ออกตัวก่อนเลยครับว่าบล็อกแห่งนี้โม้แต่เรื่องซอฟต์แวร์แค่อย่างเดียวครับ ไม่โม้หรือฝอยเรื่องความรัก แต่พอดีว่าผมจะเล่าเกี่ยวกับ Software as a Service ที่เกี่ยวกับความรักและการหาคู่ ก็เลยจำเป็นต้องยกทฤษฎี “สามเหลี่ยมแห่งความรัก” มาอธิบายให้เข้าใจกัน
ทุกวันนี้เราจะพบว่าคนเมืองหนุ่มสาวที่เป็นโสดขี้เหงามากขึ้น ถึงแม้พวกเขาจะพบผู้คนมากมายจากที่ทำงานก็ยังขี้เหงาอยู่ดี คนเหล่านี้ลึก ๆ แล้วก็ต้องการที่จะหาคู่ให้กับตนเอง คู่ที่ตนเองพึงพอใจ แต่จะไปหาจากไหนได้ล่ะ ในเมื่อวัน ๆ ก็ทำงานอยู่แต่ที่ทำงานจนมืดค่ำ วันหยุดบางทีก็ยังต้องไปทำงานอีก เวลาจะออกเดทก็แทบจะไม่มีเลย!!!
ดังนั้นอินเตอร์เน็ตจึงกลายเป็นหนทางหนึ่งที่จะทำให้ได้คู่อย่างที่ใจหวังไว้!!!
พวกเราอาจจะได้เห็นเว็บไซต์หาคู่อยู่มากมาย ในเมืองไทยผมก็เห็นมีอยู่หลายเว็บเหมือนกัน แต่ยังไงดีล่ะ เว็บเหล่านั้นมันยังไม่ได้เป็นระบบที่ดีพอหรอก เพราะเว็บเหล่านั้นยังไม่ได้ทำความเข้าใจกับแนวคิดความรักที่แท้จริง
งั้นผมอธิบายความรักโดยใช้ “สามเหลี่ยมแห่งความรัก” อธิบายให้เข้าใจกันดีกว่า!!!
สามเหลี่ยมแห่งความรักถูกสร้างขึ้นเพื่ออธิบายให้เราทราบว่า ความรักนั้นเกิดจากองค์ประกอบ 3 รูปแบบอันได้แก่ ความสนิทสนม, ความหลงไหล และความผูกพัน …
ด้วยองค์ประกอบ 3 รูปแบบดังกล่าว จะทำให้เราสามารถจัดเรียงหมวดหมู่ของความรักได้เป็น 8 กรณีดังนี้
1. ไร้รัก
….. ไม่มีความสนิทสนม ไม่มีความหลงไหล และไม่มีความผูกพัน เหมือนกับที่เรารู้สึกกับคนทั่ว ๆ ไปที่เดินผ่านไปผ่านมาในชีวิต
2. ชอบ
….. มี “ความสนิทสนม” กันเกิดขึ้นแต่เพียงอย่างเดียว ส่วนใหญ่แล้วจะเกิดจากการได้ใกล้ชิดกับผู้ร่วมงานหรือเพื่อนนักเรียน เกิดความอบอุ่น เป็นมิตรที่ดีต่อกัน
3. หลงรัก
….. มี “ความหลงไหล” เกิดขึ้นแต่เพียงอย่างเดียว ลักษณะส่วนใหญ่เกิดกับรักแรกพบ เพราะติดตาตรึงใจในรูปลักษณ์, การแต่งกาย, การแสดงออกท่าทาง และการพูดจา โดยที่ยังไม่เคยทำ “ความสนิทสนม” กันมาก่อนเลย
4. รักที่ว่างเปล่า
….. มี “ความผูกพัน” กันเท่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่เกิดกับคนที่อยู่ด้วยกันมานานแล้ว หรือคบกันมานานแล้ว หรือแต่งงานกันมานานแล้ว มีความผูกพันกันเพราะอยู่ร่วมกันมานาน
5. รักโรแมนติก
….. เกิดจากการหลอมรวมกันระหว่าง “ความสนิทสนม” และ “ความหลงไหล” เป็นรูปแบบความรักที่คนหนุ่มสาวนิยมกันมาก เพราะมันไม่จำเป็นต้อง “ผูกพัน” กัน เพราะ “ความผูกพัน” มันจะนำมาซึ่งการรับผิดชอบและความเป็นจริงที่ไม่น่าพึงพอใจซักเท่าไหร่หากปรับตัวเข้าหากันไม่ได้
6. รักแบบเพื่อน
….. ส่วนใหญ่จะเกิดกับคนในครอบครัวหรือเพื่อนสนิทเป็นหลัก เพราะเกิดจาก “ความสนิทสนม” และ “ความผูกพัน” หลอมรวมเข้าไว้ด้วยกัน ต่างก็รู้ใจกันและรับผิดชอบซึ่งกันและกัน
7. รักไม่เต็มบาท
….. คนที่มีแต่ “ความหลงไหล” จนกระทั่งขยายเข้าสู่ “ความผูกพัน” มักจะเป็นรักประเภทนี้ เป็นรักที่ไม่ลืมหูลืมตา ไม่ได้มี “ความสนิทสนม” รู้แจ้งเห็นจริงในธาตุแท้ของกันและกันเลย
และ …
8. รักสมบูรณ์แบบ
….. มีองค์ประกอบครบทั้ง 3 รูปแบบ คือ “ความสนิทสนม”, “ความหลงไหล” และ “ความผูกพัน” เป็นความรักในแบบที่ทุกคนต้องการมากที่สุด แต่มีความเสถียรต่ำที่สุด เพราะเมื่อเวลาผ่านไป ก็จะมีองค์ประกอบรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งค่อย ๆ หายไป จนกระทั่งมีลักษณะเหมือนความรัก 7 แบบข้างต้น
…
จะเห็นว่าถ้าเราจะส่งบริการความรักและบริการหาคู่ให้กับผู้บริโภค ตามหลักการของ Software as a Service แล้วล่ะก็ เราต้องจับจุดให้ได้ว่าผู้บริโภคของเรานั้น จริง ๆ แล้วต้องการความรักแบบไหนกันแน่ใน 8 แบบนี้
ซึ่งผมมองว่าคนส่วนใหญ่ต้องการแบบที่ 5 แบบรักโรแมนติก ซึ่งเป็นแบบที่สามารถให้ความอิ่มเอมในหัวใจมากที่สุด และไม่จำเป็นต้องผูกมัดซึ่งกันและกัน จึงมีความเป็นอิสระสูง
ดังนั้นจึงต้องสร้างระบบที่สามารถตอบโจทย์และจบในตัวให้ได้ว่า จะทำยังไงถึงจะเค้นศักยภาพของซอฟต์แวร์, คอมพิวเตอร์ และอินเตอร์เน็ต เพื่อให้พวกเขาเหล่านั้นสามารถ “สนิทสนม” และ “หลงไหล” กันได้อย่างแท้จริง
[tags]สมมติฐาน,สามเหลี่ยมแห่งความรัก,ความรัก,SaaS,Software as a Service[/tags]
คล้ายๆวิชา human relationship อะไรนี่แหละที่เคยเรียนเลยค่ะ
ออกแนวจิตวิทยา จำได้แต่ passionate love คือแบบวัยรุ่นชอบไอดอล อะไรประมาณนั้น มีแต่ความหลง”ใ”หล
เป็นโพสที่อธิบายวิธีทำ software ที่ดีได้ เห็นภาพมากๆ เลยครับ
แต่เวลาเอาไปทำจริงนี่สิ – -“
กลับไปใช้ตีมเดิมหรอครับ ?
อ๋า ผมไม่เคยเรียนเลยอ่ะคุณ Nice ปรกติเรียนแต่คอมพิวเตอร์ T-T รู้แคบจังผม
นั่นสิคุณ xinexo งั้นก็ต้องคิดกันต่อไป
ใช่ครับคุณ pete เพราะ theme สามคอลัมน์ตัวนั้น โดนผมแก้จนพังหมดเลย แถมจำไม่ได้แล้วว่าหาจากไหน ก็เลยขุดของเก่าคืออันนี้มาใช้แทน เห็นมีคนบอกว่ามันคลาสสิคดี ผมเองก็ว่างั้น
โดนใจ เพิ่งเคยเห็นขอนำไปใช้
แจ่มมากครับพี่ไท ให้ความคิดแหวกแนวอีกแล้ว แต่ผมว่าความจริงมันประกอบอีกหลายอย่างแหะ แต่ตอนนี้เล่น 3 อย่างนี้ก่อนละกัน
ทำยังไงให้ Social Network สนิทสนมกันมากขึ้น อย่างน้อยผมว่ามันต้องสร้าง Culture ของการให้กันก่อน เสร็จแล้วก็สร้าง Social แห่งการ Discuss ปัญหา มันก็จะเกิดเป็นความสนิทสนมกันมากขึ้น
เสร็จแล้วท่าเรื่องหลงนี้ไม่ยาก เราก็ต้องมีการจัดการ QA เรื่อง Template web และรูปหน้าตาแต่ละรูปของ Member ทำให้คนที่เข้ามาในสังคมนี้จะเจอแต่รูปที่ดีที่สุดของแต่ละคน ทำให้เกิดโอกาสหลงได้ง่ายขึ้น > o
ปัญหาเดียวกับเรื่องโทรศัพท์คือ “ความห่วงใย” ส่งผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิส์ไม่ได้ ต่อให้บรรยายเป็นภาพ เป็นรูป แต่ความรู้สึกที่ได้สัมผัสมันต่างกัน และมากกว่านั้นครับ 😉
เฮ้อ …. คิดถึงแฟนจัง
ชักไม่ค่อยเชื่อแฮะ ว่าสนใจแต่ software อย่างเดียว 😀
เอามาจากที่ไหนซักที่หรือเปล่าครับ ผมรู้สึก คุ้น ๆ ว่าเคยอ่าน
ถ้าจะเปรียบเทียบกับซอฟต์แวร์แล้ว ผมว่า ก่อนที่จะรักต้องใช้ความกล้า กล้ารัก กล้าลองที่จะยอมเสี่ยง ถึงผลที่ได้รับจะไม่คุ้ม อย่างน้อยเราก็รู้แล้ว และคงไม่รักซ้ำรอยเดิมเสมอไปครับ
การผลิตซอฟต์แวร์ก็ต้องเจาะเข้าไปกลุ่มผู้ใช้ ปัจจุบันผมว่า ผู้ผลิตซอฟต์แวร์จะมากกว่าผู้เลือกใช้แล้ว แสดงว่าความรัก เริ่มมีตัวเลือกมากขึ้น ฮ่าๆๆ
เชิญครับคุณ preav
555 เอางั้นเลยเหรอคุณ DominixZ อือม ทำแบบ Big Brother เลยน่าจะยิ่งดีนะ เอากล้องติดแล้วถ่ายทอดชีวิตประจำวันของแต่ล่ะคนให้หลงกันไปเลย 😛
เฮ้อ อยากมีแฟนให้คิดถึงเหมือนคุณ Ford จัง อิ อิ 😛
เชื่อเหอะคุณ RedHooligan ผมไม่ได้สนใจแต่ซอฟต์แวร์อย่างเดียวแน่ ๆ อ้าว ๆ
เป็นทฤษฎีจิตวิทยาครับคุณ Tee มันถูกเผยแพร่อยู่ทั่วไปในอินเตอร์เน็ต แต่ถ้าหากเป็นการถ่ายทอดเป็นภาษาไทยนั้น น้อยนักที่จะหาพบในอินเตอร์เน็ตครับ
อือม ผมเองก็อยากรู้อัตราส่วนของผู้ผลิตซอฟต์แวร์และผู้ใช้ซอฟต์แวร์ในโลกนี้เหมือนกันครับคุณ Nirak ว่ามีอัตราส่วนเท่าไหร่ ผมว่ามันน่าจะเป็นประโยชน์นะ
แวป มาอ่านคับ มีเรื่องอื่นปนมาอ่านสนุก
กว่ามีแต่เรื่องคอมล้วนๆ ติดตามคับ
อ้อออออ จำได้แล้วครับ จำได้ว่าอ่านก่อนสอบ Social Psychology 😛 แล้วผมว่ามันเป็นความรู้แบบว่า มึงไม่บอกกูก็รู้(วะ) แกแค่ตั้งชื่อ fancy ขึ้นมาให้มันแค่นั้น (ไม่ได้ว่าคุณ Peetai นะครับ แค่เป็นการ Characterize ความรู้ทั้งหลายอ่ะครับ)
ตัวอย่างรักแบบที่ 5 ครับ http://www.apple.com 😛
ผมว่า PeeTai ต้องสร้างระบบนี้ขึ้นมาเองซะแล้ว เดี๋ยวผมจะรอใช้บริการนะครับ
อธิบายได้เข้าใจง่ายดีมากๆ แต่ทำจริงๆ มันต้องลงทุนกันมหาศาลเหมือนกันนะเนี่ย
บางที . . . หัวใจก็ยอมเจ็บ
เพียงแลกกับ ความสุขเล็กๆ . . . มาเก็บไว้
บางที . . . เหนื่อยจนลุกขึ้นไม่ไหว
แต่ก็ยังพอใจ . . . กับสิ่งที่เป็น
บางที . . . แม้จะลำบากยากเข็ญ
แต่ก็ยอมเป็น . . . เบี้ยล่างหัวใจเธอ
อาการแบบนี้ใครไม่เป็น . . . ไม่รู้สึกจริงไหม
คงจะดีกว่า ถ้าหากเราถูกเกลียดชังเพราะสิ่งที่เราเป็น แทนที่จะถูกรักเพราะด้วยสิ่งที่เราไม่ใช่