ถ้าเราสังเกตุกันดี ๆ เราจะพบว่า ตั้งแต่มีอินเตอร์เน็ตขึ้นมา ซอฟต์แวร์ที่ใช้สนับสนุนกลไกอินเตอร์เน็ตที่ฝั่ง Client ซึ่งก็คือเครื่องคอมพิวเตอร์ของพวกเรานั้น มีอยู่ด้วยกันเพียง 2 แบบเท่านั้น นั่นก็คือ
- Web Browser อันได้แก่ IE, FireFox, Opera และ
- Client Software ซึ่งจาระไนไม่หมด ไม่ว่าจะเป็น Google Earth, FieZilla, CamFrog, BitTorrent, SecondLife, FeedReader, MSN Messenger, Yulgang Online เป็นต้น (เยอะว่ะ)
ผมแค่จะบอกว่าแบบที่ 2 นั้น ไม่ใช่ซอฟต์แวร์ที่บริการตามหลักการของ Software as a Service ครับ เพราะโดยหลักการของ Software as a Service แล้ว การส่งบริการซอฟต์แวร์ให้กับผู้บริโภคนั้น จะต้องส่งผ่าน Web Browser ครับ หลักการเขาว่ามางั้น ผมเปล่าคิดเอง
จริง ๆ แล้วทั้งแบบ 1 กับแบบ 2 ถ้าดูตามเนื้อหา ผมหมายถึงการใช้งานอินเตอร์เน็ต มันก็ไม่ได้ต่างกันอ่ะนะ แต่ถ้าเราเขียนเป็นแผนภาพออกมาให้ดู เราก็จะพบความแตกต่างที่ว่า โดยรูปข้างล่างคือกลไกของ Client Software แบบที่ 2
จะเห็นว่าลักษณะเด่นของ Client Software แบบที่ 2 ก็คือ ต้องดาวน์โหลดซอฟต์แวร์มาติดตั้งที่เครื่องก่อน ถ้าไม่ติดตั้งแล้วล่ะก็ ใช้ไม่ได้แหงแซะเลย
ทีนี้พอเราติดตั้งแล้ว เราก็จะสามารถใช้ซอฟต์แวร์ตัวดังกล่าว สื่อสารกับ Applicatication Server ผ่านระบบอินเตอร์เน็ตได้อย่างสะดวกโยธิน ดังรูป
เราจะเห็นจุดบอดจุดเบ้อเร่อซึ่งสำคัญมาก เพราะโดยหลักการของ Software as a Service แล้ว เมื่อนั่งจุ้มปุ๊ที่เครื่องที่ต่อเน็ตได้ ก็ควรจะใช้งานได้ทันที ไม่ต้องมาติดตั้งอะไรให้เสียเวลายุ่งยาก แล้วยิ่งถ้าเครื่องดังกล่าว เจ้าของเครื่องหวงด้วย แบบว่ามีการกำหนดสิทธิ์ในการใช้งานอีกต่างหาก ประมาณว่าผู้ใช้ปลายแถวอย่างพวกเรา ใช้ได้อย่างเดียว จะติดตั้งซอฟต์แวร์อะไรที่ดาวน์โหลดมาก็ไม่ได้ งี้เสีย self เลย เซ็งบ่อนมาก ๆ
แต่ถ้าคุณจะเล่นเกมส์ PangYa หรือ YulGang แล้วเข้าไปที่ร้านเกมส์ ซึ่งติดตั้งซอฟต์แวร์เกมส์เอาไว้แล้ว ผมก็ไม่เห็นว่ามันจะยุ่งยากอะไรเหมือนกันว่ะ กับปัญหาอะไรพวกนี้ 😛
ทีนี้ถ้าเราหันมาดูการส่งบริการซอฟต์แวร์ให้กับผู้บริโภค ตามหลักการของ Software as a Service บ้าง ผ่านรูปภาพที่อยู่ข้างล่าง เราก็จะพบความกระทัดรัดกว่ากันมากเลย
เห็นมั้ย ขั้นตอนนิดเดียวเอง นั่งจุ้มปุ๊อยู่หน้าเครื่องที่ต่อเน็ตได้ เปิด Web Browser ก็ใช้งานได้ทันที ไม่ต้องติดตั้งซอฟต์แวร์อะไรด้วย ดีทีเดียวแหล่ะ สะดวกมาก ๆ ครับ
และด้วยเพราะความสะดวกแบบนี้แหล่ะครับ จึงทำให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์และบริษัทซอฟต์แวร์ดัง ๆ หลายจ้าวของโลก พยายามที่จะออกผลิตภัณฑ์ของตน โดยอิงกับกลไก Rich Internet Application เพื่อทำให้หน้าจอ Web Browser อันว่างเปล่าแต่ทรงประสิทธิภาพ มีลักษณะการใช้งานเหมือนกับ Desktop Application นั่นเอง
[tags]SaaS,Software as a Service,คอมพิวเตอร์,Rich Internet Application,การสร้างซอฟต์แวร์[/tags]
กำลังอยากเห็นเกมออนไลน์ที่เล่นผ่านเว็บบราวเซอรอย่างเดียว ^ ^
เพราะตอนนี้กำลังเซ็งไม่มีเกมเล่นบน Linux >
ใช่ๆ ถ้าทำอย่างพี่ไท้ว่า มันก็ไม่ต้องยึดติด platform แล้ว จะใช้ Windows Mac Linux โทรศีพท์ PDA ….. ก็เล่นใช้งาน software เหล่านั้นได้หมดใช่ไหมครับ
ตัวอย่างที่เห็นกันตอนนี้ก็คือ flash ไงครับ ส่วนเกมออนไลน์ที่เล่นผ่าน web browser ตอนนี้มีเยอะแล้วนะ ที่เป็น 3d ก็มี ผมเคยเห็นของเกาหลีเกมนึง แต่จำชื่อไม่ได้ ของเมืองนอกก็มีเพียบบบบ (ส่วนใหญ่ใช้ shockwave, activex)
ผมกับคุณ nat3 คิดเหมือนกันเลยล่ะคุณ xinexo ผมเองก็อยากเล่นเกมส์ 3d บน web browser เหมือนกัน คุณ xinexo แนะนำให้ซักเกมส์ดิ อยากเล่นแนววางแผนอ่ะ ประมาณ The romance of three kingdom แบบนั้นอ่ะครับ
ใช่แล้วครับน้องโอ ผมว่านะกระแสมันน่าจะเทไปทางนั้นแล้วล่ะ ไม่งั้นไมโครซอฟต์ไม่ออก Live ออกมาหรอก
ผมจำเวบไม่ได้อ่ะครับสำหรับเกม 3D แต่มีอันนึงน่าสนใจ
http://www.travian.co.uk/
เป็นวางแผนเหมือนกัน แต่ไม่ 3d ครับ ก็ฆ่าเวลาดีครับ
http://www.mpogd.com
เข้าไปลองแล้วนะคุณ xinexo น่าสนุกดีมาก ๆ เลยอ่ะ 🙂 เสียดาย จะสร้างอะไรแต่ล่ะที รอนานตั้งครึ่งชั่วโมงแน่ะ
ลิงค์ที่คุณ Catkun ผมก็เข้าไปลองดูแล้วนะ แต่ผมชอบ Travian มากกว่าอ่ะ เพราะสีมันจาง ๆ ดี