เข้ารหัสก็เหมือนไม่เข้ารหัส

หลายวันก่อนผมโม้เอาไว้เรื่องอวสานรหัสผ่านครับ วันนี้มาโม้ต่อดีกว่า เรื่องรหัสผ่านนี่แหล่ะน่าสนุก อะไรที่มันเป็นความลับนะ ใคร ๆ ก็อยากรู้อยากเห็นทั้งนั้นแหล่ะ เน้อะ

การเข้ารหัสเนี่ยมีมันเป็นพันปีแล้วนะ เรียกว่าเมื่อเริ่มก่อกำเนิดอารยธรรมของมวลหมู่มนุษยชาติ มีการสื่อสารกันด้วยภาษากาย, ภาษาวาจา และภาษาเขียนแล้ว การเข้ารหัสก็ก่อกำเนิดขึ้นมาด้วยเวลาที่ไล่เลี่ยกัน

เราต้องมาดูจุดประสงค์ของการเข้ารหัสก่อน ว่าจริง ๆ แล้วมูลเหตุทำเพื่ออะไร ซึ่งเมื่อเราทำความเข้าใจได้แล้ว เราก็จะแบ่งจุดประสงค์ของการเข้ารหัสได้เป็นสองแบบใหญ่ ๆ คือ

  1. การเข้ารหัสนั้น ทำเพื่อกำหนดสิทธิ์ในการเข้าถึงกิจกรรมที่สำคัญต่อไป ตัวอย่างเช่น รหัสผ่าน เป็นต้น และ
  2. การเข้ารหัสนั้น ทำเพื่อให้ใครก็ตามที่ได้ข้อมูลของเราไป ไม่สามารถนำข้อมูลนั้นไปใช้งานต่อได้ เพราะอ่านไม่รู้เรื่อง, ดูไม่ใคร่ออก และตีความบ่ได้

การใช้ทฤษฎี Pattern Recognition เพื่อมาประยุกต์ใช้ในการรักษาความปลอดภัยนั้น ใช้แทนที่ได้เฉพาะในข้อแรกเท่านั้น แต่มันใช้แทนที่ในข้อ 2 ไม่ได้ มันเป็นคนล่ะเรื่องกัน

ผมเคยอ่านเรื่องการเข้ารหัสเนื้อความของข้อมูลมาเยอะนะ และก็พบว่าก่อนที่จะมีการคิดค้นวิธีการแปลง PlainText ให้กลายเป็น CipherText ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ในแบบสมัยใหม่อย่างทุกวันนี้นั้น ก่อนหน้านี้รูปแบบการเข้ารหัสของพวกฝรั่ง กับพวกผิวเหลืองอย่างเรานั้นแตกต่างกัน ซึ่งอันนี้น่าสนใจมาก จะค่อย ๆ อธิบายให้เข้าใจ

อย่างของพวกฝรั่งนั้น ส่วนใหญ่เขาจะนิยมใช้วิธีการสลับตัวอักษรภายในข้อความ หรือใช้วิธีแทนที่ตัวอักษรในข้อความด้วยตัวอักษรอื่น ยกตัวอย่างง่าย ๆ เช่น ข้างล่างนี้เป็นการสลับตัวอักษรแบบง่าย ๆ

การเข้ารหัสด้วยการเรียงตัวอักษรใหม่

ดูก็คงรู้นะครับว่าผมสลับยังไง ดูเหมือนมันง่ายเน้อะ คิดว่าช่วงแรก ๆ พวกฝรั่งก็คิดพื้น ๆ แบบนี้ไปก่อนแหล่ะ แล้วจึงค่อยพัฒนาให้มันซับซ้อนขึ้นภายหลัง

อีกตัวอย่างนึง เป็นการแทนที่ข้อความด้วยตัวอักษรอื่น แบบข้างล่างนี้

การเข้ารหัสด้วยการแทนที่ตัวอักษร

แบบนี้ง่าย ๆ ครับ เพราะผมขี้เกียจคิด ผมแค่เอาตัวอักษร “X” เข้าไปแทนที่ในทุก ๆ ตัวอักษรที่เป็นตัวอักษร “A”, “E”, “I”, “O”, “U” ซึ่งเป็นตัวสระอ่ะ

จะเห็นว่าพวกฝรั่งจะเน้นการเข้ารหัสเนื้อความ โดยเล่นกับตัวอักษรของตน และมันก็เล่นง่ายด้วย เพราะฝรั่งซึ่งอาศัยอยู่ในภาคพื้นทวีปยุโรปนั้น ล้วนได้รับอิทธิพลของภาษามาจากอาณาจักรโรมันทั้งสิ้น ซึ่งภาษาของพวกเขาเป็นภาษาระดับเดียว ไม่ได้ซับซ้อนเหมือนภาษาไทยเรา การเรียงสับเปลี่ยนหรือการแทนที่จึงทำแล้วเนียนมาก

ทีนี้เมื่อทำความเข้าใจการเข้ารหัสแบบฝรั่งโบราณแล้ว เราก็มาทำความเข้าใจกับการเข้ารหัสแบบผิวเหลืองโบราณบ้างดีกว่า

การเข้ารหัสแบบอารยธรรมคนผิวเหลืองนั้น ส่วนใหญ่จะเน้นไปทางการพรรณาโวหารแล้วให้คนอ่านไปตีความเอาเองครับ ซึ่งน่าสนใจมาก เพราะถือได้ว่าเป็นการเข้ารหัสข้อมูล โดยใช้ทฤษฎี Natural Language Processing เลยอ่ะ เรียกว่าใครตีความไม่ได้ก็ไม่เข้าใจไป ส่วนใครตีความได้ก็โชคดีไป อะไรประมาณนั้น

ซึ่งผลจากการถอดรหัสได้นั้น อาจจะไม่ชัดเจนทุกถ้อยคำที่ผู้เข้ารหัสต้องการสื่อ แต่อย่างน้อยผู้ถอดรหัสก็สามารถเข้าใจความหมายหลัก ๆ ของข้อมูลที่เข้ารหัสได้ ตัวอย่างการเข้ารหัสแบบนี้มีมากมายในวรรณคดีไทย, พงศาวดารจีน หรือแม้กระทั่งในหนังสือการ์ตูนญี่ปุ่น ตัวอย่างเช่น

ข้อความนัดพบของมิสะมิสะถึงคิระ
(คลิกที่ภาพเพื่อดูภาพขยาย)

พอดีว่ากระแส Death Note ยังมีอยู่ ก็เลยขอยกตัวอย่างการเข้ารหัสในการ์ตูน Death Note ซะเลย 😛 สำหรับคนที่ไม่เคยอ่านการ์ตูนเรื่องนี้ ขอบอกย่อ ๆ แค่ว่าตัวเอกหญิงในเรื่อง ต้องการนัดพบกับตัวเอกชายในเรื่องครับ โดยการกำหนดเป็นนัย ๆ ว่าอยากจะพบกันที่อาโอยาม่านั่นเอง

สำหรับผมแล้ว การเข้ารหัสแบบนี้ถือว่ามองออกง่ายมาก ไม่ต้องให้ L ซึ่งเป็นอัจฉริยะมองออกหรอก แค่ผมซึ่งเป็นคนธรรมดาก็มองออกแล้ว แต่ก็นะ แบบนี้ก็ถือว่าเป็นพื้นฐานที่ดีในการเข้ารหัสครับ

ผมมองว่าการเข้ารหัสด้วยการพรรณาโวหารนั้น ถือเป็นสิ่งเหนือชั้นมาก ๆ เลยนะ และหากเราจะประยุกต์การเข้ารหัสแนวนี้ ให้อยู่ในรูปของซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ให้ได้แล้วล่ะก็ เราก็คงหนีไม่พ้นที่จะต้องไปศึกษาเน้นหนักในทาง Natural Language Processing แล้วล่ะ

เมื่อถึงตอนนั้น ถ้ามีใครทำได้ ซอฟต์แวร์หรืออัลกอริทึมดังกล่าว คงต้องแพงมหาศาลเชี่ยวแหล่ะ เหอ ๆ

สุดยอดแห่งการเข้ารหัส คือการทำให้ไม่มีใครรู้ว่าข้อมูลดังกล่าวนั้น ถูกเข้ารหัสอยู่นั่นเอง

[tags]เข้ารหัส,ถอดรหัส,รหัสผ่าน,คอมพิวเตอร์[/tags]

Related Posts

20 thoughts on “เข้ารหัสก็เหมือนไม่เข้ารหัส

  1. เทคโนโลยีที่สร้างด้วยมนุษย์ก็ไม่พ้นความสามารถของมนุษย์ที่จะเข้าใจ พูดง่ายๆ มันก็คนเหมือนกันนั่นแหละครับ

    ยกเว้นแต่ว่าเป็นเทคโนโลีของมนุษย์ต่างดาวละว่าไปอย่าง เิอิ๊ก…

  2. “สุดยอดแห่งการเข้ารหัส คือการทำให้ไม่มีใครรู้ว่าข้อมูลดังกล่าวนั้น ถูกเข้ารหัสอยู่นั่นเอง”

    อันนี้ สุดยอดมาก

  3. เอ คนพูด พูดอีกอย่าง แต่คนฟัง ฟังออกเป็นอีก อย่างนี่ถือเป็นการเข้ารหัส/ถอดรหัส ป่าวหว่า ^ ^

  4. แหมก็ L เค้าไม่รู้ว่ามี note มาเกี่ยวข้องด้วยนี่ครับ
    ส่วนผมชอบเรื่อง National Treasure กับ The Da Vinci Code ครับ
    ทำเอาบ้าเรื่อง การถอดรหัสไปพักนึง

  5. Natural Language Processing
    นี้จะออกแนวอัจริยะข้ามคืนรึเปล่า อิอิอิ
    Natural Language Processing มันคงยากก่ะตรรกะในการคิดรหัสมั้งครับ
    ถ้าเป็นรหัสที่ต้องใช้สื่อสารกันบ่อยก็จำเป็นต้องใช้ตรรกะในรูปแบบเดียวกันตลอด
    ถ้าอีกคนึงสามารถเข้าใจตรรกะนั้นได้ ก็จะสามารถเข้าใจทั้งหมด
    ่ยิ่งคิดยิ่งเวียนหัวน่ะเนี่ย

  6. การเข้ารหัสใ้ช้อยู่ทั่วไป แค่ผมคุยกับแฟน คนอื่นก็ฟังไม่รู้เรื่องแล้วครับ เป็นอีกหนึ่งสุดยอดการเข้ารหัส ที่ทั้งสองฝ่ายตกลงไว้แล้ว ฮิๆ

  7. พี่ไท้อ่าน Death Note ด้วยหรอครับ เนีย
    โดยส่วนตัวแล้วผมคิดเหมือนกับพั้ไท้คิดนั้นหละครับ
    ภาษาทางแทบเรา มักจะเข้าระหัสแบบ ฝรั่งไม่ได้
    แต่เราก็มีวีธีอื่น ในการเข้าระหัสจริงไหมครับ
    อย่าง Natural Language Processing โดยส่วนตัว
    แล้วผมคิดว่า ก็เป็นไอเดียที่ดี แต่ ว่า ลองคิดดูสิครับ
    ถ้า ผู้ที่ต้องถอดระหัส ถอดระหัสไม่ได้จะเกิดอะไรขั้น

    ตอนเด็กๆผมก็เข้าระหัสกับเพื่อนครับ ใช้ แทนอักษรอย่างเดียว
    ซึ่งเนื้อหาเดิมเป็นภาษาไทย แค่เปลี่ยนผมพยายามเปลี่ยนอักษรบางตัว
    เป็นอังกริด บางตัวเป้นเลขาคณิต เวลาเขียนๆ ง่ายๆครับ เวลาถอดๆยากมากๆ (และมีปัญหาเรื่องสระบน สระล่างนิดหน่อยครับ )

    “สุดยอดแห่งการเข้ารหัส คือการทำให้ไม่มีใครรู้ว่าข้อมูลดังกล่าวนั้น ถูกเข้ารหัสอยู่นั่นเอง”

    ต้องเรียกว่ายอดระหัสผ่านครับ ฮา

  8. คราวก่อนผมเอาเรื่องโบราณประมาณว่าตำนานเมืองลับแลมาเล่า คราวนี้เอาเบาะๆ แค่สมัยสงครามโลกครั้งที่สองนะครับ ทางฝ่ายนาซีได้มีการประดิษฐ์เครื่องเข้ารหัสถอดรหัสชื่อ Enigma ขึ้นมาใช้งานในกองทัพ ซึ่งวิธีการของเขาซับซ้อนมาก ก่อนจะเปิดเครื่องต้องมีการเสียบขั้วเสียบไฟ ซึ่งทำได้หลายวิธี รายละเอียดคงต้องไปดูในวิกิหรือในหนังชื่อเดียวกันนี้ที่มี เคท วินสเลทเป็นนางเอก ในที่สุดฝ่ายสัมพันธมิตรก็ยังสามารถถอดรหัสของ Enigma ได้ คงจะเป็นเพราะการที่ยังรู้ว่าข้อมูลถูกเข้ารหัสนั่นเอง

  9. ถ้าเป็นเทคโนโลยีของมนุษย์ต่างดาว ผมก็ยอมแพ้เหมือนกันครับคุณ o

    แนวนี้เขียนยากครับ ต้องใช้จินตนาการสูง แต่ยังไงผมก็จะพยายามครับคุณ Catkun

    ขอบคุณครับคุณ SmileSquare ผมนึกนานเหมือนกันนะเนี่ย ประโยคเนี้ยอ่ะ อิ อิ

    โหย ถึงกับทำให้ท่านแชมป์ตื่นเต้น เลือดสูบฉีดเลยเหรอเนี่ย ขออภัยอย่างแรงคับ 😛

    มันไม่ง่ายจริง ๆ ด้วยครับน้องโอ แต่ถ้าเข้ารหัสเป็นอักษรเฮียโรกราฟิกก็ง่ายกว่านะ เอนไปโน่นเลยอารยธรรมไอยคุปต์ ประมาณ stargate ผ่ามิติทะลุจักรวาลเลย โอยผม ไปกันใหญ่แล้ว

    555 อันนั้นเรียกว่าฟังไม่ได้ศัพท์จับไปกระเดียดครับคุณ nat3

    ผมก็มีดูทั้งสองเรื่องเลยล่ะคุณ elixer แล้วก็พบว่า National Treasure มีการทำไอ้เจ้าลายแทงได้ซับซ้อนกว่า The Da Vinci Code เป็นไหน ๆ เลยอ่ะ แถมส่วนประกอบของลายแทงแต่ล่ะชิ้น ยังกระจัดกระจายอยู่ไม่เป็นที่อีก

    เอ้อ คุณ memtest บอกมาแล้วก็ทำให้นึกได้ว่า การฟังโจทย์แล้วตีความเป็นตัวเลขในเกมส์อัจฉริยะข้ามคืน ก็น่าจะใช่เหมือนกันเน้อะ แต่อันนั้นอ่ะ ยากสาดดดดดเลยอ่ะ ผมไม่เคยคิดได้ซักครั้ง T-T ง่ะ ความโง่ไม่เคยปราณีใคร

    ของคุณ xinexo นี่ทำให้ผมนึกถึงชินจังเวลาคุยกับคนในครอบครัวเลยแฮะ ที่ทำท่าทำทางแล้วรู้กันเฉพาะพ่อแม่ลูกน่ะ อิ อิ

    ผมอ่าน Death Note เพราะผู้ร่วมงานแนะนำอ่ะครับ วันแรกอ่านสามเล่มรวด แทบอ้วกเลย ตัวหนังสือเยอะชิบเป๋ง เลยพักไปอาทิตย์นึง แล้วมาอ่านใหม่ แบบว่าสองวันอ่านจบเล่มนึง ประมาณนั้นอ่ะครับ

    ภาพยนต์ที่เกี่ยวกับเรื่องนี้เห็นมีอยู่เรื่องนึงอ่ะครับพี่โรจน์ ชื่อว่า U-571 มั้ง ไม่รู้ถูกหรือเปล่า แต่ทว่า ผมยังไม่ได้ดูเลยครับ T-T เพราะหาที่ TSUTAYA แถวบ้านไม่เจอ แป่ววววว

  10. ข้อเขียนวันนี้ น่าสนใจดีครับ น่านับถือ นึกเรื่องแบบนี้มาเขียนได้ แถมเขียนได้น่าอ่านไม่น่าเบื่อเสียด้วยดิ

    ขอชมจากใจจริงๆ

  11. ขอบคุณครับคุณ PatSonic ผมเองนะ ก็ตั้งปณิธานไว้เหมือนกันว่า อยากจะเขียนเรื่องคอมพิวเตอร์ที่มันเข้าใจยาก ๆ ให้คนที่ไม่ค่อยรู้คอมพิวเตอร์อ่านแล้วเข้าใจได้ง่ายอ่ะครับ

  12. ภาษาคอมพิวเตอร์ใด ๆ ก็สามารถสร้างการเข้ารหัสแบบนี้ได้ครับคุณ phaew หากนำหลักการดังกล่าวไปใช้

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *