ระบบซอฟต์แวร์สำหรับการเลือกตั้ง

ประเทศที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย ก็ต้องถือสิทธิ์ถือเสียงของประชาชนเป็นสำคัญ แล้ววิธีที่ประชาชนจะสามารถแสดงพลังของตนเองตามระบอบประชาธิปไตยได้ก็มีหลายวิธีด้วยกัน ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือการไป “เลือกตั้ง”

การเลือกตั้งเป็นกิจกรรมทางการเมืองที่ต้องใช้งบประมาณสูงมาก ทั้งโดยรัฐเองและโดยพรรคการเมือง ผมไม่ชอบเลยนะกับการที่ต้องเสียเงินตั้งมากมายไปเพื่อการนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งงบประมาณที่จะใช้ในการพิมพ์บัตรเลือกตั้ง และงบประมาณในการจัดจ้างคนมานับบัตรเลือกตั้ง

ทุกครั้งเห็นแบบนี้ทีไร ผมมักตั้งคำถามกับตัวเองทุกทีว่า … ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ทำแทนไม่ได้เหรอ เร็วกว่าด้วย แม่นยำอีกต่างหาก!!!

มันเป็นจินตนาการที่สามารถจะเกิดขึ้นได้นะผมว่า แต่ … แต่อุปสรรคมันเยอะมากเลยล่ะ เพราะมันคงจะเกิดคำถามทางเทคนิคขึ้นมากมายว่า หากใช้ระบบคอมพิวเตอร์อำนวยความสะดวกในการลงคะแนน และอำนวยความสะดวกในการรวบรวมประมวลผลคะแนนแล้ว มันจะเชื่อถือได้มั้ย? จะมีการโกงกันหรือเปล่า? จะลักไก่กันหรือเปล่า? จะสืบค้นย้อนกลับได้หรือเปล่า? บรา ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ถามกันให้เซ็งแซ่

แต่ผมว่าอย่าเพิ่งไปคิดถึงเรื่องทางเทคนิคเหล่านั้นเลยนะ เพราะการที่ประเทศไทยเราจะสามารถก้าวหน้า ถึงขนาดหาญกล้าใช้ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อการเลือกตั้งแบบครบวงจรได้นั้น ต้องผ่านกำแพงเหล็กกล้าหนาราว 100 เมตรถึงสามชั้นให้ได้ก่อนครับ

กำแพงชั้นแรก กำแพงทางนิติศาสตร์

การเลือกตั้งจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้เลยครับ ถ้าไม่มีกฎหมายมากำหนดให้มันเกิดขึ้นมา แล้วถ้าในกฎหมายมันไม่ได้กำหนดว่าต้องใช้ระบบคอมพิวเตอร์ในการลงคะแนน และใช้ระบบคอมพิวเตอร์ในการรวบรวมผลคะแนนแล้วล่ะก็ ต่อให้ประเทศไทยเราเป็นเจ้าโลกทางด้านคอมพิวเตอร์และอิเลกทรอนิกส์ ก็ไม่มีทางซะหรอก ที่เราจะได้ใช้ระบบคอมพิวเตอร์สำหรับเรื่องพวกนี้ ก็จงกากบาทใส่บัตรลงคะแนน แล้วก็เทบัตรลงคะแนนออกมานั่งนับกันต่อไปก็แล้วกัน 😛

กำแพงชั้นสอง กำแพงอภิมหาโปรเจค

เชื่อกันมั้ยครับว่าถ้าเกิดว่าประเทศไทยเราสามารถออกกฎหมายการเลือกตั้ง ที่กำหนดให้มีการใช้ระบบคอมพิวเตอร์เพื่ออำนวยความสะดวกในการลงคะแนนสำหรับประชาชน พร้อมกับใช้ระบบคอมพิวเตอร์ในการรวบรวมผลคะแนนแบบออนไลน์ได้แล้วล่ะก็ เราก็จะพบกับอภิมหาโปรเจคอันยิ่งใหญ่อย่างที่ประเทศชาติไทยไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนเลยครับ

นั่นก็คืออภิมหาโปรเจคในการสร้าง “ระบบซอฟต์แวร์สำหรับการเลือกตั้ง” นั่นเอง … ผมว่ามันต้องเป็นอภิมหาโปรเจคอันยิ่งใหญ่มาก ๆ เลยล่ะ และก็คงต้องสร้างยากมากแน่ ๆ เลย เพราะมันมีปัญหาทางเทคนิคในเรื่องของความน่าเชื่อถือตั้งมากมายที่รอให้แก้ไขอยู่

ซึ่งถ้ามันเป็นโปรเจคที่ใหญ่โตขนาดนี้ อีกทั้งประเทศไทยเราก็ไม่ได้เลือกตั้งกันปีล่ะสิบครั้ง งั้นเอางบประมาณไปทำโครงการอวกาศน่าจะดีกว่ามั๊งเนี่ย?

กำแพงชั้นสุดท้าย กำแพงใจ

ถ้าระบบซอฟต์แวร์สำหรับการเลือกตั้ง มันมีโอกาสสูงปรี๊ดที่จะถูกสร้างขึ้นมาได้อย่างหมดจดงดงาม ตอบโจทย์และแก้ปัญหาทางเทคนิคในทุก ๆ เรื่องได้ สามารถทำให้การเลือกตั้งบริสุทธิ์ ยุติธรรม โปร่งใส รวดเร็ว แม่นยำ ฉับไว มีคุณธรรม ล้ำเลิศวิชา บรา ๆ ๆ ๆ ได้แล้วไซร้ … คิดหรือว่าจะมีคนยอมให้มันเกิดขึ้นมา หุ ๆ ๆ ๆ ทำไมน่ะเหรอ? ก็เพราะถ้ามันเกิดขึ้นมาได้ มันก็โกงการเลือกตั้งกันไม่ได้อ่ะดิ

ดังนั้นกำแพงที่ขวางกั้นอันนี้จึงเป็นกำแพงที่สำคัญที่สุด และไม่มีทางจะฝ่าไปได้ไม่ว่าจะชาตินี้หรือชาติไหนครับ ฮา 😛

เราเขียนโปรแกรมให้ดัก syntax error ได้, เขียนโปรแกรมให้ดัก runtime error ได้, เขียนโปรแกรมให้ดัก human error ได้ แต่เราเขียนโปรแกรมให้ดักจิตใจที่ error ของมนุษย์ไม่ได้ครับ

[tags]ซอฟต์แวร์, คอมพิวเตอร์, เลือกตั้ง, การเลือกตั้ง, สมมติฐาน[/tags]

Related Posts

12 thoughts on “ระบบซอฟต์แวร์สำหรับการเลือกตั้ง

  1. ช่วงนี้ผมคิดเรื่องซอฟท์แวร์เลือกตั้งอยู่เหมือนกันครับ แต่ยังคิดไม่ออกว่าจะทำยังไงให้ประชาชนยอมรับและรู้สึกว่ามันเป็นระบบที่ไม่สามารถโกงได้อย่างแน่นอน ใครจะไปรู้ว่าโปรแกรมเมอร์อาจจะฝัง back door ไว้สำหรับปั่นคะแนนโหวตให้บางพรรคก็ได้

  2. ไม่จำเป็นต้องทำให้ประชาชนยอมรับ แค่ต้องให้พวก ครป นปก สส สว นกม พกม กขค เอ่อ อะไรอีกเยอะแยะยอมรับ paranoia ทั้งนั้น ต้องใช้ third-party ผู้ยิ่งใหญ่ที่ทุกคนเชื่อสนิทใจ

  3. เช็คได้หมดเลยนะครับเนี้ยว่าใครลงคะแนนให้ใคร (เพื่อความโปร่งใสของคะแนน)

    หัวคะแนนจะได้นับคะแนนง่าย จ่ายเงินถูกคน ;p

  4. อืม ..ถ้ามีระบบอย่างนี้เกิดขึ้นจริงผมว่าโลกไอทีของเราคงวุ่นวายน่าดู
    -บราวเชอรตัวเดียวคงบล็อกป็อบอัพกันไม่หวาดไม่ไหว ลองนึกถึงป้ายหาเสียงตามฟุตบาทนะครับ
    -เราอาจจะได้ยินคำว่า แฮคเกอร์หัวคะแนน(เหมือนกำนัน/อบต อะไรประทาณนี้) ถูกนิยามขึ้นมา
    -ชาวบ้านจำเป็นต้องเรียนรู็คอมพิวเอตร์ให้ได้ เพื่อจะได้รับแจกเงินผ่าน live id ซักตัว(เอะ ! รึว่าจะเป็นผลดีก็ได้นะ *-*)
    -เลือกตั้งผ่านตู้เย็น!! (สมัยนี้ตู็เย็นก็มีเน็ตแล้วด้วย)

  5. นี่ถ้าตอนนั้นมีเงินดิจิตอลใช้กันแล้วนี่ แค่เดินสวนกันก็แจกเงินได้แล้วนะเนี่ย!!

  6. ที่อเมริกาก็มีการทดลองใช้ electronic-voting มาซักพักแล้วนะครับ แต่ก็ไม่ค่อยประสบผลสำเร็จเท่าไหร่ ยังมีการโต้เถียงเรื่องปัญหาต่างๆกันอยู่เยอะ เป็นเรื่องความไม่น่าเชื่อถืออย่างที่พี่ไท้ว่าด้วย

    http://en.wikipedia.org/wiki/Electronic_voting

  7. ซอฟต์แวร์ระบบเลือกตั้ง น่าจะนำไปทำเป็นหัวข้อปริญญานิพนธ์, ภาคนิพนธ์, สารนิพนธ์ หรือวิทยานิพนธ์ได้ครับคุณอภิสิทธิ์ เพราะมันยากซะเหลือเกิน

    ตอนนี้ในสายตาผม ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกน่าจะเป็น “กองทุนเงินตราระหว่างประเทศ” นะคุณ sugree นี่ถ้าให้ “กองทุนเงินตราระหว่างประเทศ” เป็น third party ผู้ยิ่งใหญ่นี่น่าจะได้เลยนะ 😛 เพราะใคร ๆ ก็ยอมเชื่อฟังและศิโรราปต่ออำนาจของเงินอ่ะ

    แหง ๆ ครับคุณข่า ใคร ๆ ก็อยากลองของทั้งนั้นแหล่ะ

    ผมเอ๋อเลยกับมุขคุณ GRU ที่ว่าเลือกตั้งผ่านตู้เย็น 🙂 คิดไปได้

    ความน่าเชื่อถือเป็นเรื่องใหญ่มากกกกกกกกกกกครับคุณ panuta ขนาดอเมริกายังใช้ไม่ได้เลย แล้วเราจะเหลือเหรอเนี่ย?

    อ๋า ยังไม่ได้ทันจะเริ่มทดลองใช้ก็แฮกส์กันได้แล้วเหรอคุณ Tee โหย T-T อนาถจิตอ่ะ

  8. เรื่องบางเรื่อง ไม่เป็นdigitalอาจจะดีกว่านะครับ
    ผมคิดว่าระบบที่คนสามารถสร้างได้ ก็ต้องมีคนที่สามารถแก้ได้อยู่เสมอ

  9. แล้วถ้าใช้บัตรประชาชนรูดเอาหล่ะ แล้วให้ใช้นิ้วมือยืนยันก่อนลงคะแนนอะ บัตรแบบใหม่เขามีข้อมูลลายนิ้วมือไม่ใช่หรอคับ? ผมลองคิดดูอะนะ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *