ช่วงนี้ผมได้มีโอกาสไปกินข้าวกลางวันกับทีมพัฒนาซอฟต์แวร์ของบริษัทเอกชน ที่เข้ามาพัฒนาซอฟต์แวร์ให้กับองค์กรของผมครับ
บางคนก็เพิ่งเรียนจบ บางคนก็ทำงานมาแล้ว บางคนก็เป็นระดับทีมลีดส์
กินข้าวกันไปก็คุยกันไปครับ เวลาคนเยอะ ๆ เนี่ยผมจะไม่โม้ครับ นั่งฟังลูกเดียว เพราะมันสนุกกว่า ยิ่งถ้ามีผู้หญิงร่วมโต๊ะอาหารเยอะกว่าผู้ชายด้วยแล้ว ยิ่งสนุกใหญ่ครับ เมาส์กันกระจาย
ส่วนใหญ่แล้วสาว ๆ จะคุยเรื่องเที่ยว, เรื่องกิน และเรื่องเรียนครับ จึงขาดไม่ได้เลยที่ต้องมีการเอ่ยถึงสถาบันการศึกษา และหลักสูตรที่เรียนจบมา หรือที่กำลังร่ำเรียนกันอยู่
ผมเองก็ฟังอย่างตั้งใจนะ ระคนสงสัยด้วย เพราะมีหลายหลักสูตรที่เอ่ยกันขึ้นมา แล้วผมก็คิดแต่ว่า “มีด้วยเหรอวะ หลักสูตรคอมพิวเตอร์ชื่อนี้?”
ผมเก็บความสงสัยมานาน จนในที่สุดก็เลยตัดสินใจ รวบรวมหลักสูตรที่เกี่ยวกับวิชาคอมพิวเตอร์ จากสถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน มาทำเป็นตารางเพื่อให้ดูง่ายครับ เพราะเห็นว่าไม่มีใครเคยทำกัน น่าจะเป็นประโยชน์
ตารางนี้เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐครับ
ตารางนี้เป็นมหาวิทยาลัยของเอกชนครับ
จะเห็นว่ามีคำย่อด้วย ผมจะอธิบายคำย่อดังต่อไปนี้
- CE – Computer Engineering – วิศวกรรมคอมพิวเตอร์
- CS – Computer Science – วิทยาการคอมพิวเตอร์
- IT – Information Technology – เทคโนโลยีสารสนเทศ
- SE – Software Engineering – วิศวกรรมซอฟต์แวร์
- CM – Computer Multimedia – คอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย
- MIS – Management Information System – การจัดการระบบสารสนเทศ
- IS – Information System – ระบบสารสนเทศ
- CT – Computer Technology – เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์, เทคนิคคอมพิวเตอร์
- BC – Business Computer – คอมพิวเตอร์ธุรกิจ
ผมไม่ได้คัดแยกหรอกนะว่าเป็นอุดมศึกษาระดับไหน ดังนั้น จึงเป็นไปได้ที่จะ…
- เป็นหลักสูตรของทั้งปริญญาตรี, ปริญญาโท หรือปริญญาเอก
- เป็นหลักสูตรของทั้งภาคปรกติ, ภาคสมทบ หรือภาคพิเศษ
- เป็นหลักสูตรสำหรับผู้สอบตรง, ผู้สอบผ่านจากเอ็นทรานซ์ หรือผู้สอบผ่านจาก o-net; a-net
จะเห็นว่าเฉพาะหลักสูตรที่เกี่ยวโยงกับคอมพิวเตอร์ ก็มีตั้งหลายสาขาวิชาแล้วครับ มีสาขาที่ผมเพิ่งรู้ด้วยว่ามี อย่างเช่น สาขาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ เป็นต้น
การเก็บข้อมูลสองตารางนี้ ไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ เลยครับ เพราะผมต้องอาศัยความถึกล้วน ๆ เข้าไปเยี่ยมชมเว๊ปไซต์ที่ล่ะเว๊ป, เข้าไปดูที่ล่ะคณะ และเข้าไปดูทีล่ะสาขาวิชา ไม่สามารถใช้การเขียนซอฟต์แวร์เข้าช่วยได้เลย แย่จริง
จากตารางทั้งสอง ทำให้ผมได้ข้อสรุปดังนี้ครับ
- ทุกสถาบันอุดมศึกษา ล้วนให้ความสนใจในการผลิตบุคลาการทางด้านคอมพิวเตอร์
- มหาวิทยาลัยเอกชนส่วนใหญ่ เน้นผลิตบุคลากรเพื่อรองรับธุรกิจเป็นหลัก
- สาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ และสาขาวิชาคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย คงยังไม่เป็นที่นิยมในเร็ววันนี้ และ
- หลักสูตรทางคอมพิวเตอร์ กระจุกตัวอยู่ในขอบเขตของ วิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต, วิทยาศาสตร์บัณฑิต, บริหารธุรกิจบัณฑิต และ พาณิชยศาสตร์และการบัญชีบัณฑิต เท่านั้น
ป.ล. 1) รู้สึกว่าจะมีมหาวิทยาลัยเอกชนอีกหลายที่ ที่ผมไม่ได้เข้าไปเก็บข้อมูล แต่แค่นี้ก็คงพอแล้วล่ะ
ป.ล. 2) มหาวิทยาลัยราชภัฐ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล มีจำนวนมากถึงมาก ๆ ผมเลยขออนุญาติยุบเหลือแค่อย่างล่ะที่ คงไม่ว่ากันนะครับ
[tags]มหาวิทยาลัย,สถาบันอุดมศึกษา,แหล่งกำเนิด,นักพัฒนาซอฟต์แวร์,มหาวิทยาลัยของรัฐ,มหาวิทยาลัยเอกชน[/tags]
IT – Information Technology ครับ
ขอเพิ่มเติมข้อมูลนะครับ
จริงๆ ที่เกษตรที่ วิศวกรรมซอฟต์แวร์และความรู้ด้วย
(Software and Knowledge Engineering)
แต่เป็นของภาคอินเตอร์ครับ (IUP)
ส่วน IT ก็มี MSIT ด้วยครับ
ถ้าจำไม่ผิด ของป.โทจะมี MSIT กับ MSCE นะครับ
ผมล่ะทึ่งกับข้อมูลนี้จริงๆ คงใช้เวลาเก็บข้อมูลนานเลยนะครับ
ผมพิมพ์ผิดเหรอคุณ memtest? ผมตกใจต้องรีบเอาประโยคของผม กับของคุณ memtest มาเทียบกับตัวต่อตัวเลยนะ ^o^ แล้วมันก็ตรงกัน แหะ ๆ โล่งอก นึกว่าพิมพ์ผิดซะแล้ว
แก้ไขให้แล้วนะครับคุณ ipats กด ctrl-F5 นะ จะเห็นว่าภาพเปลี่ยนแล้ว ^o^
ค่อย ๆ เก็บไปน่ะครับคุณเดย์ เพราะอย่างที่บอกนั่นแหล่ะ ผมใช้วิธีค่อย ๆ เข้าไปเยี่ยมเยียนเว๊ปไซต์ของสถาบันอุดมศึกษาเหล่านี้ ทีล่ะเว๊ปไซต์ แล้วก็ค่อย ๆ เข้าไปดูโดยเน้นดูที่ระดับปริญญาตรีซะส่วนใหญ่ 😛 แต่ดูเยอะก็ตาลายเหมือนกันนะเนี่ย
สุดยอดเลยครับพี่ ขยันจริงๆ – -‘
น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับน้องม.ปลาย มากๆเลยครับเนี่ย
ทำให้นึกถึงตอนผมจะเข้าป.ตรี ค้นๆข้อมูลไปเจอบทความต่างประเทศหนึ่ง เปรียบเทียบเกี่ยวกับสาขาต่างๆที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เยอะจนเลือกไม่ถูกว่าจะเข้าสาขาไหน เพราะมันมีเยอะไปหมด
แต่กลับมาดูประเทศไทย มหาวิทยาลัยรัฐใหญ่ๆ มันมีให้เลือกแค่จึ๋งเดียวเอง – -‘
ที่สุดยอดเนี่ย น่าจะเป็นสถาบันอุดมศึกษาของไทยมากกว่าครับคุณ highwind ที่สามารถเปิดหลักสูตรที่เกี่ยวเนื่องกับคอมพิวเตอร์ได้หลากหลายขนาดนี้ แต่ถ้าเทียบกับประเทศที่เขาพัฒนาแล้ว มหาวิทยาลัยเรามันก็น้อยจริง ๆ แฮะ
ผมงงตัวเองอยู่ครับ ว่าไอ้ที่ผมเรียนอยู่หากเทียบกับหลักสูตรที่เมืองไทยจะเป็นอะไร ผมคิดว่าพี่ไท้คงให้คำตอบกับผมได้ครับ
ที่ผมเรียนหากแปลตรงตัวคงแปลได้ว่า IT – Information Technology – เทคโนโลยีสารสนเทศ แต่เนื้อหาที่ผมเรียนไม่เกี่ยวกับสารสนเทศเท่าไรครับ ที่เรียนมักเน้นไปทางรับส่งสัญญาณ วงจรไฟฟ้านิดหน่อย ที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์มีแค่สองวิชาครับคือ Operating system กับ Software Engineering (ทั้งสองวิชาเรียนแบบผิวเผินมาก)
ช่วยตอบผมด้วยนะครับพี่ไท้ เพราะตอนนี้หากใครถาม ผมตอบไม่ได้สักทีว่าเรียนอะไร ได้แต่บอกว่า วิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสาร ซึ่งไม่ตรงกับสาขาที่เมืองไทยเลย ก็เลยงงตัวเองครับ
เอ เรียนคอมพิวเตอร์ 2 ตัว แล้วก็เรียนการรับส่งสัญญาณของวงจรไฟฟ้านิดหน่อย แล้ววิชาที่เหลือส่วนใหญ่เรียนอะไรล่ะครับเนี่ย? ผมเองก็ตอบไม่ถูกเหมือนกันครับคุณโบว์
ที่เหลือเป็นพวกเรื่องสัญญาณครับ มีแต่สัญญาณกับช่องส่งสัญญาณ ไม่ค่อยมีเรื่องวงจร
อ่านจากคุณโบว์แล้ว สาขาที่คุณโบว์เรียนก็อาจเรียกได้เป็นหลายอย่างเช่น
สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสาร ซึ่งคุณโบว์บอกไว้ก่อนแล้ว หรือ
สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าเพื่อการสื่อสาร หรือ
สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าโทรคมนาคม หรือ
สาขาวิชาวิศวกรรมโทรคมนาคม
ประมาณนี้ครับ คิดว่า
ขอบคุณพี่ไท้ครับ สำหรัยคำตอบ 😀
สาขาการเรียนที่เยอรมันจะงง ๆ อย่างนี้แหละครับ อย่าง Informatik == Computer Sceince เป็นต้น นักเรียนทั้งเยอรมัน และต่างชาติจำนวนมากเรียนผิดสาขาที่ตัวเองอยากเรียน เพราะชื่อสาขานี่แหละครับ
ที่ขำสุดเห็นจะเป็นเรื่องนี้ครับ
คนอินเดียคนนึงเขาอยาเรียนโยธา ชื่อภาษาเยอรมันคือ Bauingenieurwesend เรียกสั้น ๆ ว่า Bau แต่สาขาที่แกได้เรียนคือ Brauereimeister หรือเรียกสั้น ๆ ว่า Brau แกเรียนมาสามปีครับถึงได้ถึงบางอ้อ ว่าฉันเรียนผิดสาขา
แต่ไอ้สาขาที่แกเรียน หรือ Brau นี่เขาสอนทำเบียร์ครับ ไม่ได้สอนสร้างบ้าน อิอิอิ พลาดไปได้ไงเนี่ยตั้งสามปี
สุดท้ายแกเป็นคนอินเดียคนแรกครับ ที่จบ ป.โท ด้านการทำเบียร์จากเยอรมัน อ้าว กลายเป็นเรื่องดีไป
ปรกติแล้ว การที่เราจะเรียนอะไรซักอย่างนึง เราก็น่าจะดูหลักสูตรนะครับคุณโบว์ อย่างคนอยากเรียนโยธา เมื่อดูหลักสูตรแล้วเห็นว่ามันทะแม่ง ๆ ก็น่าจะนึกเอะใจตั้งแต่ตอนจะลงทะเบียนแล้วด้วยซ้ำ ว่าเลือกเรียนผิดหลักสุตร เว้นแต่ว่ารายวิชาที่อยู่ในหลักสูตร แสดงไว้ด้วยภาษาเยอรมัน ซึ่งยังยากต่อความเข้าใจในเบื้องต้นอ่ะครับ ถ้าอย่างนั้นแล้วล่ะก็ คงต้องใช้คติของเพื่อนผมอ่ะครับที่ว่า “ความซวย ไม่เคยปราณีใครครับ” 😛
เพิ่มสาขา
วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ปริญญาตรี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ๋
แก้ไขให้แล้วครับคุณเด็กคอม กด Ctrl-F5 เพื่อ Refresh ได้เลยครับ
เป็นประโชชน์ต่อผมมากๆเลยฮะ
อ่านบล็อกที่นี่ได้ความรู้ดีจิงๆ
จะติดตามต่อไปค้าบบ
สวัสวดีคะ พี่ไท้ อยากทราบข้อมูลของสาย cs กับ se อะคะว่า
พี่ว่าสาย cs กับ สาย se จบมาทำงานเหมือนกันไหมคะ
สาย cs ที่ม. จะแบ่งออกอีก 5 สาขา
– AI ( Artificial Intelligence )
– OS ( operating system )
– network
– database
– graphic
ซึ่งจะมีพื้นฐานของ database+os+network ที่ทั้ง 2 สายต้องเรียน
ถ้าเลือก cs จะได้เรียนพื้นฐานของ ai+graphic เพิ่มเข้ามาอ่าคะ แล้วเลือกเจาะเข้าไปอีก 1-2 ตัว
อยากทราบว่า
ถ้าเรียนสาย cs แล้ว ต้องทำงานอยู่ในฝ่าย programer ตลอดไปเลยรึเปล่าคะ จะมีโอกาศพัฒนาตำแหน่งในด้านอะไรอ่าคะ
สำหรับสาย se นั้นการทำงานเหมือนรูป “สามเหลี่ยมแห่งทักษะ” ที่พี่ไท้ได้ทำไว้รึเปล่าคะ
อยากทราบข้อมูลมากๆๆๆๆ เรยอะคะ เพราะต้องเลือก 2 สายในกลางเดือนนี้แล้วอะคะ ตอนนี้ยัง 2 จิต 2 ใจอยู่เรย ++!
ต้องขอแจ้งให้คุณ mataro ทราบว่า ปัจจุบันนี้นั้นหากว่าจบ CE, SE, CS หรือ IT ก็ล้วนทำงานที่คล้ายคลึงกันทั้งนั้นครับ โดยงานส่วนใหญ่ ๆ ที่ต้องทำก็จะเกี่ยวข้องกับฐานข้อมูลและธุรกิจซะส่วนใหญ่
มีน้อยนักที่จะได้ทำงานที่อิงแอบกับวิศวกรรมอิเลกทรอนิกส์ หรือวิศวกรรมไฟฟ้า
ดังนั้นไม่ว่าจะเลือก CE, SE, CS หรือ IT สำหรับประเทศไทยเราล้วนทำงานพัฒนาซอฟต์แวร์ หรือดูแลรักษาซอฟต์แวร์ทั้งนั้นครับ
ส่วนจะต้องเป็นโปรแกรมเมอร์ตลอดไปหรือเปล่านั้น ขึ้นอยู่กับคุณวุฒิ, ประสบการณ์ และวัยวุฒิของเราครับ ไม่มีใครได้มีโอกาสอยู่นิ่งตลอดหรอกครับ ถึงแม้จะอยากอยู่นิ่งก็เต๊อะ
มี AIS ด้วยครับ มาจาก Accounting Information System ของ จุฬาฯ ครับ เคยเจอตอนสมัครงาน
AIS นี่น่าจะโอนเอนไปทางบัญชีมาก ๆ แล้วครับคุณ noom เพียงแต่มีลงหน่วยกิตทางคอมพิวเตอร์พอเล็กพอน้อยอ่ะครับ
Physics ที่ลาดกระบัง
จบออกมาเป็น โปรแกรมเมอร์ กับ Admin กันเกือบยกชั้น
โดยเฉพาะ โปรแกรมควบคุมอุกรณ์ตัวเล็กๆ
เช่น อุปกรณ์การแพทย์ อุปกรณ์ในมือถือ
และส่วนใหญ่ เงินเดือนดี
ขอแจ้งรายละเอียดของ ม.รังสิต หน่อยนะครับ
ที่ ม.รังสิต เปิดสอนสาขาทางด้านคอมพิวเตอร์ ที่หลักๆเลยก็มี
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศมีสาขาดังนี้
– CS
– IT
– IMS = การจัดการสารสนเทศ สอนแนว IS+IT ที่พี่ไท้ใส่ไป คือสาขา IS-Information System เป็นสาขาในคณะบริหาร สอนเชิงบริหารธุรกิจเกือบทั้งหมด+ลงเรียนวิชาทางด้านคอมนิดหน่อย
– CGM = Computer Game Multimedia สอนเกี่ยวกับ พัฒนาเกม ทั้ง 3D&2D รวมถึงโปรแกรมมิ่ง ด้วยครับ ถ้าอย่างที่พี่ไท้ ใส่ไป สาขา Computer Multimedia มันเป็นสาขาในคณะนิเทศ น่ะครับ สอนเกี่ยวกับการใช้งานอุปกรณ์และโปรแกรมทางด้านสื่อบันเทิง
คณะวิศวกรรมศาสตร์
– CE
– CBE – Computer and Biomedical Engineering (วิศวะคอม+อุปกรณ์ชีวะการแพทย์)
คณะบริหารธุรกิจ
IS
BC
สาขา CBE นี่ไม่เคยรู้มาก่อนเลยครับคุณ K ตื่นตะลึงมาก ๆ
สวัสดีครับ
ข้อมูลยังไม่ค่อย อัพเดต และตรงกับความเป็นจริงสักเท่าไหร นะครับ
อย่าง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ก็เปิด Software Engineering ทั้ง ป.ตรี และ ป.โท่
แล้วครับที่ วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี
ข้อมูลที่นี้เลยครับ http://camt.info
น้อง ๆ ไหนที่จบแล้วหรือกำลังทำงานอยู่ แล้วชอบเขียนโปรแกรมควบคุมฮาร์ดแวร์ ไม่ต้องน้อยใจไป ตอนนี้มีงานลักษณะนี้ให้ทำแล้วที่ Toyota Tsusho Electronics (Thailand) Co.,Ltd.
บริษัทเค้าอยากให้คนที่มีใจรักด้านนี้ กลับเข้าสู่อุตสาหกรรมพัฒนาซอท์ฟแวร์ด้านอีเล็คทรอนิคส์ยานยนต์อยู่ตลอด 2-3 ปีที่ผ่านมา แต่ก็ไม่รู้จะไปตามหาพวกน้อง ๆ แบบนี้ที่ไหน
งานเข้ามาเพียบ แต่โปรแกรมเมอร์ที่เซียน ๆ และใจรักก็มีอยู่น้อยซะเหลือเกิน ไม่รู้จะไปตามหาได้ที่ไหน ยังไงใครสนใจงานด้านนี้ หรือมีเพื่อนคนรู้จักที่อยากทำงานด้านการพัฒนาซอฟท์แวร์แบบนี้ก็ติดต่อพี่ได้ที่ 081818 2826 หรือส่ง resume มาที่ sudkanung@ttet.co.th ได้ตลอดค่ะ
ขอบคุณคุณไท้ ที่เอื้อเฟื้อข้อมูลนะคะ ยังไงฝากประชาสัมพันธ์ให้คนที่เค้าชอบงานด้านนี้ มาได้ทำงานกับบริษัทที่ต้องการเฉพาะคนแบบนี้ด้วยจะขอบคุณอย่างสูงเลยค่ะ
ข้อมูลนี้อัพเดท ล่าสุดปีไหนอ่ะครับ
ปี 2007 รึเปล่า
ผมว่าเดี๋ยวนี้มหาลัยส่วนใหญ่ เปิดสาขาใหม่ ๆ กันมาตลอดนะครับ
พี่คับ
แล้ว SE มันเรียนยากมั้ยคับ
แล้วมันต้องมีพื้นฐาน วิชาอะไร หรือ ความถนัดอะไรบ้างคับ ถึงจะเรียนได้
ผม เพิ่งจบ ม.6 คับ
อยากเข้า วิศกรรมซอฟแวร์
แก้ม ศึกษา อยู่ที่ศรีปทุมคะ เรียน จบ ปวส มา เเล้วมาต่อสองปีต่องเนื่องที่มหาลัยศรีปทุมคร่า เรียน ที่นี้ เรียนเอก it คร่า อาจานเอาใจใส่ดีคร่า ไม่เข้าใจไปถามนอกว่าได้คร่า
ที่ทราบนะค่ะ
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)
เป็นมหาลัยของรัฐ นะค่ะ
เป็นมหาลัย สอนเฉพาะ ป.โท ป.เอก (ไม่มีป.ตรี)
หลักสูตรการพัฒนาซอฟต์แวร์ (วทบ.)
คณะวิศวกรรมศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
บัณฑิตรุ่นแรกรหัส 45 ก็ถือว่าเปิดมาไม่นานเท่าไหร่ครับ
ตอนนี้ผมเรียนอยู่หลักสูตรนี้แหละ senior แล้ว (ชีวิตบั้นปลายในมหาลัยT_T)
ภาษาอังกฤษใช้คำนี้ Software Development (SD)
จุฬาฯมี SE ป.โทด้วย ผมเล็งไว้อยู่ เอิ้กๆ
หวัดดีค่ะพี่ๆทุกคน เราจะเรียนสาขาคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย เพื่อนๆว่าดีไหมค่ะ มันมีประโยชน์อย่างไรบ้างค่ะ
สอบถามหน่อยค่ะ ถ้าจะเรียนวิทยาการคอม หรือเทคโนโลยีสารสนเทศ หลักสูตร 2ปี และ 4 ปีภาคสมทบ เสาร์-อาทิตย์ หรือ ช่วงเย็นจันทร์-ศุกร์ มีที่ไหนบ้างคะ รบกวนแนะนำด้วยค่ะ คือตัวเองจบปวส.คอมฯธุรกิจ ทำงานมาหลายปีแล้ว ตอนนี้ฮึดอยากต่อป.ตรีทางด้านนี้ให้จบค่ะ ที่สนใจ 4 ปี ด้วยเพราะเห็นว่าเด๊๋ยวนี้มันมีอะไรที่ใหม่ๆ มาก อาจจะต้องปูพื้นใหม่หมดเลย ความรู้จะได้แน่นหน่อยค่ะ กลัวเรียนไม่ทันเด็กๆ ค่ะ ขอบคุณค่ะ
คลิกขวาที่หน้าจอแล้วกดRefresh
ครั้งเดียวแล้วกด F5
เพื่อRefreshไปจนกว่าจะเหนื่อยนนะ