การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อควบคุมฮาร์ดแวร์ ถือได้ว่าเป็นเรื่องน่าสนุกมาก ๆ อย่างนึงเลยนะครับ ถ้าหาก geek คอมพิวเตอร์มีโอกาสที่จะลองได้ก็น่าจะลอง
ผมเองก็อยากจะลองเหมือนกัน แต่เนื่องจากว่าหลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์ มีการบรรจุบุพวิชาที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้า และอิเลกทรอนิกส์ไม่มากนัก (น้อยเลยล่ะ) การที่จะทดลองเขียนโปรแกรมควบคุมฮาร์ดแวร์จึงไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ (ยกเว้นคน ๆ นั้นจะเป็นผู้เพียรพยายามที่จะศึกษามัน ก็น่าจะสามารถทำได้)
เพราะการที่เราจะทำได้ เราจำเป็นที่จะต้องเรียนบุพวิชาที่วิศวกรไฟฟ้า, วิศวกรอิเลกทรอนิกส์ และวิศวกรคอมพิวเตอร์เขาเรียนกัน และถ้าวิชาเหล่านั้นมันศึกษาให้เข้าใจได้โดยง่าย เมืองไทยเราก็คงจะไม่มีคนจบวิศวะออกมาเพียงเล็กน้อย เมื่อเทียบกับจำนวนประชากรแบบนี้หรอก
ผมมีแอบดื้อนะ ไม่เชื่อว่าต้องเรียนวิศวะถึงจะเขียนโปรแกรมเพื่อควบคุมฮาร์ดแวร์ได้ ไม่เชื่อว่าต้องมีพื้นฐานบุพวิชาต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับไฟฟ้าและอิเลกทรอนิกส์ ถึงจะเขียนโปรแกรมเพื่อควบคุมฮาร์ดแวร์ได้ ผมก็เลยลองซื้อหนังสือเล่มนี้มาอ่านดู
หนังสือเล่มนี้สอนให้เราเขียนชุดคำสั่งภาษาซีบน MS-DOS เพื่อส่งสัญญาณไปควบคุม Stepping Motor ครับ จากการอ่านดูก็พบว่าถ้าเราทำตามเขา เราก็จะสามารถทำได้ …. แต่ …. เราจะประยุกต์ไปทำอย่างอื่นไม่ได้ ด้วยเหตุเพราะเขาได้สร้างกรอบทางความคิดให้เราปฏิบัติตามไว้แล้ว และถ้าเราจะออกจากกรอบความคิดนั้น ๆ ได้ เราก็ต้องมีความรู้ในบุพวิชาทางไฟฟ้าและอิเลกทรอนิกส์นั่นเอง
Stepping Motor = มอเตอร์ที่มีการหมุนรอบตัวเองอย่างแม่นยำมาก ๆ เหมาะจะใช้ในการขับเคลื่อนกลจักรฟันเฟือง ในการควบคุมเครื่องกลต่าง ๆ
ผมเลยเข้าใจว่าหนังสือแบบนี้มันเป็นแนว Dummy มันแค่ให้เราหัดทำตาม แต่ถ้าเราไม่รู้องค์วิชาที่จำเป็น เราก็คงได้แต่ทำตามเท่านั้นเอง ไม่สามารถเข้าใจชัดเจนแตกฉานได้
โดยรวมแล้วดูเหมือนว่า ถ้าเราจะเรียนแค่เปลือกเราก็เรียนได้ แต่ถ้าจะให้รู้ลึกซึ้งแล้ว เราก็คงต้องเคยลงเรียนในสาขาวิชาที่สอดคล้องกับเรื่องนั้น ๆ เพื่อให้ได้บุพวิชาที่เป็นพื้นฐานมาอยู่ดี
[tags]ภาษาซี,คอมพิวเตอร์,ซอฟต์แวร์,การสร้างซอฟต์แวร์,หนังสือเก่า[/tags]
สำหรับการเขียนโปรแกรมเพื่อควบคุม hardware แล้ว พี่ไท้คิดว่าภาษาไหนเหมาะสมที่สุดครับ??
ผมมีความหลังไม่ดีกับ C++ ตอนเรียนตกระเนระนาด ตอนนี้สนใจไพธอน แต่ก็อย่างว่า ไม่มีเวลาเลย เพราะต้องทำงานไปด้วย โอกาสลองผิดลองถูกจึงน้อย ต้องคอยขอคำแนะนำจากคนที่มีประสบการณ์แล้ว
ต้องนำความรู้หลายด้านๆมาบูรณาการ
ดูท่าแล้วน่าจะยาก
อืมถ้าให้ผมเขียน ผมขอไปเล่นตัวต่อเลโก้ละกัน
ผมว่าตัวเขียนโปรแกรมของเลโก้มันง่ายดีอ่ะ ที่ผมเคยเล่น(สมัย 6 ปีที่แล้ว) แค่ลากวางๆ แล้วมันก็เคลื่อนที่ตามที่เรากำหนด แถมเดี๊ยวนี้ถ้าจำไม่ผิดเหมือนมี library ภาษาซีออกมาแล้วด้วย ^ ^
ผมก็เคยเล่นนะ Lego เนี่ย ที่มันจะมีโปรแกรมของชุดมันเป็นรูปไอคอนให้ลากวาง แล้วเราก็ลากสายไฟเชื่อมกัน เคยไปแข่งระดับประเทศกับเ้จ้าเลโก้เนี่ยด้วย
อ่า อันนี้ตอบไม่ได้ครับคุณ Crucifier เพราะโดยส่วนใหญ่แล้ว ไม่มีใครยอมเขียน assembly ตั้งแต่ต้นจนจบหรอก เขาคงจะสร้างเป็น engine ของตัวเอง แล้วมีชื่อเรียกไปตามที่เขาอยากจะเรียกมากกว่า
อ่า เลโกนี่ T-T ไม่รู้จักเลย
ผมว่า asm เจ๋งสุดในการควบคุมแล้วหล่ะ
แต่มันดั้น เขียนยากไปหน่อย.. เลยทำให้ c เป็นตัวเลือกอันดับต้นๆ แทน
ซึ่ง c compiler สำหรับงานแนวนี้ของหลายค่าย
มันจะ embed asm code เข้าไปได้ด้วย เอามาอ่านทีก็สนุกสนาน
(เลยลาออกเลย ฮ่ะฮ่า)
สมัยก่อนผมอยู่ ชุมนุม Robot ครับ ก็เขียนแต่ assembly กับ c นี่แหล่ะ แต่พอมาเขียนบนคอมซึ่งมีตัวช่วยเยอะมากๆ ก็สบายกว่าเยอะ
คิดถึงสมัยเขียน embedded แล้วได้อารมณ์ไปอีกแบบ
ป.ล. พึ่งมีโอกาสได้เล่นเน็ต ไล่อ่าน post ของพี่ไท้ ซะตาแห้งเลย – -“
asm คืออะไรครับ ? ใช่ assembly รึเปล่าครับ ?
^o^ วิศวกรคอมพิวเตอร์อย่างคุณ iPAtS มายืนยันด้วยตัวเองแล้ว
เอ ใช่คุณ xinexo หรือเปล่าน้อ ที่มีปัญหาเรื่องดวงตา อืม ๆ น่าจะใช่นะ ถ้าบล็อกผมทำให้คุณ xinexo ดวงตาเจ็บป่วยขึ้นมา ผมไม่รับผิดชอบนะ อิ อิ ^o^
asm คือ assembly ครับ โดยทางคอมพิวเตอร์น่าจะใช่นะคุณ pete แต่ถ้าเป็นวงการอื่น อาจจะหมายความอีกแบบนึง
เล่มนี้ผมมีอยู่ แต่หยิบมาอ่านพอผ่านๆ และไม่เคยไปจุ้นกับมันอีกเลย แบบว่าโรคขี้เกียจขึ้นสมองว่างั้นเหอะ
โทษนะครับทุกคนคือว่าผมต้องทำงานส่งอาจารย์นะครับเป็นเรื่องเกียวกับการใช้ภาษาซีในการควบคุมนะครับ แต่อาจารย์กับไม่ได้สอนอะไรมาก บอกแค่ว่าลองไปหาดูเอาเองว่าทำไง ผมลองหามาหลายวันแล้วแต่ก็ยังไม่เจอเลย ช่วยบอกที่ได้ไหมครับว่าต้องไปหาดูการเขียนโปรแกรมที่ไหนนะครับ