้งแล้ว ผมก็ยังไม่เข้าใจเลยครับ ^o^ คงเหมือนการเล่นไพ่ดัมมี่ หรือไม่ก็เล่นแชร์อ่ะครับ ที่ใครอธิบายผมก็ไม่เคยเข้าใจเลยเหมือนกัน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *