ศาสตร์ทางด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ เป็นศาสตร์ที่กว้างขวางครับ งานวิจัยแต่ล่ะชิ้นหรือความรู้ใหม่ ๆ แต่ล่ะอย่างที่คิดค้นขึ้นมา ล้วนไม่สามารถที่จะใช้ได้ในปัจจุบัน แต่มันจะเป็นสิ่งที่ถูกใช้ในวันพรุ่งนี้และวันต่อ ๆ ไป
มีภาพยนตร์อยู่สองเรื่องครับ และวรรณกรรมอยู่อีกหนึ่งชิ้น ที่เป็นหนึ่งในแรงขับเพื่อสร้างสรรค์แรงบันดาลใจใหม่ ๆ ในการค้นหาคำตอบของคำถาม ด้วยศาสตร์ทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ที่คิดค้นสร้างสมกันมา
เรื่องแรกเป็นวรรณกรรมของญี่ปุ่น เป็นภาคต่ออันโด่งดังของ The Ring และ Spiral นั่นก็คือ Loop, เรื่องที่สองเป็นภาพยนต์จาก hollywood มีชื่อว่า Matrix และเรื่องสุดท้ายก็เป็นภาพยนต์จาก hollywood เช่นกันซึ่งก็คือ The Thirteen Floor
แนวของทั้งสามเรื่องมีจุดร่วมเดียวกัน นั่นก็คือ การกล่าวถึงระบบคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่มีระบบนิเวศน์ของสิ่งมีชีวิตเสมือนจริงทำงานอยู่ภายใน จริง ๆ จะเรียกว่า “สิ่งมีชีวิต” ก็เรียกได้ไม่เต็มปากนัก แต่เอาเป็นว่ามันคือ “สิ่งไม่มีชีวิต” ที่สามารถสำเนาความเป็น “สิ่งมีชีวิต” ได้ก็แล้วกัน
ถึงแม้จะมีจุดร่วม แต่ก็มีจุดต่าง, ทั้งสามเรื่องมีจุดต่างกันนิดหน่อยตรงที่ Loop และ The Thirteen Floor มีสิ่งมีชีวิตที่ เกิด แก่ เจ็บ และตาย อยู่ภายในระบบนิเวศน์นั้น โดยที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับระบบนิเวศน์ภายนอกเลย ในขณะที่ Matrix นั้น มนุษย์ใน Matrix ใช้ชีวิตอยู่ภายในระบบนิเวศน์เสมือนจริง แต่ที่จริงแล้วมีกายหยาบอาศัยอยู่ในระบบนิเวศน์ภายนอก Matrix
เมื่อเป็นแบบนี้แล้ว เราก็เลยต้องมาแบ่งความเข้าใจของเรื่องนี้ออกเป็นสองส่วนด้วยกัน นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็นว่า …
- ถ้าเป็นการศึกษาเรื่องที่เหมือนกับ Matrix จะถือว่าเป็นแขนงวิชา Digital Life
- แต่ถ้าเป็นการศึกษาเรื่องที่เหมือนกับ Loop และ The Thirteen Floor จะถือว่าเป็นแขนงวิชา Artificial Life
สำหรับผมแล้ว Artificial Life น่าสนใจกว่า Digital Life เยอะครับ เพราะ Artificial Life ไม่ได้ยึดโยงอยู่กับระบบนิเวศน์เดิม ๆ ของโลกแห่งความจริง ดังนั้นเราจึงสามารถที่จะปล่อยให้มันวิวัฒนาการไปในแนวทางที่เอื้ออำนวยของมันเองได้
Artificial Life เป็นแขนงวิชาที่ไม่ได้อยู่อย่างเดียวดาย การจะบรรลุถึงผลลัพท์ของแขนงวิชานี้ได้ จำเป็นที่จะต้องใช้ความรู้จากหลาย ๆ แขนงวิชา และหลาย ๆ แขนงวิชาย่อยมารวมกัน
ตอนแรกผมค้นหาข้อมูลแล้วก็พบว่ามึนตึ้บน่าดู เพราะรู้สึกว่ามันมีหลายตัวเลยที่เกี่ยวข้องยึดโยงกัน ก็เลยตัดสินใจทำแผนภาพขึ้นมา เพื่อใช้อธิบายว่าการจะได้มาซึ่งระบบนิเวศน์เสมือนจริง ตามหลักการของ Artificial Life นั้น จะประกอบไปด้วยแขนงวิชาย่อยอะไรบ้าง
จะเห็นว่าหากนักวิทยาศาสตร์ซึ่งวิจัยศึกษาในแขนงวิชาตามภาพข้างบน สามารถศึกษาองค์ความรู้จนได้ผลลัพท์อย่างครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว การเกิดขึ้นของ Artificial Life ก็คงไม่ไกลเกินเอื้อมครับ
[tags]artificial life, digital life, matrix, loop, thirteen floor, คอมพิวเตอร์, ซอฟต์แวร์[/tags]
พอดู 13th fl. จบแล้ว
ก็พยายามเพ่งรอบๆ ตัวว่ามันมีตรงไหน “ภาพแตก” หรือเปล่า เหอๆ
ส่วน matrix ก็ต้องดูว่ามันมี deja vu เปล่า 😀
ว่าแล้วก็ไปหามาดูอีกรอบดีกว่า 😉
ผมเองก็อยากดู 13th flr อีกรอบเหมือนกันคุณ iPAtS แต่ไม่ยักจะหาเช่าได้เลยแฮะ