ผมเพิ่งจะอ่านร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลจบไปครับ มันเป็นตัวบทกฎหมายที่ผมสนใจอย่างมาก เพราะเป็นกุญแจสำคัญในการทำธุรกิจสารสนเทศในอนาคต ซึ่งผมเองก็เห็นว่ามันน่าจะเขียนถึง และผมก็เคยเขียนถึงไปแล้วด้วย (อ้างอิง : หัวข้อขุมทรัพย์สารสนเทศ)
แหล่งกำเนิดอำนาจของมนุษย์นั้นประกอบด้วย 8 แหล่งอันได้แก่ เงินตรา, กลไกรัฐ, ธุรกิจผูกขาด, ภาพลักษณ์, สื่อ, ความรู้, เครือข่าย และกำลัง
ผมเคยเขียนไว้ว่าในปัจจุบันนี้นั้น ข้อมูลส่วนบุคคลของพวกเราส่วนใหญ่ ถูกยึดกุมเอาไว้โดยรัฐ … ทำไมถึงอยู่กับรัฐ? เพราะเราเชื่อมั่นในรัฐเหรอ? หรือเพราะรัฐมีภาพลักษณ์ที่ดี? 😛 ไม่ใช่หรอก เป็นเพราะรัฐมี “กลไกรัฐ” ต่างหาก จึงสามารถที่จะครอบครองข้อมูลส่วนบุคคลของท่านทั้งหลายเอาไว้ ผ่านทางกฎหมายที่ตราออกมามากมายได้
ดูเหมือนว่าในร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล จะมีช่องเลือกปฏิบัติได้ตรงที่ ถ้าหากว่าเจ้าของข้อมูลให้ความยินยอม ผู้รวบรวมข้อมูลก็สามารถรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลของใคร ๆ ก็ได้ … งั้นก็เข้าทางธุรกิจสารสนเทศน่ะสิ!!!
ลองคิดกันดูซิว่าถ้าหากธุรกิจทั้งหลายที่ไม่ได้รับ “สัมปทาน” สำหรับเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งถือครองโดยภาครัฐ และธุรกิจเหล่านั้นก็ไม่ได้เป็น “ธุรกิจผูกขาด” ที่มีระบบอันเข้มแข็ง จนสามารถทำให้ใครก็ตามที่ต้องการสินค้าหรือบริการที่ผูกขาด ยินยอมผ่อนปรนมอบข้อมูลส่วนบุคคลให้ …
ธุรกิจเหล่านั้นจะใช้อำนาจใดเพื่อทำให้ใคร ๆ ยินยอมมอบข้อมูลส่วนบุคคลให้กันล่ะ???
งั้นคงมีเพียงอำนาจเดียว นั่นก็คือ “ภาพลักษณ์”!!!
กรณีศึกษาเดียวที่ผมนึกออกว่า “ภาพลักษณ์” มีอำนาจ สามารถทำให้ใคร ๆ ยินยอมมอบข้อมูลส่วนบุคคลให้นั่นก็คือ “ระบบหางานออนไลน์” ระบบที่ทำให้เราต้องกรอกชื่อที่อยู่, กรอกประวัติการศึกษาของเราอย่างละเอียดยิบ และกรอกประสบการณ์ทำงานทั้งชีวิตอีกต่างหาก และที่เรากรอกเข้าไปก็เพราะเรา “เชื่อ” ว่าจะช่วยให้เราหางานได้ จะช่วยให้ใครที่เห็นประวัติของเรา เรียกเราไปทำงานได้!!!
ผมไม่เคยหางานได้จากการกรอกประวัติอย่างละเอียดลงใน “ระบบหางานออนไลน์” เลยนะ (ผมใช้เส้นทุกครั้งเวลาหางานทำ) และผมก็มั่นใจมากว่าข้อมูลส่วนบุคคลของผม คงถูกขายไปไม่รู้ตั้งกี่ครั้งแล้ว!!!
ประเทศไทยเรานั้นมีการฉวยโอกาสหาผลประโยชน์จากข้อมูลส่วนบุคคลมานานแล้ว เพียงแต่ยังไม่มีวิธีพลิกแพลงมากนัก เท่าที่เห็นก็แค่ขายให้กับประกัน, บัตรเครดิต, สถานออกกำลังกาย และขายตรง
อีกไม่นาน เราคงจะได้เห็นธุรกิจสารสนเทศ สร้างโมเดลการรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลอันแยบยล และสร้างกระบวนการในการหาผลประโยชน์จากข้อมูลส่วนบุคคล อย่างเป็นขั้นเป็นตอนแน่ ๆ เลยครับ
[tags]คอมพิวเตอร์,ซอฟต์แวร์,ขุมทรัพย์,สารสนเทศ,ข้อมูล,ระบบ,ธุรกิจสารสนเทศ[/tags]
ผมหางานผ่านมหาลัยครับได้ผลกว่า 🙂
เด๋วนี้ google มีบริการเก็บข้อมูลการแพทย์ส่วนบุคคลแล้วนา อิอิ
อืมม งั้นผมก็เชื่อว่าพี่ไท้ น่าจะไม่ทำบัตรเครดิต ประกัน หรือจ่ายภาษีผ่านอินเตอร์เนทด้วยแน่ๆ
รุ่นผมตอนโน้น ระบบหางานของสถาบันการศึกษายังไม่เข้มแข็งเลยครับคุณ Dominixz ทุกคนจึงจำเป็นต้องดูแลตนเอง โดยการหางานเองนั่นเองครับ
อื้อใช่ ๆ คุณ 7 ผมเองก็ได้รู้ข่าวดังกล่าวจาก BlogNone เหมือนกัน
ไม่ถึงขนาดนั้นหรอกครับคุณตัวป่วน