เว็บไซต์ที่โด่งดังก็เพราะมีคนเข้าเยอะ การที่มีคนเข้าเยอะก็เพราะเว็บไซต์นั้น ๆ มีอะไรดี ๆ มอบให้กับผู้เยี่ยมชม ถ้าแยกแยะไอ้อะไรดี ๆ ที่มอบให้กับผู้เยี่ยมชมออกเป็นพวก ๆ ก็น่าจะแยกได้เป็นสองอย่าง คือ เนื้อหา และ บริการ
ถ้าเว็บไซต์จะมีเนื้อหาคุณภาพดี, น่าสนใจ และปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง เราก็จำเป็นต้องมีทีมงานมาช่วยกันทำ แล้วเราควรจะมีคนซักกี่คนถึงจะดีล่ะ? คนเหล่านั้นควรเป็นคนที่จบคอมพิวเตอร์ซักกี่คนดี แล้วควรจะไม่ต้องจบคอมพิวเตอร์เป็นสัดส่วนเท่าไหร่ดีถึงจะเหมาะ?
ในขณะที่เว็บไซต์ที่เน้นการให้บริการล่ะ อือ ยังไงก็ต้องใช้ทีมงานมาช่วยกันทำเหมือนกัน แต่การจะบริการผ่านเว็บไซต์ได้ มันก็ต้องไปเกี่ยวไปข้องกับการสร้างซอฟต์แวร์ งั้นทีมงานส่วนใหญ่ก็ต้องจบคอมพิวเตอร์สินะ แถมอาจต้องแบ่งเป็นคนที่มีหน้าที่ออกแบบ แล้วก็คนที่มีหน้าที่เขียนซอฟต์แวร์ด้วย อืม ๆ
ผมถามตัวเอง – ใช้หนึ่งคนถึงสองคนทำให้เว็บไซต์โด่งดังไม่ได้เหรอ?
ผมตอบตัวเอง – ได้อยู่แล้วล่ะ แต่จะทำไปได้ถึงเมื่อไหร่กัน ของแบบนี้มันต้องใช้แรงกายแรงสมองนะ เว็บไซต์มันต้องโตขึ้นเรื่อย ๆ ตอนแรกคนสองคนอาจจะคุมอยู่ แต่ต่อไปจะคุมไหวเหรอ?
ผมถาม – แล้วจะสร้างทีมงานได้ยังไงล่ะ จะไปหลอกใช้คนอื่นให้มาทำงานให้มันก็ไม่ได้หรอกนะ แล้วถ้าจะใช้พวกเค้าก็ต้องจ่ายเงินเป็นค่าแรงให้เค้า แบบนี้ก็ต้องตั้งเป็นนิติบุคคลเป็นเรื่องเป็นราวไปเลยดีกว่ามั๊ง
ผมตอบ – จะตั้งเป็นนิติบุคคลเลยเหรอ? จะตั้งเป็นอะไรล่ะห้างหุ้นส่วนจำกัดหรือบริษัท? ไม่ใช่เล่นขายของนะ มีแผนการแล้วหรือยัง มีการประเมิณเรื่องงบประมาณไว้ก่อนหรือเปล่า แล้วการเป็นนิติบุคคลมันหมายถึงการให้ความสำคัญกับผลตอบแทนเป็นอันดับแรกนะ ไอ้เรื่องของความสนุกสนานที่ได้ทำในสิ่งที่ชอบ มันก็ต้องลดระดับลงไปแล้วอ่ะ
ผมถาม – แบบนี้นะ ถ้าสมมติว่าองค์ประกอบเรื่องแผนการ, งบประมาณ และเป้าหมายครบแล้วล่ะ แล้วก็คิดได้แล้วว่าจะให้บริการแก่ผู้เยี่ยมชมหรือสมาชิก ตามหลักการของ SaaS พอถึงตรงนี้จะยังไงต่อดี?
ผมตอบ – ถ้าจะให้บริการแบบ SaaS ก็หมายถึงต้องเขียนซอฟต์แวร์ ถ้าเขียนคนเดียวก็เขียนได้ แต่ผลผลิตมันจะได้น้อยชิ้นมาก แถมความซับซ้อนก็ต่ำ ซึ่งที่ถูกต้องควรจะใช้คนหลาย ๆ คนช่วยกันเขียน แต่รู้มั้ย คนเหล่านี้ค่าแรงไม่ใช่น้อยนะเฟ้ย ยิ่งจ้างหลายคนค่าแรงก็ทบทวีคูณเข้าไปใหญ่
ผมถาม – แบบนี้ถ้าจะทำให้เว็บไซต์โด่งดังก็คิดถึงเรื่องเงินกับคนเป็นอันดับแรก ๆ อ่ะดิ?
ผมตอบ – อือใช่ มันเป็นกุญแจหลัก เงินเอาไว้จ้างคน แล้วคนก็ผลิตเนื้อหาหรือบริการ แล้วให้เนื้อหากับบริการสร้างผลตอบแทนเป็นเงิน แล้วก็วนเวียนแบบนี้ไปเรื่อย ๆ
ผมถาม – เว็บไซต์มันเป็นเรื่องของคนจบคอมพิวเตอร์ไม่ใช่เหรอ แต่ไอ้ที่บอก ๆ มานี่มันไม่ได้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เลยนะ มันเรื่องบริหารกับเรื่องกระแสเงินสดนี่หว่า?
ผมตอบ – อือ มันจำเป็นน่ะ เว็บไซต์ที่โด่งดัง มันไม่ใช่เรื่องคอมพิวเตอร์อย่างเดียวหรอก มันมีศาสตร์อื่นเข้ามาเกี่ยวด้วยเยอะ ทั้งเรื่องบริการ การจัดการกระแสเงินสด การตลาด การจัดกำลังพล โอ๊ย เยอะแยะ ไอ้เรื่องที่จะทำคนเดียวน่ะ คิดได้ทำไม่ได้หรอก
ผมถาม – แบบนี้ก็หมายความว่า ถ้าจะทำให้เว็บไซต์โด่งดังอย่างต่อเนื่องยาวนาน ก็ต้องคิดใหญ่ไม่คิดเล็กอ่ะดิ?
ผมตอบ – ใช่ เมืองไทยเราเว็บไซต์ที่โด่งดังเขาก็เริ่มผันตัวเป็นนิติบุคคลกันแล้ว เมืองนอกน่ะไม่ว่าเว็บไหนเขาก็พยายามเป็นนิติบุคคลกันทั้งนั้นแหล่ะ มันเป็นเส้นทาง มันเป็นวิถี มันเป็นสิ่งที่เลือกได้ แต่ถ้าเลือกแล้วมันหลีกเลี่ยงไม่ได้
ป.ล. นี่คือบทสนทนาของกอลัมที่ชื่อ PeeTai ครับ ตอนที่คิดจะแย่งแหวนจากโฟรโด้ ^o^
[tags]คอมพิวเตอร์,ซอฟต์แวร์,SaaS,Software as Service,เนื้อหา,บริการ[/tags]
ผมก็ฝันอยากจะมีเวบไซต์ที่ทำเงินให้เราได้เยอะๆ เหมือนกับเค้าเหมือนกันนะ – -” แต่ยังไม่มีไอเดียอะไรเล้ย ตันจริงๆ
ได้ฟัง Steve Jobs กับ Bill Gates ให้สัมภาษณ์ใน All things D. มีคนถามสองคนว่า เค้ากำลังเปิดบริษัทใหม่ให้คำแนะนำอะไรเค้าหน่อยสิ
ผมชอบที่ Steve Jobs ตอบครับ แนวประมาณว่า คุณต้องรักสิ่งที่คุณทำอยู่ เพราะว่า ไม่ว่าคุณจะทำอะไรก็ตาม วันนึงคุณก็จะต้องประสบกับปัญหายากลำบาก แล้วคุณก็จะ quit เพราะว่าคุณ sane(แปลเป็นไทยประมาณว่ายังให้ความคิดตัดสินอยู่) แต่ถ้าคุณรักสิ่งที่คุณทำอยู่แล้ว คุณก็จะไม่ quit แล้วก็จะผ่านมันไปได้
ทำเวปเด๋วนี้ง่ายจะตาย พี่ไท้อย่าคิดมาก
บริการที่คิดว่าดี อาจจะแป๊กก็ได้ บางที
คิดเล่นๆ อาจจะดัง ใครจะไปรู้ ดังนั้น
อย่าคิด ทำไปเลย ทำเยอะๆ
มัวแต่คิด ก็ไม่ได้ทำ เรื่องจะใหญ่ จะดัง ก็ฝันทั้งเพ
กอลัมครับ สมิกัลว่าแหวนยังมีเหลืออีกหลายวงอยู่พอสมควรน่ะ
ผมเชื่ออย่างนั้นน่ะ ข้อดีของการแย่งแหวนในลอร์ด ออฟ เดะ อินเตอร์เน็ต
คือเราไม่จำเป็นต้องไปแย่งแหวนถึงมอร์ดอร์ อยู่หน้าคอมที่ไหนเราก็มีโอกาศเป็นเจ้าของแหวนได้ทั้งนั้น
ง่ายกว่าเยอะ อิอิอิ
ทุกท่าน – จริง ๆ แล้วผมอยากเป็นนักลงทุนมากกว่าครับ เพราะผมชอบใช้ “ทรัพย์สิน” ให้มันสร้างผลตอบแทนให้ผมมากกว่า ผมไม่ค่อยนิยมใช้ “คน” เพื่อมาสร้างผลตอบแทนให้ผมครับ ถ้าจะทำอะไรที่ใหญ่โต มันก็ต้องใช้คน มันวุ่นวายอ่ะครับ ลำบาก
การจะทำเว็บทำเงินซักตัว ในความคิดผม ผมว่าน่าจะเริ่มจากแนวคิดของคนซักคนสองคนก็พอ แล้วก็ลงมือทำกันเลยอย่าเพิ่งไปคิดถึงเรื่องนิติบุคคลอะไร ทำกันไปให้สุดๆ!! พอมันเริ่มเป็นที่รู้จัก ก็เริ่มมองถึงการเป็นนิติบุคคลและทีมงาน
เพราะคนไทยมักจะไม่กล้าเสี่ยงลงทุนเยอะๆ โดยยังไม่เห็นผลลัพท์(ผมคิดว่างั้น) ดังนั้นก็ควรเริ่มจากตัวเองก่อนนี่หล่ะ !!!
ถามพี่หน่อยนะครับ ทุนจนทะเบียนในการจัดตั้งบริษัท สำคัญมากน้อยแค่ไหนครับ เพราะว่าผมก็คิดจะตั้งบริษทของผมเองเหมือนกันครับ ลำพังแค่เงินเดือนคงได้ไม่มากเท่าไหร่ครับ ทำอยากทำเองมากกว่าครับ พี่มีอะไรที่จะช่วยแนะนำผมบ้างครับ เพราะผมคิดว่าทุกคนมีฝัน และอยากให้มันเป็นจริง ถึงแม้ว่าฝันที่ตั้งไว้นั้นอาจมีอุปสรรค รออยู่มากมาย แต่ทุกธรุกิจสล้วนมีความเสี่ยง ช่วยแนะนำผมด้วยนะครับ ขอบคุณครับ ขอเป็นกำลังใจให้คนอื่น ๆ ที่อาจมีความคิดเหมือนผมด้วยนะครับ
ทุนจดทะเบียนนั้นสำคัญมากครับคุณ Guru เพราะส่วนใหญ่ภาพลักษณ์แรกของบริษัท ที่ถูกมองโดยคนภายนอกจะอยู่ที่ “ผลงาน” และ “ทุนจดทะเบียน” เพราะไส้ในอย่างอื่นเขาไม่รู้
ทุนจดทะเบียนยิ่งมาก ก็ย่อมแสดงว่ามีศักยภาพในการจ้างงาน, ใช้จ่ายบริหาร, เป็นฐานในการกู้หนี้ยืมสิน และเป็นหลักประกันในการชำระคืนหนี้สินครับ
นี่จึงเป็นสาเหตุว่าทำไม ทุนจดทะเบียนของบริษัทจึงมักจะเริ่มต้นที่ 1 ล้านบาทครับ
อีกอย่าง บริษัทไม่ใช่นิติบุคคลสำหรับคน ๆ เดียวหรอกนะ ถ้าให้ดี หาคนร่วมลงทุนซัก 5 คน ออกคนล่ะ 200,000 บาท ก็ได้แล้ว ทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท แถมในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ก็เปิดช่องให้เราจ่ายชำระค่าหุ้นที่ 25% ของทุนจดทะเบียนได้อีกต่างหาก
แต่ว่าบริษัทน่ะ จัดตั้งง่าย แต่เลิกยากนะ ^o^
ขอบคุณมากครับท่านพี่ชาย ได้ความรู้มากเลยครับ