วิธีทำให้ธุรกิจซอฟต์แวร์เจ๊ง

ผมจำได้ว่าเคยโม้ไปแล้วว่า มนุษย์เรานั้นหากเคยหาเงินได้จากทางใดได้อย่างสม่ำเสมอ ก็จะพยายามยึดเหนี่ยววิธีในการหาเงินดังกล่าวเอาไว้ ไม่ปล่อยไปไหน อีกทั้งพยายามที่จะอาศัยฐานดังกล่าว ต่อยอดเพื่อให้ได้ผลตอบแทนมากขึ้น

ที่ผ่านมา … ผู้คนรอบตัวผมซึ่งเรียนมาทางคอมพิวเตอร์ ล้วนมีเส้นทางเดินที่ไม่แตกต่างกันมากนัก สรุปแล้วมีเส้นทาง 3 แบบ อันได้แก่

พวกแรก … ยังคงเป็นพนักงานกินเงินเดือนต่อไป เติบโตขึ้นกลายเป็น Specialist คนพวกนี้ยินดีจะเรียนต่อในระดับปริญญาโททางด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์, เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือวิศวกรรมคอมพิวเตอร์

พวกสอง … ถูกสถานการณ์บีบบังคับให้ต้องละทิ้งเส้นทางในการเป็น Specialist เพื่อไปเติบโตเป็นพนักงานกินเงินเดือนในระดับจัดการ ต้องเรียนรู้วิธีการบริหารจัดการ บางคนอาจพึงพอใจที่จะเรียนต่อในระดับปริญญาโททางด้าน MBA

พวกสาม … รู้สึกเอียนกับการเป็นพนักงานกินเงินเดือน แล้วสลัดคราบตัวเองออกมาเป็นผู้ประกอบการ ทำธุรกิจผลิตหรือให้บริการซอฟต์แวร์แทน

ผมกำลังจะโม้เกี่ยวกับพวกที่สามให้อ่านกันครับ …

พวกเราคิดว่าการทำธุรกิจซอฟต์แวร์ยากมั้ย? ผมไม่รู้นะเพราะผมไม่เคย ผมเป็นนักลงทุนและก็พนักงานกินเงินเดือน ผมจึงสนใจแต่อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน และสนใจแต่บทบาทหน้าที่ของงานที่ทำ ไม่เคยสนใจการทำธุรกิจก็เลยตอบไม่ได้

โลกใบนี้ไม่ค่อยมีพื้นที่ให้กับผู้พ่ายแพ้ ดังนั้นเราจึงไม่เคยเห็นคนที่ทำธุรกิจซอฟต์แวร์เจ๊ง มาแต่งหนังสือให้เราได้อ่านกัน แต่พอดีว่าผมมักถูกแวดล้อมไปด้วยคนที่ทำธุรกิจซอฟต์แวร์แล้วเจ๊งครับ ผมจึงเก็บสะสมรูปแบบในการทำให้ธุรกิจซอฟต์แวร์เจ๊งไว้มากพอสมควร … งั้นมาจับประเด็นกันดีกว่านะ ว่าทำยังไงถึงจะทำให้ธุรกิจซอฟต์แวร์เจ๊งได้บ้าง

1. ใช้แต่ตัวเอง

คนที่ก่อตั้งธุรกิจซอฟต์แวร์ส่วนใหญ่มักเป็น geek คอมพิวเตอร์มาก่อน พวกเขาจึงเก่งอยู่แล้ว แต่เก่งในที่นี้หมายถึงเก่งแต่ใช้ตัวเองให้ทำงาน แต่ไม่เก่งที่จะถ่ายทอดความรู้หรือทักษะให้พนักงานของตัวเอง เพื่อจะให้พวกเขาทำงานแทนในภายภาคหน้าได้

ถึงแม้คนเหล่านี้จะรู้ว่าธุรกิจต้องเติบโต จึงจำเป็นต้องจัดจ้างคนมาเพิ่มก็ตาม แต่พวกเขาก็ไม่สามารถละทิ้งความรู้สึกทีว่าตัวเองเก่งอยู่คนเดียวไปได้ ทำให้ต้องใช้ตัวเองทำงาน จนทนไม่ไหว ล้มไปดื้อ ๆ

2. ประมาทในกระแสเงินสด

การทำธุรกิจมีแกนหลักอยู่ที่ผลประกอบการที่มีกำไรสุทธิ เรื่องนี้เป็นเรื่องพื้นฐานมากซึ่งใคร ๆ ก็รู้ แต่เนื่องจากคนก่อตั้งธุรกิจซอฟต์แวร์ มักจะคิดอะไรที่เป็นองค์ความรู้ในการสร้างซอฟต์แวร์ ดังนั้นพวกเขาจึงห่างไกลจากความเข้าใจในเรื่องการสร้างผลประกอบการที่ให้กระแสเงินสดเป็นบวกยิ่งนัก

บางคนไหวตัวทัน ในขณะที่ยังเป็นพนักงานกินเงินเดือนอยู่จึงไปเรียนต่อ MBA เพื่อหวังจะปูพื้นเพื่อออกมาเป็นผู้ประกอบการ แต่กลับกลายเป็นว่าเขาเหล่านั้นติดบ่วง จึงต้องกลายเป็นคนพวกสอง กลายเป็นระดับจัดการในองค์กรไปแทน

เมื่อประมาทในกระแสเงินสด ให้ความสนใจแต่รูปแบบของผลิตภัณฑ์หรือการบริการเป็นหลัก ละเลยในการทำการตลาด ก็เลยทำให้ค่าใช้จ่ายพอกพูน รายได้หดหาย จนกระทั่งเจ๊งในที่สุด

3. ล้มเหลวในการบริหารหนี้สิน

ผมไม่เคยเห็นธุรกิจไหนเลยที่ไม่มีหนี้สินนะ การมีหนี้สินมันเป็นส่วนประกอบในการทำธุรกิจ มันช่วยให้เกิดกระแสเงินสด มันทำให้มีสภาพคล่อง แต่เราต้องไม่ลืมว่าหนี้สินนั้นไม่ใช่สร้างกันได้ง่าย ๆ อีกอย่าง พวกเราสังเกตุกันมั้ย ว่าในหลักสูตรการบริหาร มันไม่มีวิชาที่สอนให้เรากู้เงินจากสถาบันการเงินเพื่อทำธุรกิจ ของแบบนี้มันเป็นศาสตร์และศิลป์ที่เขาไม่สอนกันง่าย ๆ แล้วเมื่อกู้เงินมาได้แล้ว ก็ต้องคิดให้หัวแตกกันไปเลยว่าจะเอาเงินที่กู้มา มาใช้ให้เกิดประโยชน์ยังไงได้สูงสุด

และสิ่งที่น่ากลัวที่สุดสำหรับหนี้สินก็คือ ดอกเบี้ยทบต้น … นอกจากค่าใช้จ่ายปรกติที่ต้องหนีให้พ้นแล้ว ยังมาเจอกับดอกเบี้ยทบต้นอีก แล้ว geek คอมพิวเตอร์บางคนที่ไม่สันทัดกับหนี้สินจะเอาอยู่ได้ยังไง สุดท้ายบริหารหนี้สินไม่ไหว ก็ปิดตัวไปจนได้

4. แตกคอกันเอง

เนื่องจากว่าต่างคนต่างเก่ง ต่างคนก็ต่างมีทิฐิมานะของตนเอง ยึดมั่นถือมั่นในความรู้อันทรงภูมิปัญญาของตัวเอง ไอคิวสูง แต่ปัญญาเชิงอารมณ์มีไม่มากนัก แทนที่จะสนใจในผลประโยชน์ร่วมเป็นสำคัญ ทำให้รวมกันก็น่าจะไปรอดอยู่แล้ว เลยแพแตก ถอนหุ้นกันวุ่นวาย สุดท้ายก็ไปไม่รอด

5. ไว้ใจมากเกินไป

เรื่องผลประโยชน์มันไม่เข้าใครออกใครครับ ยิ่งเป็นระดับ geek ยิ่งไปกันใหญ่ เผลอแป๊บเดียวโกงกันซะล่ะ เพราะสมองระดับเทพกันทั้งนั้น ทำให้ธุรกิจซอฟต์แวร์แทนที่จะโต ก็ตายไปดื้อ ๆ ซะงั้น

จะเห็นว่าการทำธุรกิจซอฟต์แวร์นั้น มันก็เหมือนกับการทำธุรกิจในทุก ๆ รูปแบบนั่นเอง มีปัจจัยที่คล้าย ๆ กัน มีนิยามที่คล้าย ๆ กัน แล้วก็มีตัวแปรทีคล้าย ๆ กัน

ผมเชื่ออยู่อย่างนึงนะว่า คนเราต้องแพ้ก่อน จึงจะชนะได้, ต้องเจ๊งก่อน ถึงจะมั่งคั่งได้ แล้วก็ต้องเจ็บก่อน ถึงจะป้องกันตัวได้ครับ

[tags]คอมพิวเตอร์,ซอฟต์แวร์,ธุรกิจ,ธุรกิจซอฟต์แวร์,เจ๊ง,ธุรกิจเจ๊ง[/tags]

Related Posts

15 thoughts on “วิธีทำให้ธุรกิจซอฟต์แวร์เจ๊ง

  1. คู่หูลาร์รีกับเซอร์เกย์ไงคับ ที่อยู่พวกแรกแล้วผันมาอยู่พวกที่สาม
    เจอรรี่ หยาง นี่ก็ใช่

    ส่วนเมืองไทยมีใครมั่งหว่า

  2. ผมว่า ข้อแรกเนี่ยตรงสุดๆ “ใช้แต่ตนเอง” เพราะการมองเช่นนี้ ทำดีได้สุดๆ แค่กิจการส่วนตัว งานเล็กๆ ดูแลเอง ล่มเอง เป็นปกติ

  3. ถ้ามีคนที่มีประสบณ์เจ๊งมาทำหนังสือเผยเเพร่คงเเปลกไม่น้อย
    น่าจะเป็นประโยชน์ดีนะผมว่า
    เเล้วจะมีคนซื้อหนังสือเค้าไหมนะ

  4. เป็นบทความที่ดีมากๆเลยครับ ขออนุญาติ save เก็บไว้อ่านเตือนใจนะครับ 😀

  5. เมืองไทยมีใครบ้าง ^o^ ไม่รู้ดิคุณ wiennat ผมไม่ได้ติดตามเลย

    สู้ ๆ ครับคุณ HaMoo

    สงสัยคุณ PatSonic จะอยู่ในกลุ่มศิลปิน ว่าแต่โมบล็อกเสร็จแล้วบอกด้วยนะครับ ผมเข้าบล็อกยากเหลือเกิน ไม่รู้จะไป CityBlue ดี หรือไป PatSonic ดี

    กลัวติดบ่วงหรือคุณ xinexo อิ อิ 😛

    ธุรกิจส่วนตัว ก็คือใช้แต่ตัวเองนั่นเองครับคุณเดย์ เห็นด้วย เห็นด้วย

    ปรกติคนส่วนใหญ่มักอยากอ่านวิธีสู่ความสำเร็จครับคุณ bin แย่หน่อยอันนี้

    ระดับคุณ mrpete แล้ว เป็นเจ้าของกิจการแล้วครับ ผมรอคุณ mrpete เขียนเล่าประสบการณ์อยู่เหมือนกันนา

  6. ผมเคยอ่านหนังสือเล่มนึง เกี่ยวกับการจดทะเบียนบริษัท
    แต่แต่งเป็นเหมือนนิยาย แล้วก็เขียนในทำนองล้มเหลว
    ก็คงจะสอนเรื่องที่ไม่ควรทำในการจดทะเบียนอ่ะครับ

    ตอนนี้หนังสือเล่มนั้นโดนยืมแล้วยึดไปแระหล่ะครับ เซ็ง

  7. ???????????????????????????????????????????????????????? software ????????? ?????????????????????????????????????????????????????? ==’
    ??????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????? ?????????????????????????????????????????????????????? ???????????? ?????????????????????????????

  8. ผมว่า ข้อ 4 และข้อ 5 น่ากลัว สุดครับ (สำหรับตัวผม)
    แล้วก็ ข้อความจบ เขียนได้ดีมากๆครับผม

  9. ผมว่าการทำธุรกิจก็ไม่ยากหากมีหัวดัดแปลงเหมือนพ่อค้าคนกลาง ยืมมือคนอื่นรวย ความสามารถที่ดีที่สุดคือการที่ใช้คนเก่งๆทำงานให้ไง ขอบคุณครับพี่ไท้ เผอิญทำตลาดแต่ไม่รู้เรื่องเกี่ยวยกับโปรแกรมและโดนโปรแกรมเมอร์ดูถูกเอายังเจ็บใจไม่หายเลย

  10. ผมว่ายังก็ตามข้อห้า น่ากลัวมากที่สุดเรยคับ เพราะเจอมาบ่อยเหอๆๆ แต่ไม่ใช่เรื่องธุรกิจนะครับ เรื่องอื่นๆๆเหอๆๆ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *