ไม่ว่าจะเป็นประเทศไหน ก็น่าจะจัดการเรียนการสอนคล้าย ๆ กันนะครับ นั่นก็คือแบ่งเป็น 3 ระดับประมาณนี้

  1. คณะ / สำนัก
  2. ภาควิชา และ
  3. สาขาวิชา

คนเรียนทางคอมพิวเตอร์ก็ย่อมจบจากสาขาที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ เพียงแต่สาขาดังกล่าวอาจจะขึ้นตรงต่อคณะที่แตกต่างกันไป

ส่วนใหญ่เราจะคิดว่าสาขาวิชาเป็นอะไรที่เล็กที่สุดแล้ว แต่จริง ๆ แล้วไม่ใช่ เพราะมันยังมีสิ่งที่เล็กกว่านั้นอีก เรียกว่า “แขนงวิชา”

แขนงวิชาเป็นอะไรที่ยิบย่อยครับ ยกตัวอย่างคนจบสาขาคอมพิวเตอร์ก็ได้ บางคนนะถนัดในเรื่อง Algorithm, บ้างก็เก่งในการทำ System Programming, หรือไม่ก็เชี่ยวชาญทางด้าน Database System, บ้างก็เป็นเซียนทางด้านการทำกราฟิกส์ 3 มิติ, บางคนก็เป็นเทพทางด้าน Embedded System เป็นต้น

หัวข้อย่อย ๆ ที่คนเหล่านี้ถนัดนี่แหล่ะครับ เรียกว่า “แขนงวิชา”

แขนงวิชาทางคอมพิวเตอร์นั้นมีเยอะมาก จนแทบเป็นไปไม่ได้ที่คน ๆ เดียว จะสามารถถนัดได้ในทุก ๆ แขนงวิชาคอมพิวเตอร์ อย่างมากนะก็ถนัดไม่เกิน 10 แขนงวิชา ซึ่งก็ถือว่าเป็นโคตรเซียนแล้ว

น่าจะเป็นเรื่องโชคดีนะครับ ที่เราไม่จำเป็นต้องมาค้นหาว่าในโลกใบนี้นั้น มีการจัดหมวดหมู่ของแขนงวิชาคอมพิวเตอร์อะไรไว้บ้าง เพราะมีสมาคมนึงจัดไว้ให้แล้ว โดยเรียกการจัดหมวดหมู่ดังกล่าวว่า The ACM Computing Classification System กดตามลิงค์จากรูปข้างล่างเพื่อไปดูได้เลยครับ

แขนงวิชาคอมพิวเตอร์

จากหมวดหมู่ที่จัดไว้จะพบว่า แขนงวิชาคอมพิวเตอร์นั้น มีเป็นพันแขนงเลยครับ!!!

ดังนั้นหากใครถนัดในแขนงวิชาคอมพิวเตอร์ใดมาก ๆ แต่กลับรู้สึกว่าตนเองนั้น กลับไม่รู้เรื่องในแขนงวิชาคอมพิวเตอร์อื่น ๆ ล่ะก็ อย่าน้อยใจล่ะครับ 🙂 ไม่มีใครเก่งมันซะทุกเรื่องหรอก

[tags]แขนงวิชา,สาขาวิชา,คอมพิวเตอร์,acm,computing classification system[/tags]

Related Posts

6 thoughts on “แขนงวิชาคอมพิวเตอร์

  1. ขอผมคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ

    สงสัยล่ะซิว่าทำไมต้องสิ่งแวดล้อม ผมก็สงสัยครับ

  2. ตอนนี้รู้ว่าตนเองชอบคอมพิวเตอร์ แต่เมื่อดูแขนงแล้วก็งงเลย ว่าเรานี่ชอบแขนงไหนกันแน่ มันต้องใช้เวลานานไหมครับ กว่าจะพบคำตอบของตัวเอง

  3. ผมเก่งอยู่เรื่องเดียวครับคุณ PatSonic ผมโม้เก่งครับ อิ อิ

    คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มีอยู่ที่เดียวนี่ครับคุณ memtest ที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ แอ่ะ ๆ ^o^ คุณ memtest เรียนอยู่ที่นี่นี่เอง ผมเลยได้รู้โดยบังเอิญเลย

    มันต้องใช้เวลานานครับน้องโอ แบบว่าคนเรามันเบื่อง่ายน่ะ บางคนเขียน Structure Programming เก่งโคตร ๆ เลย พออยู่มาวันนึงก็เบื่อ แล้วก็เปลี่ยนไปเป็น Object Oriented Programming บ้าง แล้วพอผ่านไปอีก 4 – 5 ปี ก็เบื่ออีกล่ะ เปลี่ยนไปสนใจทาง Quantum Algorithm บ้าง อะไรประมาณนี้อ่ะครับ มันไม่แน่ไม่นอน

  4. ผมยังรู้จัก ไม่หมดเลย ครับ 40% นะครับ จริงๆ
    อ่านชื่อแล้วยัง งง อยู่เลยว่ามาจากไหน ? ไม่เคยพบเคยเจอ
    แต่ใหญ่ ๆ ก็คงจะมี
    A. General Literature
    B. Hardware
    C. Computer Systems Organization
    .
    .
    ไปจนถึง
    K. Computing Milieux
    จรืงไหมครับ
    – -‘ มันจะมีมากกว่านี้ไหมครับ

  5. มันคงต้องมีมากกว่านี้แน่ ๆ ครับคุณหมี เพราะที่เขาจัดเอาไว้ล่าสุดก็ตั้งโน่นแน่ะปี ค.ศ. 1998 ปีนี้มัน ค.ศ. 2007 แล้ว ผ่านมาจะสิบปีแล้ว เขาคงจะจัดใหม่ในเร็ววันนี้แหล่ะ ผมเดาเอานะ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *