ผมจะสมมติว่าตัวผมนั้นเป็นผู้นำหลักขององค์กรลึกลับองค์กรนึงครับ องค์กรดังกล่าวมีความยิ่งใหญ่ในระดับเดียวกับ Umbrella Corporation เลยทีเดียว (โม้ ๆ)
เอาชื่อองค์กรว่าอะไรดี งั้นตั้งชื่อว่า Sunflower Corporation ก็แล้วกัน อิ อิ 😛
ภายหลังจากประเทศไทยออกกฎหมายที่ชื่อว่า “พระราชบัญญัติคุ้มครองเงินฝาก” ซึ่งจะทำให้เงินฝากในธนาคารพาณิชย์ของประชาชนนั้น ไม่ได้ถูกประกันโดยรัฐบาลอีกต่อไป จึงทำให้องค์กรแห่งนี้จำเป็นต้องปรับตัวขนานใหญ่ จากเดิมที่เคยให้ความสำคัญกับการเก็บความลับของงานวิจัยระดับสุดยอดเพียงอย่างเดียว ก็จำเป็นที่จะต้องเก็บเงินสดขององค์กรเอาไว้เองด้วย แทนที่จะฝากไว้กับธนาคารพาณิชย์เหมือนเมื่อก่อน (ไม่ไว้ใจรัฐบาล)
เนื่องจากงานวิจัยระดับสุดยอด และเงินสดจำนวนมหาศาลขององค์กรนั้น มีความสำคัญต่อองค์กรอย่างสูงสุด ทางคณะกรรมการลับสุดยอดขององค์กร จึงมีมติอย่างเป็นเอกฉันท์ที่จะทุ่มงบประมาณอันแสนจะมหาศาล (เท่าไหร่วะ?…ไม่รู้เด่ะ!!!) เพื่อสร้างระบบรักษาความปลอดภัยระดับสุดยอดขึ้นมา เพื่อเก็บความมั่งคั่งและวิทยาการอันก้าวหน้าล้ำยุคขององค์กรเอาไว้
โดยวางแผนและออกแบบพิมพ์เขียวเอาไว้ว่า …
ห้องนิรภัยที่ใช้เก็บงานวิจัยระดับสุดยอด กับห้องนิรภัยที่ใช้เก็บเงินสดนั้น จะแยกเก็บกันคนล่ะที่ โดยมีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยดูแลอย่างใกล้ชิด ผู้ที่จะเข้าห้องนิรภัยดังกล่าวได้ จำเป็นจะต้องถูกตรวจค้นโดยเจ้าหน้าที่ถึง 3 ชั้นประตู และเมื่อถึงประตูสุดท้าย ก็จำเป็นที่จะต้องแสดงตัวตน ว่าตัวเองนั้นมีสิทธิ์ที่จะเข้าประตูสุดท้ายได้ โดยมีขั้นตอน 7 ขั้นตอน ทั้งแบบธรรมดาและแบบ Biometric ในการแสดงตนดังต่อไปนี้
1. แสดงตนด้วย Contactless Smart Card
ก่อนอื่นผู้เข้าห้องต้องส่อง Contactless Smart Card เข้ากับเครื่องอ่านบัตรซะก่อน เพื่อเป็นการเริ่มต้นสำหรับการแสดงตนในขั้นต่อ ๆ ไป โดยใน Contactless Smart Card จะเก็บหมายเลขของบุคคลผู้นั้นเอาไว้ พร้อมทั้งเก็บรหัสผ่านขั้นต้นที่ถูกเข้ารหัสเอาไว้แล้ว โดยรหัสผ่านดังกล่าวจะถูกตรวจสอบโดยเครื่องอ่านบัตร เพื่อปลดล็อกสิทธิ์ในการแสดงตนในระดับถัด ๆ ไป
System is activated!!! ….
2. แสดงตนด้วยรหัสผ่าน
เมื่อระบบอนุญาตให้แสดงตนต่อไปได้ ผู้เข้าห้องจำเป็นต้องกดที่ปุ่มตัวเลข เพื่อบอกรหัสผ่านที่ตนเองมี โดยรหัสผ่านคือตัวเลขจำนวน 10 หลัก ไม่มากไม่น้อยกว่านี้ (จำไม่ได้ซวยแหงงานนี้)
ซึ่งความน่าจะเป็นที่ใครจะสามารถมั่วรหัสผ่านถูกได้ก็คือ 1 ใน 10 ยกกำลัง 10 กรณี หรือก็คือ 1 ใน หมื่นล้านนั่นเอง
แถมให้กรอกได้แค่ 3 ครั้งด้วยนะเอ้อ!!!
3. แสดงตนด้วยประโยคคำพูด
จากนั้นระบบก็จะเปิดไมโครโฟน เพื่อให้ผู้เข้าห้องเปล่งเสียงคำพูดของตนออกมา โดยจะต้องเปล่งคำพูดตามรหัสผ่านที่ได้มา ยกตัวอย่างเช่น “ไอ้ควายเป็นไงอ่ะ?” (ไม่มีรหัสผ่านที่ดีกว่านี้แล้วเหรอ หือ?)
ระบบจะอาศัยเทคโนโลยี Speech Recogntion เพื่อแปลงคำพูดให้กลายเป็นข้อความ จากนั้นจึงตรวจสอบว่าข้อความดังกล่าว ตรงกับรหัสผ่านหรือไม่
4. แสดงตนด้วยเสียงพูด
ตอนที่แสดงตนด้วยประโยคคำพูดในขั้นตอนที่ 3 นั้น ระบบก็จะอาศัยเทคโนโลยี Voice Recognition เพื่อทำการวิเคราะห์คลื่นความถี่ เพื่อแปลงให้เป็นสัมประสิทธิ์อันบ่งบอกตัวตน ว่าผู้พูดนั้นเป็นผู้ใดกันแน่???
และเพื่อให้แม่นยำยิ่งขึ้น ระบบก็จะแยกคลื่นความถี่ในแต่ล่ะคำพูด เพื่อให้แน่ใจว่าตลอดประโยคที่พูดนั้น ถูกพูดโดยคน ๆ เดียวกัน และเพศเดียวกัน!!!
5. แสดงตนด้วยลายนิ้วมือ
ระบบจะปิดไมโครโฟน แล้วเปิดระบบอ่านลายนิ้วมือแทน ซึ่งผู้เข้าห้องจำเป็นต้องใช้นิ้วหัวแม่โป้งของตัวเอง จะข้างซ้ายหรือข้างขวาก็ได้ แตะลงไปยังเครื่องอ่านลายนิ้วมือ!!!
เทคโนโลยี Fringerprint Authentication จะถูกนำมาใช้ … ลายนิ้วมือจะถูกอ่านพร้อมทั้งแยกแยะคุณสมบัติเด่นต่าง ๆ จากนั้นนำค่าสัมประสิทธิ์ที่ได้ ไปตรวจสอบจากฐานข้อมูลว่าแสดงตนถูกต้องหรือไม่
ถ้ามั่วจิ้มมาผิดนิ้ว แบบว่าเขาให้จิ้มนิ้วโป้ง ดันทะลึ่งจิ้มนิ้วอื่น งานนี้มีซวย เพราะนอกจากระบบจะเปิดไซเรนแหกปากแล้ว ยังจะปล่อยคลื่นความร้อนออกมา เพื่อเผาลายนิ้วมือที่นิ้วของผู้แสดงตนด้วย โหดซะไม่มี
6. แสดงตนด้วยลายม่านตา
แต่ถ้าหากว่าผ่านด่านลายนิ้วมือมาได้โดยไม่โดนเผานิ้ว ระบบก็จะเรียกให้ยื่นหน้าเข้ามาใกล้ ๆ เพื่อให้เครื่องอ่านลายม่านตาสามารถที่จะอ่านลายม่านตาของผู้เข้าห้องได้
ระบบจะใช้เทคโนโลยี Iris Recognition เพื่อแยกแยะว่าลายม่านตาดังกล่าว เป็นของผู้แสดงตนจริง ๆ หรือไม่ ซึ่งต่อให้กำลังเป็นโรคตาแดงอยู่ก็ไม่มีผลอะไร เนื่องจากระบบตรวจแต่ลายม่านตาตรงตาดำ ไม่ได้ตรวจตรงตาขาวด้วยซะหน่อย ดังนั้นเส้นเลือดฝอยจะแตกยังไง ระบบก็ไม่สน อิ อิ 😛
7. แสดงตนด้วยเลือด
สุดท้ายระบบจะให้ผู้เข้าห้องเลือดตกยางออกครับ โดยการสั่งให้ผู้เข้าห้องเจาะเลือดของตนซักหยดนึง แล้วหยดลงบนแท่นรับเลือด
เทคโนโลยี Genetic Fingerprinting จะถูกนำมาใช้เพื่อวิเคราะห์ส่วนประกอบต่าง ๆ รวมทั้งแยกแยะรายละเอียดของสิ่งปนเปื้อน เพื่อให้ได้มาซึ่งลายพิมพ์ DNA ของคน ๆ นั้น
ลายพิมพ์ DNA ของผู้เข้าห้อง จะถูกนำไปเปรียบเทียบกับลายพิมพ์ DNA ของบุคลากรทั้งหมดในองค์กร เพื่อให้ทราบว่าจริง ๆ แล้วผู้แสดงตนนั้นเป็นใครกันแน่
….
จากการประเมินทุกขั้นตอนรวมกันพบว่า ผู้เข้าห้องจำเป็นต้องเสียเวลาไปกับการแสดงตนอย่างเร็วที่สุดประมาณ 2 นาที อย่างช้าที่สุดก็ประมาณ 5 นาที
เมื่อผมได้ยินดังนั้น ในฐานะผู้นำสูงสุดขององค์กร (ซึ่งตระหนี่มาก) จึงเสนอความเห็นว่า ขอให้สร้างตัว Mock-up ของระบบรักษาความปลอดภัย 7 ขั้นตอนนี้ที่ห้องอื่นก่อนได้มั้ย เพื่อทดสอบว่าระบบดังกล่าวจะใช้ได้จริง, ไม่เสียงบประมาณมากเกินไป และไม่ยุ่งยากเกินความจำเป็นจนเกินไป
โดยขอให้ลองไปสร้างไว้ที่ห้องน้ำประจำตัวของคณะกรรมการสูงสุดทุกท่าน เพื่อให้คณะกรรมการสูงสุดทุกท่านได้รู้ว่า มันเหมาะสมที่จะใช้เพียงไร 😛
หวังเป็นอย่างยิ่งว่าคณะกรรมการสูงสุดทุกท่าน จะเข้าไปถ่ายหนักถ่ายเบาได้ทันเวลานะครับ 😛
[tags]คอมพิวเตอร์, ซอฟต์แวร์, รักษาความปลอดภัย, สมมติฐาน, อรหันต์[/tags]
เป็นการทดลองที่อันตรายมาก
?????????????????????????????????????????????????????????????????? – -‘
???????????????????????????????????????????????????????????????
สยองที่สุดตรงเอามาใช้กับห้องน้ำเนี่ยแหละ
อย่างนี้ต้องตั้งเสียงเอาไว้เป็นคำว่า “อูย…” (เสียงสั่นหน่อยๆด้วย)
แต่ผมว่าทั่นคณะกรรมการคงทำเรี่ยราดไปตั้งแต่ให้กดตั้ง 10 หลักแล้ว
ถ่ายเบาโอเค แต่ถ่ายหนักนี่ คง…หนักจริงๆ
เสียงคง สั่นๆ error บาน ส่วนเลือดคงปนเปื้อนไปด้วยอุจจาระ (เพราะกั้นนาน กว่าจะถึงขั้นที่เจ็ด)
ผลลัพท์คือ
Access denied 🙂
อันตรายจริงๆ แต่ฝาแฝดที่เกิดจากไข่ฟองเดียว หรือกระทั้งเทคโนโลยีโคลนนิ่ง ระบบจะกันยังไง
เข้าใจคิดจังเลยพี่
ถึงไม่ได้สายคอมแต่ก็ขอร่วมอ่านด้วยคน
เห็นคนอื่นๆออกความเห็นมีใช้คำแปลกๆ
ก็เข้าใจบ้างไม่เข้าใจบ้าง
ได้รู้อะไรใหม่ๆดีคับ
ทุกท่าน – จริง ๆ แล้วการแสดงตนโดยใช้ Biometric ยังมีมากกว่านี้อีกครับ แต่ผมว่าแค่นี้ก็อย่างเว่อร์แล้วล่ะ
พอไม่มีน้องแพนเค้กแล้วอะไรมันซีเรียสไปหมดเลย!
ล้อเล่นนะครับ ห่างเหินการโพสต์ที่นี่ไปนาน แต่ยังนึกถึงเสมอ วันก่อนไปพูดเรื่องโปรแกรมโหราศาสตร์ยังเอาแนวคิด Software as a Service ใส่ Powerpoint บรรยายไว้หน่อยนึง กับที่เว็บหลัก http://www.rojn-info.com ตอนนี้มีแบนเนอร์พี่ไท้อยู่ตอนท้ายหน้าแล้วนะครับ
ผมตามเข้าไปดูแล้วนะครับพี่โรจน์ เกรงใจจัง แต่ก็ขอบคุณมาก ๆ เลยครับที่อุตส่าห์ทำแบนเนอร์ลิงก์มาให้ 🙂